แม่ เมีย และ “สัตว์โลกแสนสวย”: นิยามแห่งความเป็นเพศหญิงในหนังสือนิทานภาพ สำหรับเด็ก?
บทคัดย่อ
หนังสือนิทานภาพสำหรับเด็ก เป็นพื้นที่สื่อสารที่สำคัญในการส่งผ่าน บรรทัดฐานและอุดมการณ์ของสังคมไปสู่เด็กในช่วงวัย 3-6 ปี ดังนั้น การวิจัย นี้จึงสนใจว่า โลกจินตนาการอย่างหนังสือนิทานภาพสำหรับเด็กประกอบสร้าง ภาพตัวแทนของความเป็นเพศหญิงในลักษณะเช่นใด และผู้รับสารภายใต้บริบท ชีวิตประจำวันประกอบสร้างความหมายเกี่ยวกับความเป็นเพศหญิงในลักษณะ เช่นใด โดยจะให้ความสนใจต่อความเป็นเพศหญิงใน 3 สถานะ ได้แก่ ความ เป็นแม่ ความเป็นเมีย และความเป็น “สัตว์โลกแสนสวย” ซึ่งเป็นมิติที่นักสตรี นิยมพิจารณาว่า สังคมมีแนวโน้มเข้ามาจัดวินัยให้กับเพศหญิง แต่ขณะเดียวกัน ก็เป็นพื้นที่ในการปะทะต่อสู้ต่อรองได้เช่นกัน
สำหรับผลการศึกษาพบว่า ภาพตัวแทนของความเป็นเพศหญิงที่ สอดคล้องต่ออุดมการณ์หลักของสังคมยังคงครอบงำหนังสือนิทานภาพสำหรับ เด็ก นั่นคือ แม่ที่มีจิตใจดีงาม อ่อนโยน อ่อนหวาน รัก เลี้ยงดู ดูแล และพร้อม อุทิศชีวิตเพื่อลูก อยู่ในพื้นที่บ้าน และทำกิจกรรมที่สอดคล้องต่อความเป็นแม่ที่ดี หรือเมียที่มีจิตใจดีงาม รักและห่วงใย ยอมจำนน และยึดมั่นต่อสามี มีสามีเป็นศูนย์กลางในชีวิต อยู่ในพื้นที่บ้าน และทำกิจกรรมที่สอดคล้องต่อความเป็นเมีย ที่ดีตามขนบ หรือ “สัตว์โลกแสนสวย” ที่ถูกครอบงำโดยอุดมการณ์ความงาม ทั้งความงามทางกาย วาจา และ/หรือใจ โดยความงามที่มีนั้นเป็นไปเพื่อดึงดูดให้ ผู้อื่น (เพศชาย) สนใจ เป็นหลัก อย่างไรก็ตาม ภาพตัวแทนของความเป็นเพศ หญิงในลักษณะที่ต่อรองต่ออุดมการณ์หลักก็ปรากฏอยู่บ้าง เช่น แม่ที่ทอดทิ้งลูก หรือรักลูกภายใต้เงื่อนไขบางอย่าง หรือเมียที่ไม่ได้รักสามีด้วยความจริงใจ แต่ ต้องการเพียงผลประโยชน์จากสามี หรือ “สัตว์โลกแสนสวย” ที่แม้จะไม่ปฏิเสธ ต่อความงามในมิติต่างๆ แต่ก็มีความกล้าหาญ มีไหวพริบสติปัญญา ความเข้มแข็ง ไม่ยอมจำนนหรือพึ่งพาเพศชาย และภาพความงามเพื่อเพิ่มคุณค่าในตนเอง หรือ เพื่อให้มีอำนาจเหนือเพศชาย
นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาการตีความความหมายพบว่า แม่ยังคงอ่านความ หมายอย่างสอดคล้องต่ออุดมการณ์หลักของสังคม เช่น แม่ที่ต้องรักและเลี้ยงดูลูก หรือเมียที่ต้องปรนนิบัติรับใช้สามี หรือผู้หญิงที่ต้องสวยเพื่อดึงดูดใจผู้อื่น ขณะที่ เด็กประกอบสร้างความหมายทั้งในลักษณะที่สอดคล้องและต่อรองต่ออุดมการณ์ หลักของสังคม เช่น การที่แม่ต้องรักและเลี้ยงดูลูก แต่ก็ไม่จำเป็นต้องอยู่บ้านกับ ลูกตลอดเวลา หรือไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ทำอาหารเพียงคนเดียว หรือเมียที่อาจ จะไม่จำเป็นต้องปรนนิบัติรับใช้สามี หรือ “สัตว์โลกแสนสวย” ที่ทั้งสวย ฉลาด และให้การช่วยเหลือผู้อื่น อย่างไรก็ตาม สถานภาพและลักษณะครอบครัวที่ แตกต่างกัน ก็มักจะมีอิทธิพลต่อการประกอบสร้างความหมายอย่างแตกต่างกัน เช่น ครอบครัวแม่เลี้ยงเดี่ยวจะต่อรองต่อภาพตามขนบของความเป็นแม่และความ เป็นเมีย นอกจากนี้ หนังสือนิทานภาพสำหรับเด็กอาจจะไม่ใช่สถาบันเพียงหนึ่ง เดียวที่มีอิทธิพลต่อเด็ก แต่สื่ออื่นๆ รวมถึงวิถีปฏิบัติในชีวิตประจำวันของเด็ก เป็นไปได้ที่จะมีอิทธิพลต่อการประกอบสร้างความหมายเกี่ยวกับความเป็นเพศ หญิงของเด็ก
References
กาญจนา แก้วเทพ (2553), แนวพินิจใหม่ในสื่อสารศึกษา, กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
กาญจนา แก้วเทพ และสมสุข หินวิมาน (2553), สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับสื่อสารศึกษา, กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
เกริก ยุ้นพันธ์ (2543), การออกแบบและเขียนภาพประกอบหนังสือสำหรับเด็ก, กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.
________. (2560), “การศึกษาวรรณกรรมสำหรับเด็กในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2455-2555”,วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9(17): 14-22.
จันทร์เจ้า (2556ก), นางสิบสอง, กรุงเทพฯ: สกายบุ๊กส์.
________. (2556ข), อุทัยเทวี, กรุงเทพฯ: สกายบุ๊กส์.
เจด็จ คชฤทธิ์ (2554), เด็กกับหนังสือ, นนทบุรี: บ้านหนังสือ.
เจ้าขา (2560), อุ่นอ้อมกอด, กรุงเทพฯ: ลิตเติ้ลฮาร์ท.
ทิพย์วรรณ แสวงศรี (2555), ขอบใจมากนะจ๊ะปุยน้อย, กรุงเทพฯ: โลกหนังสือ.
นพพร ประชากุล (2552ก), ยอกอักษร ย้อนความคิด เล่ม 1 ว่าด้วยวรรณกรรม, กรุงเทพฯ: อ่านและวิภาษา.
________. (2552ข), ยอกอักษร ย้อนความคิด เล่ม 2 ว่าด้วยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, กรุงเทพฯ: อ่านและวิภาษา.
นิศา ชูโต และกล่อมจิตต์ พลายเวช (2527), สภาพและแนวโน้มหนังสือเด็ก, กรุงเทพฯ: คณะอนุกรรมการอุดมการณ์ของชาติ คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายก รัฐมนตรี.
ปิยพร คลศิลป์ (2552), การศึกษาบทบาทของผู้หญิงในนิทานพื้นบ้านล้านนา, วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและวรรณกรรมล้านนา คณะมนุษยศาสตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ปรีดา ปัญญาจันทร์ และสุดไผท เมืองไทย (2557), การเขียนภาพประกอบหนังสือสำหรับเด็ก, กรุงเทพฯ: แพรวเพื่อนเด็ก.
พัชรี มีสุคนธ์ (2558), เรารักกันนะ, กรุงเทพฯ: ทองเกษม.
พี่เชียร์รี่แลนด์ (2556), แก้วหน้าม้า, กรุงเทพฯ: สกายบุ๊กส์.
เพลินพิศ เพิ่มสิน (2544), การศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมนิทานเรื่องอาหรับราตรี, วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ภัทรศศิร์ ช้างเจิม (2559), ภาพตัวแทนผู้หญิงในการ์ตูน Disney Princess, วิทยานิพนธ์ปริญญาวารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสื่อสารมวลชน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ภิมลพรรณ อุ่นแก้ว (2558), การเปรียบเทียบกลวิธีการเล่าเรื่องและจิตสำนึกแห่งความคิดที่ปรากฏในวรรณกรรมและภาพยนตร์เรื่อง สโนว์ ไวท์: รายงานการวิจัย, กรุงเทพฯ: ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.
มาณิษา พิศาลบุตร (2533), การสื่อความหมายในนิตยสารการ์ตูนขายหัวเราะฉบับกระเป๋า, วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาการสื่อสารมวลชน จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
มารุต วงษ์ศิริ (2552), อคติทางเพศในหนังสือการ์ตูนตลกไทย, วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาวารสารสนเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ลำพู แสงลภ (2560), หนูนิดติดเกม, กรุงเทพฯ: อักษราฟอร์คิดส์.
สรณี วงศ์เบี้ยสัจจ์ และคณะ (2545), หนังสือนิทานภาพสำหรับเด็กของไทยที่ได้รับรางวัล: การวิเคราะห์เชิงวรรณกรรมและวาทกรรม, รายงานการวิจัย ภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะ มนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สรารักษ์ โรจนพฤกษ์ และขจร ฝ้ายเทศ (2557), “การวิเคราะห์ภาพตัวแทนความเป็นสตรีในสื่อภาพยนตร์การ์ตูนวอล ดิสนีย์”, เอกสารประกอบการประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 52: สาขา ศึกษาศาสตร์, สาขาเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ, สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุดารัตน์ มาศวรรณนา (2552), การ์ตูนนิทานไทย: การปรับเปลี่ยนและความสัมพันธ์กับสังคม, วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
แสงดาว ถิ่นหารวงษ์ (2555), “การเปรียบเทียบภาพยนตร์การ์ตูนของวอลท์ ดิสนีย์และภาพยนตร์การ์ตูนไทย: ภาพสะท้อนบทบาทของสตรีในสังคม”, วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์, 14(2): 53-67.
Chick, K. et al. (2010), “A Gender Analysis of NCSS Notable Picture Book Winners:2006-2008”, Social Studies Research & Practice (Board of Trustees of The University of Alabama), 5(3): 21-35.
England, D. et al. (2011), “Gender Role Portrayal and the Disney Princesses”, Sex Roles, 64(7-8): 555-567.
Hall, S. (1997), Representation: Cultural Representations and Signifying Practices.London: Sage.
Huntoon, A. (2009), “Gender Stereotypes”, in O’ Brien, J. (eds.), Encyclopedia of Gender and Society (Vol.1), California: Sage.
James, A. et al. (2015), Theorizing Childhood, Cambridge: Polity Press.
Lemish, D. (2015), Children and Media: A Global Perspective, Malden: Wiley-Blackwell.
Luyt, B. et al. (2011), “Gender Representations and Stereotypes in Singaporean Picture Books: 1970 to 2008”, Malaysian Journal of Library & Information Science, 16(3): 49-65.
Macblain, S. (2014), How Children Learn, Los Angeles: Sage.
McCabe, J. et al. (2011), “Gender in Twentieth-Century Children’s Books: Patterns of Disparity in Titles and Central Characters (Electronic Version)”, Gender & Society, 25(2): 197-226.
Morley, D. (2005), Family Television: Cultural Power and Domestic Leisure, New York: Routledge.
Strasburger, V. et al. (2014), Children, Adolescents, and the Media, Thousand Oaks: Sage.
Tsao, Y. (2008), “Gender Issues in Young Children's Literature”, Reading Improvement, 45(3): 108-114.
Van Zoonen, L. (1994), Feminist Media Studies, London: Sage.
Weitzman, L. et al. (1972), “Sex-Role Socialization in Picture Books for Preschool Children”, American Journal of Sociology, 77(6): 1125-1150.
Williams Jr., J. et al. (1987), “Sex Role Socialization in Picture Books: An Update”, Social Science Quarterly (University of Texas Press), 68(1): 148-156.
สำนักส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชาย สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (ม.ป.ป.),“เพศ(Sex) ความเป็นหญิงความเป็นชาย (Gender) การขัดเกลาทางสังคม (Socialization) และความเสมอภาคหญิงชาย (Gender Equality)”, สืบค้นจาก https://www.owf.go.th/wofa/modules/website/upload/news/5c80f2a87a7d0751dc11d603434d2f2b.pdf
Barstack, R. (2008), “Defining and Evaluating Picture Books”, retrieved from https://web.gccaz.edu/~rbarstac/291Fall08/PixAssign_files/EvaluatingPixBooks.ppt
Enoch Pratt Free Library (2016), “Guide to Picture Books”, retrieved from https://www.prattlibrary.org/locations/children/index.aspx?id=4116
Hall, S. (1973), “Encoding and Decoding in the Television Discourse”, CCCS Stencilled Paper 7, University of Birmingham, retrieved from https://www.birmingham.ac.uk/Documents/college-artslaw/history/cccs/stenciled-occasional-papers/1to8and11to24and38to48/SOP07.pdf