พิศกะเทยหลากสี ผ่านทีวีดิจิทัล: การสื่อสารความเป็นกะเทยในรายการโทรทัศน์ ยุคดิจิทัลไทย

การสื่อสารความเป็นกะเทยในรายการโทรทัศน์ยุคดิจิทัลไทย

ผู้แต่ง

  • เอกชัย แสงโสดา มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • อรวรรณ ศิริสวัสดิ์ อภิชยกุล มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • วัชรพล พุทธรักษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

การสื่อสารความเป็นกะเทย, Pierre Bourdieu, โทรทัศน์ยุคดิจิทัล, ฮาบิทัส, ทุน, วงการ

บทคัดย่อ

                    บทความนี้นำเสนอแง่มุมการศึกษาการสื่อสารความเป็นกะเทยในรายการโทรทัศน์หลากหลายประเภท ทั้งจากรายการที่มีเนื้อหาจริงจังและรายการที่มีเนื้อหาบันเทิง  เนื้อหาของบทความนำเสนอการวิเคราะห์ตัวบทผ่านรายการที่กะเทยมีบทบาทนำเสนอเนื้อหาหลัก  และอภิปรายด้วยแนวคิดเรื่องฮาบิทัส ทุน และวงการของ  Pierre Bourdieu  ซึ่งผลการศึกษาพบว่า กะเทยสื่อสาร ‘ความเป็นกะเทย’ ด้วยสองความหมายหลัก ได้แก่ เห็นพ้องยินยอมด้วยการผลิตซ้ำ  และขัดแย้งต่อรองด้วยการสร้างความหมายใหม่  และจากการแบ่งประเภทรายการโทรทัศน์ออกเป็นสองส่วนคือ  ส่วนจริงจังและส่วนบันเทิง ผลการศึกษายังพบอีกว่า ประเภทของรายการมีนัยยะสำคัญต่อการสร้างความหมายของกะเทย กล่าวคือ  ความหมายของกะเทยที่โน้มเอียงไปทางเห็นพ้องยินยอมมักปรากฏในรายการประเภทบันเทิง  ขณะที่ความหมายของกะเทยที่โน้มเอียงไปทางขัดแย้งต่อรองมักปรากฏในรายการประเภทจริงจัง  เมื่อนำข้อค้นพบมาอภิปรายด้วยแนวคิดฮาบิทัส  ทุน  และวงการ  พบว่า  วงการโทรทัศน์คือพื้นที่แห่งการต่อสู้ช่วงชิงความหมายเป็นพื้นที่เชิงโครงสร้างที่มี ‘ทุน’ เป็นทั้งเหตุและผลแห่งการช่วงชิง นั่นคือ ‘ทุน’ เป็นปัจจัยให้กะเทยได้แลกเปลี่ยนและปรับแปลงทุน ด้วยกลยุทธ์หลากหลาย  เช่น  แปลงทุนที่รวมอยู่ในฮาบิทัส (embody capital) ให้เป็นทุนทางสังคม และทุนเศรษฐกิจ  กะเทยที่สามารถครอบครอง  สั่งสมทุน  และ ยึดครองพื้นที่ในการกระจายทุนได้มากกว่าจะมีโอกาสกำหนดฮาบิทัสระดับปัจเจกให้กลายเป็นฮาบิทัสระดับชนชั้นและสังคมได้มากกว่านั่นเอง

References

กาญจนา แก้วเทพ (2552), การวิเคราะห์สื่อ แนวคิดและเทคนิค, กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

________. (2553), แนวพินิจใหม่ในการสื่อสารศึกษา, กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

กาญจนา แก้วเทพ และสมสุข หินวิมาน (2551), สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับการสื่อสาร, กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

กิ่งรัก อิงควัต (2542), รูปแบบการดำเนินชีวิต พฤติกรรมการบริโภค และพฤติกรรมการเปิดรับสื่อของกลุ่มชายรักชาย (เกย์) ในเขตกรุงเทพมหานคร, วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กิตติกร สินคติประภา (2550), การลวนลามทางเพศกะเทย: นัยสำคัญภายใต้วาทกรรมรักต่างเพศ,ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาพัฒนศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ไชยศิริ บุญยกุลศรีรุ่ง (2553), เพศสภาพและเพศวถิในภาพยนตร์ชายรักชาย, วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฐานิดา บุญวรรโณ (2557), “ปิแอร์ บูร์ดิเยอ กับความรุนแรงเชิงสัญลักษณ์ รำลึก 12 ปี แห่งการจากไป ของปิแอร์ บูร์ดิเยอ (1930-2002)”, วิภาษา: 59-70.

ทศวร มณีศรีขำ (2545), การสร้างความเป็นอื่นให้กับเกย์, ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาพัฒนศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พัฒนพล วงษ์ม่วง และมยุรี ศรีกุลวงศ์ (2559), “ตัวละครเกย์ในละครโทรทัศน์ไทยยุคใหม่”, วารสารการสื่อสารและการจัดการ นิด้า, 2(2): 96-109.

รัตนะ แซ่เตีย (2550), ความคิดเห็นของผู้ชมที่มีต่อตัวละครรักร่วมเพศในละครโทรทัศน์ไทย,วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วัชรวุฒิ ซื่อสัตย์ และวัชรพล พุทธรักษา (2558), “ระบบแม่ [กะเทย]: ศิลป์และศาสตร์การครอง
อำนาจนำในสังคมกะเทยไทย”, วารสารศิลปศาสตร์, 15(2): 101-118.

สุนีย์ ประสงค์บัณฑิต (2553), แนวคิดฮาบิทัสของปิแอร์ บูร์ดิเยอ กับทฤษฎีทางมานุษยวิทยา,
กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

สุภางค์ จันทวานิช (2544), ทฤษฎีสังคมวิทยา, กรงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bourdieu, P. (1993), Sociology in Question, London: Sage.

Grenfell, M. (2010), Pierre Boudieu: Key Concept, UK: MPG Book Group.

Sirisawat Apichayakul, O. (2013). Uncovering Camwomen: An Ethnographic Study of Young Thai Women Who Portray Themselves Sexually Explicity in Online Webcam Chatrooms. Epinal Way, Loughborough : Luoghborough University.

Swartz, D. (1997), Culture and Power: The Sociology of Pierre Bourdieu, Chicago: The University of Chicago Press.

สื่อออนไลน์
การรักเพศเดียวกันกับบัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศ (2559), สืบค้นเมื่อ 2559, จาก sapaan.org รักแปดพันเก้า: รักของผม รักของฉัน รักของเรา (ตอนที่ 1) (2548), สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2561 จาก blogazine.pub

สาวเทียมเฮ! ศาลสั่งแก้ใบสด ไม่ระบุโรคจิตถาวร (2554), สืบค้นเมื่อ 2559, จาก mgronline.com Atime Media มีอีกชื่อว่า เกย์-ทอม มีเดีย (2554), สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2561 จาก pantip.com

สัมภาษณ์
กิตตินันท์ ธรมธัช, สัมภาษณ์, 17 มกราคม 2562.
คฑาวุธ ครั้งพิบูลย์, สัมภาษณ์, 19 ตุลาคม 2561.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

16-05-2019