การใช้ระเบียบวิธีแบบโบราณคดีวิทยาแห่งความรู้ ในการศึกษาทางด้านการสื่อสาร

ผู้แต่ง

  • จิรเวทย์ รักชาติ คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บทคัดย่อ

                  บทความชิ้นนี้นำเสนอวิธีการศึกษาด้านการสื่อสารด้วยระเบียบวิธี แบบโบราณคดีของความรู้ตามแนวทางของมิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault) โดยระเบียบวิธีนี้เป็นการศึกษาที่พยายามแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของพื้นที่ การสื่อสารในการไหลเวียนของความรู้และอำนาจที่ปรากฏในช่วงเวลาทาง ประวัติศาสตร์ การกำหนดสถานะของวัตถุ ผ่านการสร้างคำ ความหมาย รวมถึง ความสัมพันธ์ต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กับอำนาจของสถาบันทางสังคม และ กฎเกณฑ์เชิงลึกของความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ที่นำมาจากสาขาวิชาต่างๆ องค์ ประกอบสำคัญเหล่านี้ที่จะถูกเปิดเผยขึ้นหลังจากการใช้ระเบียบวิธีแบบโบราณคดี ของความรู้ เพื่อวิเคราะห์ถ้อยแถลงต่างๆ ผ่านพื้นที่ของการสื่อสาร ไม่ว่าจะ เป็นงานเขียนประเภทต่างๆ หรือการพูดที่ถูกจดบันทึกเอาไว้ หากเอกสารต่างๆ เหล่านี้สามารถระบุช่วงเวลาการปรากฏของพวกมันเองได้ ก็จะสามารถนำมาใช้ ในการศึกษาด้วยระเบียบวิธีดังกล่าวได้ทั้งหมด
                    การใช้ระเบียบวิธีแบบโบราณคดีของความรู้ในงานด้านการสื่อสารนั้น สามารถเริ่มต้นได้ด้วยการกำจัดความต่อเนื่องรูปแบบต่างๆ ที่อาจส่งผลให้เกิด อคติในถ้อยแถลง ซึ่งเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของการวิเคราะห์ภายในเอกสารต่างๆ ตัวสารที่ใช้ในการศึกษาแบบโบราณคดีของความรู้นั้นสามารถเป็นได้ทั้งงานเขียน ประเภทต่างๆ หรือคำพูดที่ถูกบันทึกเอาไว้ในช่วงเวลาต่างๆ ในฐานะของพื้นที่ ของการสื่อสารซึ่งวัตถุของวาทกรรมหรือวัตถุของความรู้ต่างๆ ต้องปรากฏตัวขึ้นหลังจากนั้น หน้าที่ของของนักโบราณคดีของความรู้คือ การขุดค้นความสัมพันธ์ ที่อยู่ภายใต้วัตถุของวาทกรรมนั้น ซึ่งได้แก่ คุณลักษณะเชิงลึกของความรู้ที่ ทำหน้าที่เป็นตะแกรงที่กำหนดวัตถุต่างๆ เหล่านั้น และอำนาจของสถาบันต่างๆ ที่มอบให้แก่ปัจเจกบุคคลต่างๆ ในฐานะตัวแทนของสถาบันทางสังคม เพื่อใช้ใน การสร้างหรือควบคุมวัตถุแห่งความรู้หรือวาทกรรมในเรื่องต่างๆ นั้น ให้ไหลเวียน ในสังคมช่วงเวลาต่างๆ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-10-2019