การสื่อสารผ่านศิลปะภาพถ่ายแบบ Tableau Staged Photography

ผู้แต่ง

  • วารี ฉัตรอุดมผล คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

บทคัดย่อ

                  บทความชิ้นนี้ศึกษาวิธีการในการสื่อสารเรื่องเล่าผ่านศิลปะภาพถ่าย แบบ Tableau Staged Photography2 เพื่อสร้างความเข้าใจถึงรูปแบบ ความ สำคัญ และวิธีการในการสื่อสารผ่านภาพนิ่งรูปแบบหนึ่ง ซึ่งไม่ได้รับการศึกษา หรือกล่าวถึงมากนักในแวดวงศิลปะการถ่ายภาพในประเทศไทย ทั้งในเชิงวิชาการ และวิชาชีพ รูปแบบดังกล่าวมีมาอย่างยาวนานตั้งแต่ยุคแรกของการถ่ายภาพ หาก แต่เพิ่งได้รับการศึกษาและกล่าวถึงอย่างเป็นทางการในประเทศฝ่ังตะวันตก เมื่อ ภาพถ่ายเริ่มได้รับการยอมรับในวงการศิลปะและเข้าสู่ยุคของ “ศิลปะภาพถ่าย ร่วมสมัย” (contemporary photography) จากการศึกษาพบว่า ความน่าสนใจ ของภาพถ่ายแบบ Tableau Staged Photography อยู่ที่ความพยายามใน “การ เล่าเรื่อง” (storytelling) และการสร้างประสบการณ์ในการ “อ่านภาพ” ให้กับ ผู้ชม โดยผสมผสานองค์ความรู้ที่มีความเป็นสหวิทยาการ ซึ่งมีอิทธิพลหลักจาก ศิลปะการวาดภาพ การละครเวที และการสร้างภาพในภาพยนตร์ โดยไม่ละทิ้ง คุณลักษณะของความเสมือนจริงที่เป็นตัวแทนความจริง (pseudo) อันเป็นเสน่ห์ ของภาพถ่ายที่สำคัญยิ่งในการสร้างความรู้สึกร่วมกับผู้ชม ผลงานที่มีชื่อเสียงมัก ให้ความสำคัญกับเนื้อหาที่สะท้อนภาพความจริงหรือปรากฏการณ์สำคัญ ตัวละคร และรายละเอียดทั้งหมดในภาพจะถูกบรรจงจัดวางอย่างประณีตเพื่อประกอบสร้างขึ้นเป็นความหมาย ทั้งนี้เพื่อให้การสื่อสารเรื่องเล่าผ่านภาพนิ่งโดยปราศจากการ ให้เสียงและการเคลื่อนไหวนี้ สามารถสร้างพื้นที่ให้กับการพิจารณาและตีความถึง นัยสำคัญได้อย่างลุ่มลึกและคมคาย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-10-2019