การสื่อสารและวาทกรรม “แม่วัยใส” ในสังคมไทย

ผู้แต่ง

  • ศุภรดา ประภาวงศ์ อาจารย์ ดร. ประจำวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

คำสำคัญ:

แม่วัยใส, วาทกรรม, การสื่อสาร

บทคัดย่อ

                   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาถึงอำนาจที่สร้างวาทกรรม แม่วัยใสในแต่ละยุค (2) เพื่อศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงของการปฏิบัติต่อแม่วัยใส ที่มีผลจากวาทกรรมในแต่ละยุค และ (3) เพื่อศึกษาการสื่อสารและการต่อสู้กับ วาทกรรมและการปฏิบัติต่อแม่วัยใสของแม่วัยใส
                   การวิจัยฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือในการศึกษา ดังนี้ (1) การวิเคราะห์วาทกรรม (discourse analysis) จากสื่อสาระและสื่อ บันเทิงที่เป็นตัวแทนวาทกรรม “แม่วัยใส” ทั้ง 3 ยุค จำนวน 41 รายการ (2) การ ศึกษาประวัติชีวิต (life history) จากบุคคลที่มีชื่อเสียงที่ยอมรับว่าเป็น “แม่ วัยใส” ผ่านสื่อสาธารณะ จำนวน 5 คน (3) การสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) กลุ่มตัวอย่างแม่วัยใสที่เคยตั้งครรภ์ในขณะที่อายุต่ำกว่า 22 ปี จาก การใช้เกณฑ์การจบการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ซึ่งยึดจากเกณฑ์เปรียบเทียบ อายุและลำดับชั้นในการศึกษาไทยที่นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 21-22 ปี จำนวน 10 คน ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่างที่เป็นคน ใกล้ชิดของแม่วัยใสกลุ่มข้างต้น ซึ่งเป็นผู้สังเกตการณ์คนสำคัญที่รับรู้เกี่ยวกับ แม่วัยใสในกลุ่มข้างต้นเป็นอย่างดี จำนวน 10 คน โดยแม่วัยใสเป็นผู้พิจารณา ยอมรับ และคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างคนใกล้ชิดด้วยตัวเอง และ (4) การวิเคราะห์ ตัวบท (textual analysis) จากการศึกษาข้างต้น
                   ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า วาทกรรม “แม่วัยใส” แบ่งออกเป็น 3 ยุค ได้แก่ (1) ยุค “พร้อมแล้วต้องท้อง”: “แม่วัยใส” เป็นเรื่องปกติ (2) ยุค “ท้อง ไม่พร้อม”: “แม่วัยใส” เป็นสิ่งผิด และ (3) ยุค “ท้องได้แต่ต้องพร้อม”: “แม่วัยใส” เป็นสิ่งที่ไม่ได้ผิดเสมอไป อำนาจที่สร้างวาทกรรมเหล่านี้ก็คือ สถาบันทางสังคม ต่างๆ ซึ่งได้แก่ สถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา สถาบันเศรษฐกิจ สถาบันการ แพทย์ สถาบันรัฐและกฎหมาย สถาบันชาติพันธุ์หรือวัฒนธรรม สถาบันศาสนา และสถาบันสื่อ โดยในแต่ละยุคสมัยจะมีการสร้างวาทกรรมที่แตกต่างกันไปตาม ความเปลี่ยนแปลงของปฏิบัติการทางสังคมวัฒนธรรม (socio-cultural practice) และการสื่อสารและการต่อสู้ของแม่วัยใสต่อการปฏิบัติต่อแม่วัยใสตามวาทกรรม “แม่วัยใส” ในแต่ละยุคนั้น ได้แก่ (1) การยอมรับวาทกรรมเดิมในยุคที่ 1 (2) การยอมรับ/ปฏิเสธ/ต่อรองวาทกรรมเดิมในยุคที่ 2 และ (3) การปฏิเสธ/ ต่อรองวาทกรรมเดิม การสร้างวาทกรรมใหม่ และการผสมผสานวาทกรรมเดิมกับ วาทกรรมใหม่ในยุคที่ 3 ทั้งนี้ คำนิยามของวาทกรรม “แม่วัยใส” จะเป็นอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับอำนาจและปฏิบัติการทางวาทกรรม (discursive practice) และปฏิบัติ การทางสังคมวัฒนธรรม (socio-cultural practice) และการสื่อสาร ที่มีความ แตกต่างกันไปในแต่ละยุคสมัย

References

กฤตยา อาชวนิจกุล (2547), “ผู้หญิง” ในวาทกรรมการเมืองเรื่องเพศและสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์, กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

________. (2552), ถึงเวลาต้องเข้าใจและแก้ไขความรุนแรงทางเพศ เอดส์ และท้องไม่พร้อม, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.

กัลยกร วรกุลลัฎฐานีย์ และคณะ (2560), “การประมวลผลกระบวนการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ และทักษะการสื่อสารเรื่องเพศของผู้ปกครองกับลูกวัยรุ่น”, วารสารศาสตร์, 10(1): 91-125.

กาญจนา แก้วเทพ (2544), การศึกษาสื่อมวลชนด้วยทฤษฎีวิพากษ์ (Critical Theory): แนวคิดและตัวอย่างงานวิจัย, กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

________. (2546), ประมวลสาระชุดวิชาปรัชญานิเทศศาสตร์และทฤษฎีการสื่อสาร หน่วยที่ 1-5, นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

________. (2548), ปรัชญานิเทศศาสตร์และทฤษฎีการสื่อสาร, นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

________. (2557), ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนธรรมศึกษา, กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

กาญจนา แก้วเทพ และสมสุข หินวิมาน (2551), สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับสื่อสารศึกษา, กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

กำจร หลุยยะพงศ์ (2544), “ครอบครัวกับความสัมพันธ์ที่ไม่มีวันแปรเปลี่ยน?”, ใน สตรีศึกษา 2, กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ สำนักงานปลัด สำนักนายกรัฐมนตรี.

________. (2553), การสื่อสารกับวาทกรรมอัตลักษณ์ผู้สูงอายุในสังคมไทย, วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จรัฐภรณ์ อินทะวงค์ (2552), การศึกษาความคิดเห็นของสตรีที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันสมควรที่มีต่อ ประเด็นวิถีตามเพศ (Gender) และเพศวิถี (Sexuality), วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาสตรีศึกษา วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จักษ์ พันธ์ชูเพชร (2546), เพศสัมพันธ์ในสายเลือด: ตรรกะแห่งการต่อต้านขัดขืน, วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เฉลิมศรี อานกำปัง (2552), การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรของวัยรุ่นหญิงในตำบลแห่งหนึ่งของจังหวัด นครราชสีมา, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาสุขภาพชุมชน สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร (2549), วาทกรรมการพัฒนา: อำนาจความรู้ ความจริง เอกลักษณ์ และความเป็นอื่น, กรุงเทพฯ: วิภาษา.

ณัฐธิดา เหลืองสุขโสภณ (2554), การจัดการเพื่อให้เกิดการแทรกแซงที่เหมาะสมในภาวะวิกฤตสำหรับหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ, วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต สาขาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณัฐพร อาจหาญ (2555), การสร้างความเป็นจริงทางสังคมของเมียน้อยในละครโทรทัศน์, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารมวลชน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสาร มวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณัฐยา บุญภักดี (2552), ถึงเวลาต้องเข้าใจและแก้ไขความรุนแรงทางเพศ เอดส์ และท้องไม่พร้อม, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.

ดลฤดี เพชรขว้าง และคณะ (2554), การตั้งครรภ์วัยรุ่นและปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการตั้งครรภ์ในสตรีวัยรุ่น, พะเยา: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา และสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข.

ดวงแก้ว เธียรสวัสดิ์กิจ (2557), “กลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงทัศนคติของพ่อแม่ผ่านการสื่อสารกลุ่มย่อยโดยใช้สื่อการเรียนรู้ (กล้า) คุยกับลูกวัยรุ่นเรื่องเพศ”, วารสารศาสตร์, 7(2): 85-128.

ทองกร โภคธรรม (2547), ร่างกายใต้บงการ (แปลบท “Les Corps Dociles” จาก Surveiller et Punir ของ Michel Foucault), กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.

ธวัช ทันโตภาส (2553), หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช.

นาถฤดี เด่นดวง (2552), อำนาจและความขัดแย้งบนร่างกายผู้หญิง สิทธิการเจริญพันธุ์ และเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นหญิง: แนวคิดสตรีนิยม, กรุงเทพฯ: รันนิ่ง พรีเพรส ซิสเต็ม.

บุญฤทธิ์ สุขรัตน์ (2557), การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น: นโยบาย แนวทางการดำเนินงาน และติดตามประเมินผล, กรุงเทพฯ: สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

บุญยงค์ เกศเทศ (2532), สถานภาพสตรีไทย, กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ประไพพิศ มุทิตาเจริญ และนิธิดา แสงสิงแก้ว (2560), “การประเมินผลความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ และทักษะการสื่อสารเรื่องเพศในสังคมไทย: บทสังเคราะห์จากความคิดเห็นของลูกหลาน วัยรุ่นและผู้ปกครอง”, วารสารศาสตร์, 10(1): 127-149.

ปรียาลักษณ์ สารทรานนท์ (2553), ชายเป็นใหญ่กับประสบการณ์การตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่น หญิง: แนวคิดสตรีนิยม, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์การแพทย์ และสาธารณสุข คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

พนิตย์ จิวะนันทประวัติ (2546), เรื่องน่ารู้...สู่ความเป็นแม่, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.

พัชราลักษณ์ สุวรรณ (2549), ปัจจัยเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่นเขตเมือง จังหวัดเชียงใหม่, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพ คณะศึกษา ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พิศุทธิภา เมธีกุล (2551), ความพึงพอใจในชีวิตของหญิงวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์, สารนิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มรกต ศรีสุข (2542), ความสัมพันธ์ระหว่างหญิงชายกับความมั่นคงทางเศรษฐกิจของผู้หญิงในครอบครัวไทย, วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาพัฒนศึกษาศาสตร์ คณะศึกษา ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ยศวดี อยู่สุข (2555), ปัญหาเชิงจิตสังคมและสิ่งแวดล้อม และการประเมินความจำเป็นด้านร่างกาย และจิตสังคมในหญิงวัยรุ่นตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์อย่างต่อเนื่องในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์: การศึกษาเฉพาะกรณีในคลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพจิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัตน์ติกาล วาเพชร และประภาศรี ปัญญาวชิรชัย (2549), ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นไทย, กรุงเทพฯ: ศูนย์สุขภาพจิตที่ 2 กรมสุขภาพจิต.

รัศมิ์ลภัส กัลยาศิลปิน (2556), การสื่อสารรณรงค์เพื่อลดปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น กรณีศึกษาโครงการ Young Love รักเป็นปลอดภัย, การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต สาขา วิชาการบริหารสื่อสารมวลชน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

แล ดิลกวิทยรัตน์ (2524), “มดลูกก็ปัจจัยการผลิต”, วารสารเศรษฐศาสตร์การเมือง, 1(3): 93-100. วาทินีย์ วิชัยยา (2556), “แม่วัยใส”: ประสบการณ์ชีวิต เพศภาวะ และเพศวิถี, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

วารุณี ภูริสินสิทธิ์ (2545), สตรีนิยม: ขบวนการและแนวคิดทางสังคมแห่งศตวรรษที่ 20, กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.

วิทิตา สุขทั่วญาติ (2551), บทเรียนที่ได้จากการสะท้อนคิดของนักเรียนหญิงที่ออกกลางคันเนื่องจากการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์, การค้นคว้าแบบอิสระปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาศึกษาและการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศิริพร จิรวัฒน์กุล และคณะ (2554), การศึกษาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น (แม่วัยใส), ขอนแก่น: ศูนย์ประสานงานองค์การอนามัยโลกด้านการ วิจัยและฝึกอบรมด้านเพศภาวะและสุขภาพสตรี มหาวิทยาลัยขอนแก่น และสำนักงาน กิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

ศิริวรรณ สุรภาพ (2552), การสื่อสารที่มีผลต่อทัศนคติต่อต้นทุนชีวิตและต่อภาวะไม่พร้อมตั้งครรภ์ของวัยรุ่นสตรี, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

สมสุข หินวิมาน (2546), ประมวลสาระชุดวิชาปรัชญานิเทศศาสตร์และทฤษฎีการสื่อสาร หน่วยที่ 6-10, นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุจิตต์ วงษ์เทศ (2560), เซ็กซ์ดึกดำบรรพ์ของบรรพชนไทย, กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.

สุนิพันธ์ ศรีสุพจนานนท์ (2557), การศึกษาข้อมูลการใช้เฟซบุ๊กของนักเรียนที่ตั้งครรภ์ก่อนวัย อันควร, การศึกษาโครงการเฉพาะเรื่องปริญญามหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

เสนาะ เจริญพร (2546), ภาพเสนอผู้หญิงในวรรณกรรมไทยช่วงทศวรรษ 2530: วิเคราะห์ความโยงใยกับประเด็นทางสังคม, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาสังคม คณะพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

หทัยทิพย์ ไชยวาที (2551), ประสบการณ์ด้านจิตใจของหญิงตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์, สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อาภัสรา เอี่ยมสำอางค์ (2555), ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดาของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขา การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กฎกระทรวง ศธ.ย้ำชัดห้ามไล่ “เด็กท้อง” ออกจาก รร.เว้นแต่มีการย้าย (2560), MGR Online, สืบค้นจาก https://mgronline.com/qol/detail/9610000102495

คณะทำงานวิชาการพัฒนาเครื่องมือการสำรวจสถานการณ์การตีตราและเลือกปฏิบัติ (2558), การตีตรา และเลือกปฏิบัติในประเทศไทย, สืบค้นจาก http://www.bangkok.go.th/upload/user/00000150/plan/300958/Overview%20S&D%20 Thailand_BMA%2030-9-2015.pdf

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร (2557), หญิงไทยอายุต่ำกว่า 20 ตั้งครรภ์ อันดับ 2 ของอาเซียนจำนวนท้องเพิ่มต่อเนื่องในช่วง 10 ปี, สืบค้นจาก http:// www.ictsilpakorn.com/ictmedia/detail.php? news_id=296#.VqY4OP mLTIU

จักษ์ พันธ์ชูเพชร (ม.ป.ป.), มิเชล ฟูโกต์: วาทกรรม อำนาจ ความรู้, สืบค้นจาก http://www.ajarnjak.com/index.php?lay=show &ac=article&Id=67616&Ntype =4.

ดนยา สุเวทเวทิน (2559), แม่วัยใสใจต้องเข้มแข็ง, สืบค้นจาก https://www.thai health. or.th/Content/32884- -คุณแม่วัยใส%20ใจต้องเข้มแข็ง.html

ท้องแล้วไง ไม่ทิ้งเรียน ไม่ทิ้งลูก? เปิดใจแม่วัยใส 19 ปี ชีวิตเลือกได้ (2560), ไทยรัฐ, สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/content/980908

ไทยพีบีเอส (ม.ป.ป.), ท้องได้ก็เรียนได้?, สืบค้นจาก https://program.thaipbs.or.th/Samanchon/episodes/55566

________. (ม.ป.ป.), ท้องไม่พร้อม ทำแท้งได้, สืบค้นจาก https://program.thaipbs.or.th/PbyP/episodes/51575.

พระครูสุนทรธรรมโสภณ (2558), Michel-Foucault, สืบค้นจาก http://www.src.mbu.ac.th/index.php/2014-06-30-09-07-44/2015-07- 03-13-56-29/269-michel-foucault

ไฟว์สตาร์โปรดักชั่น (ม.ป.ป.), กว่าจะรู้เดียงสา Till I know, สืบค้นจาก http://www.fivestar production.co.th/กว่าจะรู้เดียงสา

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการฯ (2461), เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ เล่ม 1, สืบค้นจาก http://vajirayana.org/ขุนช้างขุนแผน-ฉบับหอ พระสมุดวชิรญาณ.

________. (2461ก). เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ เล่ม 2, สืบค้นจาก http://vajirayana.org/ขุนช้างขุนแผน-ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ.

________. (2461ข), เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ เล่ม 3, สืบค้นจาก http://vajirayana.org/ขุนช้างขุนแผน-ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-01-2020