โครงสร้างการเล่าเรื่องและการประกอบสร้างความหมาย สื่อการแสดงพื้นบ้านในภาพยนตร์ไทย

ผู้แต่ง

  • สุชาดา พงศ์กิตติวิบูลย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

บทคัดย่อ

                  การแสดงพื้นบ้านเป็นสื่อของชุมชน เมื่อถูกนำมาผลิตผ่านสื่อสมัยใหม่ เช่น ภาพยนตร์ จะมีโครงสร้างการเล่าเรื่องและการประกอบสร้างความหมายเช่นไร การวิเคราะห์ตัวบทภาพยนตร์ไทยที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสื่อการแสดงพื้นบ้าน พบว่า (1) การเล่าเรื่องสื่อการแสดงพื้นบ้านในภาพยนตร์ไทยมีจุดจบแบบโศกนาฏกรรม (2) การเล่าเรื่องสะท้อนถึงอำนาจของผู้ชายชนชั้นกลางในเรื่องเล่า (3) การเล่าเรื่อง แบบย้อนอดีตในภาพยนตร์ไทยนอกจากเพื่อสร้างความมั่นใจในอัตลักษณ์ของตนแล้ว ยังเป็นการตอบสนองอารมณ์โหยหาอดีต (4) ภาพยนตร์ประกอบสร้างมายาคติ เกี่ยวกับสื่อพื้นบ้านในฐานะที่เป็นวัฒนธรรมไทยที่รัฐจะต้องเข้าไปกำกับ ควบคุม ดูแล และ (5) การเล่าเรื่องสื่อการแสดงพื้นบ้านในภาพยนตร์ไทยเป็นการเล่าที่กด ทับศักยภาพของชุมชน ทั้งในมิติการต่อรองและการต่อสู้กับอำนาจในเชิงโครงสร้าง เศรษฐกิจการเมือง (6) ภาพยนตร์ประกอบสร้างมายาคติเรื่องวัฒนธรรมไทย

เผยแพร่แล้ว

07-10-2019