เรื่องชวนคิดเกี่ยวกับประเภทรายการและสัดส่วนการให้บริการสำหรับการจัดให้บริการล่ามภาษามือ คำบรรยายแทนเสียง และเสียงบรรยายภาพในกิจการโทรทัศน์ไทย

ผู้แต่ง

  • ศิริมิตร ประพันธ์ธุรกิจ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

บทคัดย่อ

                   นโยบายการให้จัดบริการเพื่อการเข้าถึงสื่อโทรทัศน์สำหรับคนพิการ ในประเทศไทย เริ่มต้นอย่างเป็นรูปธรรมภายหลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 ซึ่งในเวลาต่อมา คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ได้ออกประกาศฯ ฉบับต่างๆ เพื่อดำเนินงานให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าว ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของ คนพิการ ให้เข้าถึงหรือรับรู้และใช้ประโยชน์จากรายการของกิจการกระจายเสียงและ กิจการโทรทัศน์ได้อย่างเสมอภาคกับบุคคลทั่วไป โดยภารกิจอย่างหนึ่งก็คือ การผลักดันให้ผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์จัดให้บริการล่ามภาษามือ คำบรรยายแทนเสียง และเสียงบรรยายภาพในประเภทรายการที่เป็นข่าวสารหรือสาระที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะตามสัดส่วนขั้นต่ำที่กำหนดเอาไว้ อย่างไรก็ดี การกำหนดประเภทรายการและสัดส่วนเวลาการออกอากาศสำหรับการจัดให้บริการเพื่อการเข้าถึงรายการโทรทัศน์ของคนพิการนั้น อาจไม่ค่อยสอดคล้องและเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ที่ผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ส่วนใหญ่กำลังประสบภาวะขาดทุนและมีการลดจำนวนบุคลากรลง นอกจากนี้แล้ว ประเภทรายการที่เน้นเฉพาะกลุ่มรายการข่าวสารหรือสาระที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้ชมที่เป็นคนพิการได้เท่าที่ควร เนื่องจากคนพิการมีความต้องการรับชมรายการโทรทัศน์ที่มีความหลากหลายเช่นเดียว กับคนทั่วไป และความจำเป็นต่อการจัดให้บริการสำหรับการผลิตล่ามภาษามือ คำบรรยายแทนเสียง และเสียงบรรยายภาพในแต่ละรูปแบบรายการมีมากน้อยแตกต่างกันไป เช่น รายการสนทนาที่ฟังได้เข้าใจอยู่แล้ว อาจไม่มีความจำเป็นต่อการนำไปผลิตเสียงบรรยายภาพให้กับคนพิการทางการเห็น ในขณะที่ รายการภาพยนตร์สารคดีและละคร ที่ไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มรายการข่าวสารหรือสาระที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ กลับมีความจำเป็นต่อคนพิการทางการเห็นมากกว่า เป็นต้น
                   ข้อเสนอแนะเพื่อให้การจัดให้บริการสื่อเพื่อคนพิการทางโทรทัศน์ดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่นมากขึ้น ได้แก่ การนำร่องในกลุ่มผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์เพื่อบริการสาธารณะ การจูงใจกลุ่มผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์เพื่อธุรกิจโดยสนับสนุนเงินจากกองทุน การเปิดกว้างให้แก่รายการประเภท “ท” เข้ามาอยู่ใน “หมวดมาตรการพื้นฐาน” ของประกาศฯ เรื่องการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการให้เข้าถึงหรือรับรู้และใช้ประโยชน์จากรายการของกิจการโทรทัศน์ ที่สามารถขยายความหลากหลายของรายการตามความต้องการในการรับชมของกลุ่มคนพิการได้มากขึ้น และการยืดหยุ่นของสัดส่วนและประเภทรายการที่นำมาจัดให้บริการให้เป็นไปตามศักยภาพของแต่ละช่อง และแต่ละผังรายการที่มีอยู่ในช่องนั้นๆ ให้มากขึ้น เป็นต้น

References

กุลนารี เสือโรจน์ (2558), รายงานการวิจัยเรื่อง การวิจัยถอดบทเรียนหลักการเขียนบทสื่อเสียงบรรยาย ภาพรายการอาหารทางโทรทัศน์เพื่อผู้พิการทางการเห็น, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ทวี เชื้อสุวรรณทวี (2551), มองความพิการผ่านแนวคิดและทฤษฎี, กรุงเทพฯ: ธนาเพลส.

ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่องการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการให้เข้าถึงหรือรับรู้และใช้ประโยชน์จากรายการของกิจการโทรทัศน์, (2559, 5 กุมภาพันธ์), ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 133 ตอนพิเศษ 35 ง.

ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่องการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการให้เข้าถึงหรือรับรู้และใช้ประโยชน์จากรายการของกิจการโทรทัศน์ (ฉบับที่ 2) (2560, มีนาคม).

ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง แนวทางการจัดทำล่ามภาษามือ คำบรรยายแทนเสียง และเสียงบรรยายภาพสำหรับการ ให้บริการโทรทัศน์ตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่องการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการให้เข้าถึง หรือรับรู้และใช้ประโยชน์จากรายการของกิจการโทรทัศน์ (2560, 27 ธันวาคม), ราชกิจจา นุเบกษา, เล่ม 134 ตอนพิเศษ 322 ง.

ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่องแนวทางการพิจารณาและคำนวณสัดส่วนรายการข่าวสารหรือสาระที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะเพื่อการขอยกเว้นหรือลดหย่อนค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ ตามระเบียบคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ว่าด้วยการลดหย่อนหรือยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2556 (2557, 19 มิถุนายน), ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 131 ตอนพิเศษ 113 ง.

ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่องหลักเกณฑ์การจัดทำผังรายการสำหรับการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ (ฉบับที่ 4) (2559, 31 สิงหาคม), ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 133 ตอนพิเศษ 193 ง.

ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่องหลักเกณฑ์การจัดทำผังรายการสำหรับการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ พ.ศ. 2556 (2556, 27 กุมภาพันธ์), ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 130 ตอนพิเศษ 27 ง.

ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่องหลักเกณฑ์รายการโทรทัศน์สำคัญที่ให้เผยแพร่ได้เฉพาะในบริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไป พ.ศ. 2555 (2556, 4 มกราคม), ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 130 ตอนพิเศษ 1 ง.

ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ พ.ศ. 2555 (2555, 16 ตุลาคม), ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 129 ตอนพิเศษ 157 ง.

ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่ เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ พ.ศ. 2556 (2556, 14 สิงหาคม), ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 130 ตอนพิเศษ 100 ง.

พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 (2551, 4 มีนาคม), ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 125 ตอนที่ 42 ก.

พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 (2550, 27 กันยายน), ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 124 ตอนที่ 61 ก.

พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 (2553, 19 ธันวาคม), ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 127 ตอนที่ 78 ก.

พวงแก้ว กิจธรรม (2555), ความรู้ทั่วไป: คนพิการกับสื่อโทรทัศน์, กรุงเทพฯ: มูลนิธิพัฒนา คนพิการไทย.

ภัทธีรา สารากรบริรักษ์ (2558), รายงานการวิจัยเรื่องเสียงบรรยายภาพที่ผู้พิการทางการเห็นต้องการ, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิริมิตร ประพันธ์ธุรกิจ (2559), รายงานการวิจัยเรื่อง การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมของคนพิการทางการเห็นในฐานะผู้ผลิตเสียงบรรยายภาพ, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิวนารถ หงษ์ประยูร (2558), “การพัฒนารายการข่าวทางสื่ออินเทอร์เน็ตทีวี (IPTV) สำหรับ คนหูหนวก”, วารสารสุทธิปริทัศน์, 29 (90): 291-312.

อารดา ครุจิต (2558), รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาหลักการผลิตสื่อเสียงบรรยายภาพในโทรทัศน์ สำหรับผู้พิการทางการเห็น, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

________. (2560), โทรทัศน์เพื่อการเข้าถึงของคนพิการ, ปทุมธานี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อารดา ครุจิต และคณะ (2558), หลักการผลิตเสียงบรรยายภาพ, ปทุมธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

สื่อออนไลน์
ผู้จัดการออนไลน์ (2560), เผยตัวเลขรายได้ฟรีทีวี+ดิจิตอล ขาดทุนยับเกือบทุกช่อง, สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2560 จาก http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID

มติชนออนไลน์ (2561), วธ. ปลื้มบุพเพฯ ปลุกประวัติศาสตร์ กรมศิลป์ผุดตามรอยละคร 17-18 มี.ค., สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2561 จาก https://www.matichon.co.th/news/871675

สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (2561), คสช. เตรียมใช้ ม. 44 ช่วยเหลือผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล, สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2561 จาก https://news.thaipbs.or.th/content/270179

สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา (2561), “ผังรายการ”, สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2561 จาก http://www.radioparliament.net/parliament/listSchedule.php?catId=8

MGR Online (2561), ช่อง 3 กำไรปี 60 ทรุด 95% ยอดขายโฆษณาลด-ค่าใช้จ่ายพุ่ง, สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2561 จาก https://mgronline.com/stockmarket/detail/9610000018952

MONO 29 (2561), ผังรายการ, สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2561 จาก https://mono29.com/schedule

POSITIONING (2561), บทเรียนบนเส้นทางวิบาก ทีวีดิจิทัล เปิดใจ พ.อ. นที ศุกลรัตน์ คนทำคลอด 24 ช่อง, สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2561 จาก https://positioningmag.com/1152941

VOICE TV (2561), สัมภาษณ์พิเศษ “เมื่อเทคโนโลยีใหม่ กวาด สื่อเก่า จะรอด หรือตายเรียบ”, สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2561 จาก https://www.voicetv.co.th/read/HkU503tVG

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-01-2019