การประเมินผลกระบวนการจัดกิจกรรมเพื่อสร้าง ความร้คูวามเข้าใจ ทัศนคติ และทักษะการสื่อสารเรื่องเพศ ของผู้ปกครองกับลูกวัยรุ่น

ผู้แต่ง

  • กัลยกร วรกุลลัฎฐานีย์ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • พรรณวดี ประยงค์ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • รุจน์ โกมลบุตร คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

บทคัดย่อ

                   บทความเรื่อง “การประเมินผลกระบวนการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ และทักษะการสื่อสารเรื่องเพศของผู้ปกครองกับลูกวัยรุ่น” พัฒนามาจากการวิจัยเรื่อง โครงการประเมินผลกระบวนการจัดกิจกรรมเพื่อสร้าง ความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ และทักษะการสื่อสารเรื่องเพศของผู้ปกครองกับลูก วัยรุ่น สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โครงการวิจัยและบทความมีจุดประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการจัดกิจกรรมของ ภาคีเครือข่าย 3 พื้นที่ ในการสร้างความรู้ ทัศนคติ และทักษะการสื่อสารเรื่อง เพศกับลูกของผู้ปกครอง และเพื่อประเมินผลกิจกรรมดังกล่าว พื้นที่ 3 แห่งที่ สสส. อำนวยการในการจัดกิจกรรม ได้แก่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอ เชียงคำ จังหวัดพะเยา และอำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี การอบรม มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้พ่อแม่พูดคุยเรื่องเพศกับวัยรุ่น อันจะนำไปสู่การลด ปัญหาท้องไม่พร้อม
                  ระเบียบวิธีที่ใช้ในการประเมินผล ได้แก่ การสังเกตการณ์ (field observation) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (depth interview) กระบวนกรที่จัด กิจกรรม และใช้แบบประเมินก่อนและหลังอบรมสำหรับผู้ปกครองที่เข้าร่วม โครงการอบรม ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
                  (1) การสัมภาษณ์กระบวนกรพบว่า กระบวนกรทั้งหมดมีประสบการณ์ ทำงานเรื่องเพศและประสบการณ์เป็นวิทยากรกระบวนการ หลักสูตรการอบรม เน้นการทำกิจกรรมสร้างการเรียนรู้มากกว่าการบรรยาย และออกแบบให้มีการ อบรมหรือพบกลุ่มมากกว่า 1 ครั้ง เพื่อหวังผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ข้อเสนอ ต่อการแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นคือ การพัฒนาวิทยากรกระบวนการ การ พัฒนาหลักสูตรพ่อแม่ มีนโยบาย งบประมาณ และแผนการทำแผนงานระหว่าง หน่วยงานที่ชัดเจน รวมทั้งการรณรงค์เรื่องเพศผ่านสื่อขนาดใหญ่
                  (2) ผลการสังเกตการณ์พบว่า กิจกรรมภาพรวมประกอบไปด้วยเนื้อหา ต่างๆ ทั้งด้านความรู้ การปรับเปลี่ยนทัศนคติ และการให้ความรู้ด้านทักษะการสื่อสาร โดย 2 พื้นที่ ใช้หลักสูตรของมูลนิธิแพธทูเฮลท์ สำหรับอีก 1 พื้นที่ ใช้สื่อจาก คู่มือ (กล้า) คุยกับลูกวัยรุ่นเรื่องเพศ ของ สสส. กระบวนการในการ อบรมที่จะได้ผลควรเป็นการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม การเล่นบทบาทสมมติ จะเรียนรู้ ได้ดีกว่าการฟังและพูดคุย และควรมีการผสมผสานคนหลายวัยเข้าด้วยกัน เป็น กลุ่มเล็ก มีการพบปะเป็นระยะๆ ทำอย่างต่อเนื่อง
                  (3) ผลการประเมินโดยใช้แบบประเมินพบว่า ผู้ปกครองใน 3 พื้นที่ มีทัศนคติต่อเรื่องเพศของลูกหลานวัยรุ่นไม่แตกต่างจากก่อนเข้าร่วมโครงการ มากนัก กล่าวคือ ยังคาดหวังให้วัยรุ่นเชื่อฟัง ไม่อยากให้ริรักในวัยเรียน เป็นต้น เช่นเดียวกันกับระดับความรู้ความเข้าใจในเรื่องเพศที่มีเพียงพื้นที่อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีระดับความรู้ความเข้าใจในเรื่องเพศที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ในขณะที่อีก 2 พื้นที่ไม่แตกต่างจากเดิมมาก ในส่วนของทักษะการสื่อสารเรื่อง เพศจะพบว่า ผู้ปกครองใน 3 พื้นที่ มีทักษะในการสื่อสารกับลูกวัยรุ่นในภาพ รวมที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ทักษะในการพูดคุยเรื่องเพศกลับไม่พัฒนาไปมากนัก
                  การศึกษาพบว่า การอบรมสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงด้านความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้ปกครองได้ระดับหนึ่ง แต่ยังไม่สามารถทำให้ ผู้ปกครองพูดคุยเรื่องเพศในระดับที่ลึกซึ้งกับลูกวัยรุ่นได้ เพราะการอบรมยังไม่ สามารถปรับทัศนคติของผู้ปกครองได้มากนัก เช่น ทัศนคติในเรื่องเพศ ทัศนคติ ต่อความเป็นวัยรุ่น ข้อเสนอแนะคือ ต้องใช้สื่อต่างๆ ช่วยปรับทัศนคติของสังคม โดยรวมในเรื่องเพศ และพัฒนาหลักสูตรการอบรมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-10-2019