สุนทรียทัศน์ของผู้ชมชาวจีนที่มีต่อละครโทรทัศน์ เรื่อง “บุพเพสันนิวาส"
คำสำคัญ:
สื่อจินตคดีของไทย, ละครโทรทัศน์, สุนทรียทัศน์, ผู้ชมชาวจีน, สุนทรียภาพกับการสื่อสารบทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง สุนทรียทัศน์ของผู้ชมชาวจีนที่มีต่อละครโทรทัศน์เรื่อง “บุพเพสันนิวาส” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) ที่ต้องการ ศึกษาสุนทรียทัศน์ของผู้ชมชาวจีนที่มีต่อละครโทรทัศน์เรื่อง บุพเพสันนิวาส และ อธิบายอิทธิพลของสุนทรียทัศน์จากละครโทรทัศน์เรื่อง บุพเพสันนิวาส ที่มีต่อ ผู้ชมชาวจีน เกี่ยวกับความคิดเห็นเชิงสุนทรียะหรือความงามในละครโทรทัศน์ เรื่องดังกล่าว ภายใต้แนวคิดสุนทรียภาพกับการสื่อสาร (aesthetics and communication) โดยใช้การวิจัยจากข้อมูลเอกสาร (documentary research) ประกอบการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) กลุ่มตัวอย่างเป็นชาวจีนใน ประเทศไทยที่รับชมละครโทรทัศน์เรื่อง บุพเพสันนิวาส จำนวน 10 คน
จากการศึกษาพบว่า สุนทรียทัศน์หรือความเห็นเกี่ยวกับ “แง่งาม” ของ ผู้ชมชาวจีนที่มีต่อละครโทรทัศน์ไทยเรื่องดังกล่าว สามารถสรุปได้ 3 ประการ ได้แก งามเพราะภาพอดีตที่แปลกตา เนื่องจากเป้าหมายของศิลปะคือ การเผยผัสสะ ของสรรพสิ่งดังที่เราได้สัมผัสซึ่งผู้ชมไม่เคยมองเห็นมาก่อน งามเพราะการแสดง ตราตรึงใจ เนื่องจากองค์ประกอบสำคัญที่จะก่อให้เกิดสุนทรียะ หรือก่อให้เกิด ความรู้สึกว่า งามได้นั้นก็คือการสร้างอารมณ์ร่วม และ งามเพราะได้สะท้อน ตัวตนของผู้ชมละคร ทำให้ผู้ชมได้ย้อนมองตัวเองผ่านความคิดพินิจพิเคราะห์ จิตใจ และมองเห็นความเป็นตัวตนของผู้ชมละครโทรทัศน์ในที่สุด
อิทธิพลของสุนทรียทัศน์จากละครโทรทัศน์เรื่อง บุพเพสันนิวาส ที่ส่งผลต่อทัศนคติและพฤติกรรมของผู้ชมชาวจีนในเชิงบวก โดยส่วนใหญ่กลุ่มตัวอย่าง จะมีทัศนคติไปในทางชื่นชอบวัฒนธรรมไทย มีความสนใจอยากเรียนภาษาไทย มากขึ้น มีการเปรียบเทียบวัฒนธรรมไทยกับวัฒนธรรมจีน และเกิดความรู้สึก อยากสัมผัสกับวัฒนธรรมไทยมากขึ้น จึงอาจกล่าวได้ว่า หลังจากรับชมละคร โทรทัศน์เรื่อง บุพเพสันนิวาส แล้ว กลุ่มตัวอย่างชาวจีนมีทัศนคติเชิงบวกต่อ วัฒนธรรมไทย อีกทั้งยังมีพฤติกรรมเลียนแบบและตามรอยละครอีกด้วย
ผู้วิจัยตั้งข้อสังเกตว่า การที่กลุ่มตัวอย่างผู้ชมชาวจีนมีสุนทรียทัศน์เชิง บวก และสามารถเข้าถึงละครเรื่อง บุพเพสันนิวาส จนได้รับความนิยมอย่าง กว้างขวางนั้น เป็นเพราะสื่อจินตคดีของโลกตะวันออกมีลักษณะร่วมกันคือ เน้น ความจริงทางความรู้สึก ความงามของจินตคดีโลกตะวันออกจึงเป็นสิ่งที่ผ่านการ ตีความของจิตใจ เพื่อให้เห็นภาพแสดงของความจริงแท้ได้อย่างล้ำลึกและเหนือ กว่าเหตุผลเชิงประจักษ์
References
เขมานันทะ (2554), เนื่องในความงาม, กรุงเทพฯ: อมรินทร์ธรรมะ.
เจตนา นาควัชระ (2548), จากแผ่นดินแม่สู่แผ่นดินอื่น: รวมบทความวิชาการและบทวิจารณ์, กรุงเทพฯ: คมบาง.
ชนประคัลภ์ จันทร์เรือง (2554), ละครคือชีวิต ชีวิตคือละคร, กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า 2000.
ชาตรี ประกิตนนทการ (2551), “ความงามข้ามกาลเวลาฯ ของจอห์น เลน: การเมืองของการมองความงาม”, วารสารอ่าน, กรกฎาคม-กันยายน: 178-190.
ณัฐนันท์ ศิริเจริญ (2552), สุนทรียศาสตร์เพื่อนิเทศศาสตร์, สมุทรปราการ: โครงการสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.
ตอลสตอย, เลี๊ยฟ นิโคลายวิช กร๊าฟ (2550), What is Art? ศิลปะคืออะไร, แปลโดย สิทธิชัย แสงกระจ่าง, กรุงเทพฯ: โอเพ่นบุ๊คส์.
ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์ และคณะ (2547), สุนทรียนิเทศศาสตร์ การสื่อสารการแสดงและสื่อจินตคดี, กรุงเทพฯ: โครงการสื่อสันติภาพ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นับทอง ทองใบ (2553), ศิลปวิจารณ์รายการวิทยุโทรทัศน์, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
นิธิ เอียวศรีวงศ์ (2538), โขน คาราบาว น้ำเน่า และหนังไทย, กรุงเทพฯ: มติชน.
ปรีดา อัครจันทโชติ (2549), ความงามหลังม่านไม้ไผ่ สื่อจินตคดีกับสุนทรียทัศน์จีน, กรุงเทพฯ: ภาควิชา วาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ลักษณวัต ปาละรัตน์ (2551), สุนทรียศาสตร์, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วิรุณ ตั้งเจริญ (2546), สุนทรียศาสตร์เพื่อชีวิต, กรุงเทพฯ: อีแอนด์ไอคิว.
สกุล บุณยทัต (2560), โรงมหรสพแห่งความสงบงาม, กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
สมบัติ กุสุมาวลี (2558), เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์, กรุงเทพฯ: วีพริ้นท์.
สมสุข หินวิมาน (2545), “ละครโทรทัศน์”, ใน กาญจนา แก้วเทพ และคณะ (บ.ก.), สื่อบันเทิง: อำนาจ แห่งความไร้สาระ, กรุงเทพฯ: ออล อเบาท์ พริ้นท์.
________. (2557), ปรัชญานิเทศศาสตร์และทฤษฎีการสื่อสาร, นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สรรัตน์ จิรบวรวิสุทธิ์ (2554), พัฒนาการและสุนทรียทัศน์ในการสร้างสรรค์บทละครในโทรทัศน์ไทย, วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารการแสดง ภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สศช. และศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (2552), เศรษฐกิจสร้างสรรค์ The Creative Economy: รายงานการศึกษาเบื้องต้น, กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคม.
อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ และคณะ (2543), จินตทัศน์ทางสังคมในภาษาสื่อมวลชน, กรุงเทพฯ: โครงการสื่อสันติภาพ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Erll, A. (2011), Memory in Culture, translated by Sara B. Young, London: Palgrave Macmillan.
Fiske, J. (2011), Television Culture, London: Routledge.
Jennings, B. and Oliver, M. (2009), Media Effects: Advance in theory and research, New York: Routledge.
LeBaron, M. (2003), Bridging Cultural Conflicts: A New Approach for a Changing World, CA: Jossey-Bass.
กระทรวงวัฒนธรรม (2559), ยุทธศาสตร์การส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ระยะที่ 2, สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2561 จาก www.m-culture.go.th/policy/files/329/Asian. pdf
ประภาภรณ์ รัตโน และหยกขาว สมหวัง (2560), “อุตสาหกรรมการสร้างวัฒนธรรมและการสื่อสารในยุคดิจิทัลกรณีศึกษาอุตสาหกรรมการสร้างวัฒนธรรมไทยในจีน”, วารสารศิลปศาสตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้, สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2561 จาก https://www.tcithaijo.org/index.php/liberalartsjournal/95951
ศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน (2555), ทำไมคนจีนถึงคลั่งไคล้ละครไทย, สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2561 จาก https://www.vijaichina.com/articles/79
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครเซี่ยงไฮ้ (2555), โอกาสทองธุรกิจบันเทิงไทยในแดนมังกร, สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2561 จาก www.mfa.go.th/27764.html.
อ้ายจง (2561), วิเคราะห์กระแสบุพเพสันนิวาสในโลกโซเชียลจีน, สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2561 จาก https://www.facebook.com/aizhongchina/posts/1194604100671151/
โอภาส เหลืองดาวเรือง (2552), “ตลาดและโอกาสธุรกิจทางการศึกษาของไทยในมณฑลยูนนาน”, สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2561 จาก https://www.thaibizchina.com/thaibizchina/th/
ชิวกว้านหลิน, สัมภาษณ์ 16 พฤษภาคม 2561.
ซงชูเซิน, สัมภาษณ์ 9 พฤษภาคม 2561.
ซ่ายเอิน, สัมภาษณ์ 12 พฤษภาคม 2561.
ไซ้เหม่ยหลิง, สัมภาษณ์ 12 พฤษภาคม 2561.
ยวี่เฉิน, สัมภาษณ์ 12 พฤษภาคม 2561.
เสี่ยวสวง, สัมภาษณ์ 25 พฤษภาคม 2561.
เสี่ยวหวาง, สัมภาษณ์ 23 พฤษภาคม 2561.
หลี่เฉียนเต๋อ, สัมภาษณ์ 19 พฤษภาคม 2561.
หวางอ้ายหลิน, สัมภาษณ์ 2 พฤษภาคม 2561.
หวูเจียว, สัมภาษณ์ 5 พฤษภาคม 2561.