การล่มสลายของนิตยสารไทยในยุคดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • ทิพย์อนงค์ จินตวิจิต มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

คำสำคัญ:

นิตยสาร, การล่มสลาย, พฤติกรรมผู้บริโภค

บทคัดย่อ

                   บทความนี้เขียนขึ้นด้วยความสนใจและการตั้งคำถามต่อทิศทางของนิตยสารในประเทศไทย หลังจากมีนิตยสารปิดตัวลงเป็นจำนวนมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2559-2561) ซึ่งเป็นเรื่องที่มีผลกระทบต่อวงการสื่อสิ่งพิมพ์ในประเทศไทย อันประกอบไปด้วย หนังสือพิมพ์ นิตยสาร และหนังสือเล่ม  โดยสิ่งพิมพ์ที่ได้รับผลกระทบอย่างเห็นได้ชัดที่สุด คือ นิตยสาร ในปี พ.ศ.2559 มีนิตยสารที่มีอายุ กว่า 50 ปี คือ นิตยสารบางกอกรายสัปดาห์  ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2499 และ นิตยสารสกุลไทย ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2497 ต่อมาในปี พ.ศ.2560 นิตยสารครัว อายุ 24 ปี นิตยสารคู่สร้างคู่สม อายุ 38 ปี และนิตยสารขวัญเรือน อายุ 49 ปี ต้องปิดตัวลง และในปีนี้ พ.ศ.2561 นิตยสารสตาร์พิคส์ ซึ่งเป็นนิตยสารเกี่ยวกับภาพยนตร์และมีอายุถึง 52 ปี ก็ต้องปิดตัวลงเช่นกัน

                  เราปฏิเสธไม่ได้ว่าการปิดตัวของนิตยสารนั้นมีผลมาจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่หันไปนิยมการรับข่าวสารและความบันเทิงจากทางสื่อใหม่ มากกว่าการบริโภคสื่อกระดาษอย่างนิตยสาร โดยผลกระทบทางยอดขายส่งผลให้นิตยสารต้องปิดตัวลงในที่สุด เนื่องจากไม่สามารถแบกรับต้นทุนในการผลิตและรายได้ที่ลดลงจากโฆษณาได้ นิตยสารบางส่วนมีการปรับตัวไปสู่ออนไลน์ แต่นิตยสารบางฉบับยังคงผลิตในรูปแบบของสิ่งพิมพ์ โดยมีการปรับตัวด้วยวิธีการ เช่น การทำให้คนรู้สึกอยากซื้อไปเก็บสะสม การทำนิตยสารในรูปแบบแจกฟรี การทำนิตยสารในรูปแบบเฉพาะกิจ เนื่องจากยังมีผู้อ่านที่เป็นแฟนคลับอย่างเหนียวแน่นให้การสนับสนุน และเป็นนิตยสารเฉพาะทางที่นำเสนอเรื่องราวที่ไม่สามารถหาอ่านได้จากสื่อออนไลน์ รวมถึงพฤติกรรมการอ่านที่มีความคุ้นเคยกับสื่อกระดาษมากกว่า แต่ด้วยจำนวนผู้อ่านที่ลดลงจนนิตยสารทยอยปิดตัวเหมือนใบไม้ร่วง อาจเป็นสัญญาณของการปิดตัวของนิตยสาร จนมาถึงยุคล่มสลายอย่างแท้จริง

References

ธนพร ลิ้มรุ่งสุโข (2550), การวิเคราะห์แนวโน้มนิตยสารดิจิตอลในประเทศไทย, วิทยานิพนธ์ปริญญาวารสารศาสตรมหาบัณฑิต คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มาลี บุญศิริพันธ์ (2556), วารสารศาสตร์เบื้องต้น: ปรัชญาและแนวคิด, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

“ฤดูใบไม้ผลิของวงการนิตยสารผ่านไปแล้ว...” (2561), สารคดี, 34(397).

ศรัณย์ ทองปาน (2561), “วันและเวลาของนิตยสารไทย”, สารคดี, 34(397).

สมสุข หินวิมาน และคณะ (2558), ธุรกิจสื่อสารมวลชน, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ และคณะ (2550), สื่อสารมวลชนเบื้องต้น: สื่อมวลชน วัฒนธรรมและสังคม,กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550.

สื่อออนไลน์
เดอะสแตนดาร์ด (17 มิถุนายน 2561), “นิตยสาร Secret เครืออมรินทร์ ประกาศเลิกผลิต เดือนมิถุนายนนี้ วางแผงฉบับสุดท้าย”, สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2561, จาก https://thestandard.co/secret-magazine-announced-to-launch-last-issue-this-june/.

ไทยรัฐออนไลน์ (19 เมษายน 2561), “ปิดต?ำนาน 52 ปี แฟนหนังหลั่งน้ำตานิตยสาร Starpicsหมดลมลาแผง”, สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2561, จาก https://www.thairath.co.th/content/1259446.

adaymagazine (27 เมษายน 2560), “a day ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 เดือนกันยายน 2543”, สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2561, จาก https://adaymagazine.com/aday001/.

digitalmaketingwow.com (13 ธันวาคม 2560), “สิ้นยุคสื่อสิ่งพิมพ์ นิตยสารปิดตัว ระนาวสถานการณ์ย่ำแย่เพราะ DIGITAL DISRUPTION”, สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2561, จาก https://digitalmarketingwow.com/2017/12/13/digital-disruption-magazine/.

the matter (1 กันยายน 2560), “โตมรและนิ้วกลม กับ MAD ABOUT นิตยสารใหม่ในวันที่ใครๆ ก็ทยอยปิด ตัว”, สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2561, จาก https://thematter.co/pulse/madabout-interview/8677.

________. (6 มกราคม 2561), “คุยกับ บ.ก.นิตยสาร ในวันที่ต้องดิ้นรน เพื่อให้คงอยู่บนแผง”,สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2561, จาก https://thematter.co/pulse/magazine-in-crisis/43005.

the momentum (20 ตุลาคม 2560), “MAD ABOUT: ‘บ้า’ และ ‘ดี’”, สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2561, จาก https://themomentum.co/the-review-book-mad-about/.

tonkit360.com (18 พฤศจิกายน 2560), “รวมนิตยสาร “ปิดตัว” เมื่อ “โซเชียลมีเดีย” ครองใจคนอ่าน”, สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2561, จาก https://tonkit360.com/16074/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

17-05-2019