Tomorrow Never Dies: การเข้าใจความตายในสื่อภาพยนตร์ไทย

ผู้แต่ง

  • กำจร หลุยยะพงศ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

ความตาย, การสื่อสารความตาย, อุดมการณ์

บทคัดย่อ

                  ภายใต้สังคมทันสมัย ความตายมักจะถูกมองในด้านลบและเป็นสิ่งที่ ปกปิด ภาพยนตร์ก็พยายามทำหน้าที่นำเสนอความตายให้เห็น ในที่นี้จะพิจารณาถึงภาพยนตร์ไทยในกลุ่มหนังดราม่าและหนังนอกกระแสช่วงทศวรรษที่ 2540-2550 จำนวน 9 เรื่อง โดยใช้กรอบแนวคิดเรื่องความตาย และสำนักวัฒนธรรมศึกษา เพื่อจะแสดงให้เห็นว่า ภาพยนตร์จะสร้างภาพความตายอะไร อย่างไร และตกอยู่ภายใต้อุดมการณ์อะไร
                 ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ภาพยนตร์ไทยนำเสนอภาพของความตายที่หลากหลาย เช่น ความหลากหลายของการตายของเพศและวัย การฆาตกรรมและถูกฆาตกรรม การเปิดเผยความตายที่ถูกซ่อนเร้น ความเชื่อเรื่องผี พิธีกรรมของความตาย และเนื่องด้วยความตายเกี่ยวข้องกับศีลธรรมและอคติของความตายจึงต้องอาศัยเทคนิคของภาพยนตร์ในการประกอบสร้างภาพความตาย ทำให้การสื่อสารความตายในภาพยนตร์มีลักษณะย้อนแย้ง กล่าวคือ ด้านหนึ่งความตายดูน่ากลัวผิดปกติ แต่อีกด้านหนึ่งกลับมองว่า ความตายคือเรื่องธรรมดา
                 ของโลกและสวยงาม สุดท้ายภาพความตายที่นำเสนอบนแผ่นฟิล์มตกอยู่ภายใต้อุดมการณ์ต่างๆ ได้แก่ สภาพของสังคมไทยที่อยู่ในยุคสังคมความเสี่ยง สถาบันของสังคม เช่น ความเชื่อและศาสนา รัฐและทุนนิยม และตระกูลหนัง

References

กาญจนา แก้วเทพ (2544), ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนธรรมศึกษา, กรุงเทพฯ: เอดิสันเพรสโปรดักส์.

กำจร หลุยยะพงศ์ (2553), “ภาพยนตร์กับการตั้งคำถามต่อภาวะก่อนตาย”, เอกสารประกอบการบรรยายในงานสัมมนา Japanese Film Festival เมื่อ 24 พฤศจิกายน 2553 ณ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

________. (2556ก), ภาพยนตร์กับการประกอบสร้างสังคม, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

________. (2556ข), “โอคุริบิโตะ: คำตอบของชีวิตในสังคมญี่ปุ่นสมัยใหม่”, วารสารนิเทศศาสตร์ มสธ., 3(5) ตุลาคม: 53-66.

________. (2557), “การท้าทายความหมายของความรักและความตายผ่านภาพยนตร์มาเลเซียเรื่อง Talentime”, วารสารนิเทศศาสตร์ มสธ., 4(7) กรกฎาคม: 123-140.

________. 2559, หนังเล็กๆ กับเด็กน้อยๆ, กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

กำจร หลุยยะพงศ์ และสมสุข หินวิมาน (2552), หลอน รัก สับสนในหนังไทย, กรุงเทพฯ: ศยาม.

โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ (2550), “สถานการณ์และองค์ความรู้เกี่ยวกับความตายในสังคมไทย”, ใน โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ และคณะ (บ.ก.), วัฒนธรรมความตายกับวาระสุดท้ายของชีวิต, กรุงเทพฯ: หนังสือดีวัน.

ชนัญญา ประสาทไทย (2559), “ซอมบี้ไทย สังคมไทย และการเมืองไทย”, วารสารสังคมศาสตร์, 28(2) กรกฎาคม-ธันวาคม: 105-131.

นภนาท อนุพงศ์พัฒน์ (2550), “ประวัติศาสตร์ความตายและความเปลี่ยนแปลงของโลกทัศน์ต่อชีวิตในสังคมไทย”, ใน โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ และคณะ (บ.ก.), วัฒนธรรมความตายกับวาระสุดท้ายของชีวิต, กรุงเทพฯ: หนังสือดีวัน.

นันทวัลย์ สุนทรภาระสถิตย์ (2559), การนำเสนอภาพแทนความตายในเรื่องสั้นไทยร่วมสมัยระหว่าง พ.ศ. 2547-2556, วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มนต์ศักดิ์ ชัยวีระเดช (2558), “การสื่อสารเรื่องความตายผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ Peaceful Death: ปรากฏการณ์การทำความเข้าใจเรื่องการเผชิญความตายอย่างสงบในโลกดิจิทัล”, วารสารศาสตร์, 8(2) พฤษภาคม-สิงหาคม: 6-22.

มธุรส ศิริสถิตย์กุล (2550), “ความตายในคริสต์ศาสนา”, ใน โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ และคณะ (บ.ก.), วัฒนธรรมความตายกับวาระสุดท้ายของชีวิต, กรุงเทพฯ: หนังสือดีวัน.

ยศ สันตสมบัติ (2542), ฟรอยด์และพัฒนาการของจิตวิเคราะห์, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ร่มหทัย โชติกโสภณ (2559), การบริหารจัดการกองบรรณาธิการสู่แนวทางการสื่อสารความตายอย่างสงบ: กรณีศึกษาจดหมายข่าวอาทิตย์อัศดง เครือข่ายพุทธิกา, รายงานการค้นคว้าอิสระปริญญาวารสารศาสตรมหาบัณฑิต คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ราตรี ปิ่นแก้ว และมธุรส ศิริสถิตย์กุล (2550), “ชีวิตและความตายทัศนะของพุทธศาสนา”, ใน โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ และคณะ (บ.ก.), วัฒนธรรมความตายกับวาระสุดท้ายของชีวิต, กรุงเทพฯ: หนังสือดีวัน.

วรัญญา เพ็ชรคง (2550), “ทัศนะเรื่องความตายในศาสนาอิสลาม”, ใน โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ และคณะ (บ.ก.), วัฒนธรรมความตายกับวาระสุดท้ายของชีวิต, กรุงเทพฯ: หนังสือดีวัน.

สมสุข หินวิมาน (2553), “การสื่อสารกับสังคมแห่งความเสี่ยง”, วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 5(1) มกราคม-มิถุนายน: 27-52.

สุจิตต์ วงษ์เทศ (2560), งานศพยุคแรกอุษาคเนย์, กรุงเทพฯ: นาตาแฮก.

เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์ (2554), มรณศึกษา, กรุงเทพฯ: โอเดียน.

ภาษาอังกฤษ
Aaron, M. (2015), Death and the Movie Image, Edinburgh: Edinburgh University Press.

Hagin, B. (2010), Death in Classical Hollywood Cinema, London: Palgrave Macmillan.

Green, R. (2014), Buddhism Goes to the Movies, New York: Routledge.

สื่อออนไลน์
“ต้อมแจง เหตุนายทุน ระงับฉายหนังปิตุภูมิ พรมแดนแห่งรัก.” https://www.sanook.com/movie/34556/ สืบค้นเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2561.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-01-2019