สื่อพิธีกรรมล้านนา: การสื่อสารของผู้หญิง บทบาท อำนาจ และการช่วงชิงพื้นที่

ผู้แต่ง

  • ทิพย์พธู กฤษสุนทร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คำสำคัญ:

สื่อพิธีกรรมล้านนา, การสื่อสารของผู้หญิง, บทบาท, ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ, การช่วงชิงพื้นที่

บทคัดย่อ

                  เนื่องด้วยสังคมล้านนามีการสืบเชื้อสายทางฝ่ายแม่ ทำให้ผู้หญิงมีบทบาทในระบบการผลิตของครัวเรือน รวมทั้งเป็นผู้กำหนดรูปแบบความเชื่อและพิธีกรรมต่างๆ ในครอบครัว สำหรับสื่อพิธีกรรมล้านนาอย่างพิธีกรรมไหว้ผีบรรพบุรุษและพิธีกรรมทรงผีเจ้านาย เป็นพื้นที่การสื่อสารที่เปิดโอกาสให้ผู้หญิงเข้าไปครอบครอง แต่ในปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าวไม่ได้มีแต่เพียงผู้หญิงเท่านั้น ผู้ชายและเพศที่สามก็เข้ามาในพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์นี้เช่นกัน เพราะฉะนั้นแล้ว หากผู้หญิงต้องการเข้าไปอยู่ในสนามประลองเพื่อแข่งขัน ต่อรอง ผลิตซ้ำเพื่อช่วงชิง และสร้างพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ผ่านสื่อพิธีกรรมล้านนาดังเดิมแล้วนั้น ผู้หญิงจำเป็นต้องใช้บทบาท หน้าที่ สถานภาพที่สังคมกำหนดมาให้ และใช้การสื่อสารเพื่อเสริมสร้างอำนาจผนวกกับการใช้ทุนที่ผู้หญิงได้สั่งสมมา รวมทั้งต้องเข้าใจความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างผู้หญิงกับผู้ชาย และโครงสร้างทางสังคมก็จะทำให้ผู้หญิงสามารถยังคงยืนหยัดรักษาพื้นที่สื่อพิธีกรรมที่ตนเองเคยครอบครองมาก่อน 

References

กาญจนา แก้วเทพ (2548), สื่อพื้นบ้านเพื่อการพัฒนา: ภาพรวมจากงานวิจัย, กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

________. (2549ก), ยึดหลักปักแน่นกับงานสื่อพื้นบ้านสื่อสารสุขภาวะ, กรุงเทพฯ: โครงการ สื่อพื้นบ้านสื่อสารสุข (สพส.).

________. (2549ข), ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนธรรมศึกษา, กรุงเทพฯ: เอดิสันเพรสโปรดักส์.

________. (2560), เครื่องมือทำงานวัฒนธรรมชุมชนและสื่อพิธีกรรมศึกษา, กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

กาญจนา แก้วเทพ และคณะ (2553), การบริหารจัดการวัฒนธรรมพื้นบ้านแบบมีส่วนร่วมด้วยนวัตกรรมการวิจัย, กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

________. (2554ก), ผู้คนที่หลากหลายในการสื่อสาร: เด็ก สตรี และผู้สูงวัย, กรุงเทพฯ: โครงการเมธีวิจัยอาวุโส คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

________. (2554ข). สื่อพื้นบ้านศึกษาในสายตานิเทศศาสตร์, กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

กาญจนา แก้วเทพ และสมสุข หินวิมาน (2551), สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับ สื่อสารศึกษา, กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

ฉลาดชาย รมิตานนท์ (2545), ผีเจ้านาย, กรุงเทพฯ: เคล็ดไทย.

เธียรชัย อักษรดิษฐ์ (2552), พิธีกรรมฟ้อนผี: ภาพสะท้อนปรากฏการณ์ต่อรองอำนาจทางสังคม, เชียงใหม่: ธารปัญญา.

นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ (2560), “แนวคิดมานุษยวิทยากับการศึกษาความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสังคมไทย”, วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 25 (47) มกราคม-เมษายน.

นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ และปีเตอร์ เอ. แจ๊คสัน (2556), เพศหลากเฉดสี: พหุวัฒนธรรมทางเพศ ในสังคมไทย, กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

นิธิ เอียวศรีวงศ์ (2546), ลัทธิพิธีเสด็จพ่อ ร.5, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.

นิภาวรรณ วิรัชนิภาวรรณ (2532), ร่างทรง: บทบาทที่มีต่อสังคมปัจจุบัน กรณีศึกษาที่อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัย ศิลปากร.

ปฐม หงษ์สุวรรณ (2550), กาลครั้งหนึ่งว่าด้วยตำนานกับวัฒนธรรม, กรุงเทพฯ: แอคทีฟ พริ้นท์.

ปพิชญา วรสารพิสุทธิ์ (2550), การสื่อสารเพื่อสร้างความสามัคคีของชุมชนผ่านการทำงานบนเครือข่าย การสื่อสารและสื่อพิธีกรรมจุลกฐิน, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะนิเทศ- ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรานี วงษ์เทศ (2559), เพศและวัฒนธรรม, กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.

ปรารถนา จันทรุพันธ์ (2542), ความเชื่อเกี่ยวกับเจ้าแม่ในชุมชนประมง: กรณีศึกษาเจ้าแม่เกาะจิก จังหวัดจันทบุรี, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล (2546), เจ้าแม่ คุณปู่ ช่างซอ ช่างฟ้อน และเรื่องอื่นๆ ว่าด้วยพิธีกรรม และนาฏกรรม, กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

มาณพ มานะแซม (2554), ภูษา อาภรณ์ ฟ้อนผี, เชียงใหม่: สำนักพิมพ์ซิลค์เวอร์ม.

มาลา คำจันทร์ (2551), ผีในล้านนา, กรุงเทพฯ: บุ๊คเวิร์ม.

ยศ สันตสมบัติ (2559), ชายแดนกับความหลากหลายของระบบความเชื่อ: การช่วงชิงพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์และการครอบงำเชิงสัญลักษณ์, เชียงใหม่: ศูนย์ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิถี พานิชพันธ์ (2548), วิถีล้านนา, เชียงใหม่: สำนักพิมพ์ซิลค์เวอร์ม.

ศุภลักษณ์ ปัญโญ (2553), การศึกษาบทบาทของผีในนิทานพื้นบ้านล้านนา, เชียงใหม่: สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สนั่น ธรรมธิ (2554), ผีในความเชื่อล้านนา, เชียงใหม่: สำนักพิมพ์ร่มพะยอม.

สุนันท์ ไชยสมภาร (2545), บทบาทของผู้หญิงในการสืบทอดความเชื่อและพิธีกรรมในชุมชนภาคเหนือ, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุริยา สมุทคุปติ์ และคณะ (2544), ทรงเจ้าเข้าผี, กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

อานันท์ กาญจนพันธุ์ (2555), เจ้าที่และผีปู่ย่า พลวัตของความรู้ชาวบ้านอำนาจและตัวตนของคนท้องถิ่น, เชียงใหม่: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Bourdieu, P. (1984), Distinction: A Social Critique of the Judgement of Taste, Massachsetts: Harvard University Press.

de Beauvoir, S. (1972), The Second Sex, Harmondsworth: Penguin.

Douglas, M. (1966), Purity and Danger, London: Routledge and Keegan Paul.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-01-2019