จินตกรรมมิตรภาพผ่าน “ปลาแดก” และ “สะพาน” ในความสัมพันธ์ไทย-ลาว

ผู้แต่ง

  • นิลุบล ไพเราะ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

บทคัดย่อ

                   บทความนี้ต้องการจะนำเสนอว่า ปลาร้า-ปลาแดก และสะพานมิตรภาพ ทำหน้าที่ในการสื่อสารเพื่อสร้างจินตกรรมมิตรภาพในความสัมพันธ์ไทย-ลาว โดย ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า การสื่อสารความหมายมิตรภาพของปลาร้า-ปลาแดก ได้รับการสร้างความหมายให้เป็นวิถีชีวิต แนวอยู่แนวกิน ภาพแทนความเป็น อีสาน-ลาว ของฝาก ของที่ระลึก ขณะที่สะพานมิตรภาพได้รับการสร้างความ หมายให้เป็นสัญลักษณ์แห่งมิตรภาพไทย-ลาว การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ ผลประโยชน์ด้านการค้าการลงทุน การคมนาคม การพัฒนาคุณภาพชีวิต ซึ่งโดย เปรียบเทียบนั้น ปลาร้า-ปลาแดกสามารถสื่อสารเพื่อสร้างจินตกรรมมิตรภาพได้ เข้มข้นกว่า ในขณะที่สะพานมิตรภาพสามารถสื่อสารมิตรภาพได้ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม มีข้อค้นพบจากงานที่น่าสนใจคือ แม้ว่าสะพานอาจจะสื่อสารองค์ ประกอบความเป็นมิตรภาพได้น้อยกว่า แต่ภายใต้เงื่อนไขของประวัติศาสตร์ อำนาจและผลประโยชน์ที่แตกต่างกัน ภาครัฐกลับทำให้ผู้คน (ผู้บริโภค) จดจำ ได้ว่า สะพานเป็นสัญลักษณ์แห่งมิตรภาพไทย-ลาว แม้ว่ามิตรภาพรูปแบบนี้ใน มุมกลับจะเป็น “มิตรภาพ” ที่วางอยู่บนผลประโยชน์แห่งชาติของไทยในการ สร้างความมั่นคงทางการเมืองและเศรษฐกิจก็ตาม ในขณะที่ภาคประชาสังคม สื่อสารมิตรภาพผ่านปลาร้า-ปลาแดก ในชีวิตประจำวัน และสร้างจินตกรรมให้ ผู้คน (ผู้บริโภค) รู้สึกและจดจำได้ถึงความเป็นพวกเดียวกัน แต่กระนั้นก็ตาม ภายใต้มิตรภาพในชีวิตประจำวันนี้ ก็อาจมีผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจจากการทำธุรกิจที่ขัดแย้งกันได้ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า มิตรภาพท่ามกลางผลประโยชน์และ ความขัดแย้งเป็นมิตรภาพอีกรูปแบบหนึ่งที่อยู่คู่กับความสัมพันธ์ไทย-ลาว โดย มีปลาร้าและสะพานทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารเพื่อสร้างจินตกรรม มิตรภาพตั้งแต่อดีตเป็นต้นมา 

References

กาญจนา แก้วเทพ (2547), การศึกษาสื่อมวลชนด้วยทฤษฎีวิพากษ์ (Critical Theory): แนวคิดและตัวอย่างงานวิจัย, กรุงเทพฯ: เลิฟ แอนด์ ลิฟ.

กาญจนา แก้วเทพ และสมสุข หินวิมาน (2560), สารธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับสื่อสารศึกษา, กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

กำจร หลุยยะพงศ์ (2545), “คู่รัก-คู่แค้น-คู่รักคู่แค้น: ความสัมพันธ์ของไทยกับอุษาคเนย์”, รัฐศาสตร์สาร, 23(3): 161-186.

เขียน ธีระวิทย์ และอดิสร เสมแย้ม (2544), ความสัมพันธ์ไทย-ลาวในสายตาคนลาว (รายงานการวิจัย), กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชาติชาย มุกสง (2549), “การแพทย์และการสาธารณสุขในประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย: จากวาทกรรมชน ชั้นนำสู่การตอบโต้การครอบงำอำนาจ”, ใน โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ (บ.ก.), พหุลักษณ์ทางการแพทย์กับสุขภาพในมิติสังคมวัฒนธรรม, กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยา สิรินธร (องค์การมหาชน).

ชัยพงษ์ สำเนียง (2558), “ชุมชนจินตกรรม/ความชิดเชื้อทางวัฒนธรรม: สิ่งประกอบสร้างของความเป็นชาติ”, วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ปริทัศน์, 3(1): 139-148.

ชุมพล แนวจำปา (2535), “ปลาแดกกับความมั่นคงในชีวิตของชาวอีสาน”, วารสารศิลปวัฒนธรรม, 13(4): 92-96.

ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ (2555), “ลักษณะลาว”, ใน อภิราดี จันทร์แสง (บ.ก.), ประวัติศาสตร์ นอกขนบ, กรุงเทพฯ: อินทนิล.

ธงชัย วินิจจะกูล (2552), “อ่าน Imagined Communities ของ Benedict Anderson หรือ IC ของ ‘ครูเบ็น’”, วารสารศิลปศาสตร์, 9(1): 163-193.

________. (2556), ประวัติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ. กรุงเทพฯ: อ่าน.

ธเนศ วงศ์ยานนาวา (2559), “บทความปริทรรศน์: ‘ชวนถก: ชาติ ชาติพันธุ์’ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา”, รัฐศาสตร์สาร, 37(1): 235-258.

ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ (2552), สยามประเทศไทย กับ ดินแดนในกัมพูชาและลาว, กรุงเทพฯ: มูลนิธิโตโยต้าแห่งประเทศไทย.

ปัทมา จันทร์เจริญสุข (2554), การเมืองและความเป็นการเมืองในบทพระราชนิพนธ์แปล “เวนิสวาณิช”, วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาสื่อสารมวลชน คณะวารสารศาสตร์ และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พฤกษ์ เถาถวิล (2552), “พื้นที่ของการดำรงชีวิตในการค้าชายแดน เขตแดนรัฐ พื้นที่ในระหว่าง และภูมิศาสตร์แห่งการครอบงำ/ต่อต้าน”, วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, ฉบับพิเศษ ลุ่มน้ำโขงศึกษา สายน้ำ ผู้คน ชายแดน วัฒนธรรม การค้า การเมือง: 19-65.

พัฒนา กิติอาษา (2555), “สู่วิถีอีสานใหม่”, ใน อภิราดี จันทร์แสง (บ.ก.), ประวัติศาสตร์ นอกขนบ, กรุงเทพฯ: อินทนิล.

ยศ สันตสมบัติ (2551), อำนาจ พื้นที่ และอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์: การเมืองวัฒนธรรมของรัฐชาติในสังคมไทย, กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

รุจิรา เชาว์ธรรม และคณะ (2545), ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและกลุ่มชาติพันธุ์ลาวแง้ว, เอกสารนำเสนอต่อที่ประชุมเสนอผลงานวิจัยชุด ความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคกลาง, 22 สิงหาคม 2545 ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ถนนบรมราชชนนี ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ.

วรพล พรหมิกบุตร (2534), การสื่อสารสัญลักษณ์: ธรรมชาติ พัฒนาการ ผลกระทบ, กรุงเทพฯ: อาร์ตไลน์.

วารุณี โอสถารมย์ และคณะ (2544), ลาวฮู้หยัง-ไทยรู้อะไร?: วิเคราะห์แบบเรียนสังคมศึกษา, กรุงเทพฯ: ปะลาแนดตา.

วิลุบล สินธุมาลย์ (2554), การรับรู้ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ไทย-ลาว: ผ่านแบบเรียนประวัติศาสตร์ไทยและลาวชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 (ค.ศ. 1975-2009), วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมสุข หินวิมาน (2548), “แนวคิดเรื่องภาพตัวแทน”, ใน ปรัชญานิเทศศาสตร์และทฤษฎีการสื่อสาร, นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

________. (2558), “ได้กินไข่ดาวสดๆ คาวๆ หอมๆ ฟุ้งๆ อย่าลืมบ้านทุ่งที่กินผักบุ้งแกงคั่ว”: การสื่อสารอาหารข้ามชาติในกระแสโลกาภิวัตน์, วารสารศาสตร์, 8(1): 89-118.

สมหมาย ชินนาค (2547), “‘มูน’ ไม่ใช่ ‘มูล’: วาทกรรมต่อต้านรัฐของกลุ่มชาติพันธุ์ไทย-ลาวที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อนปากมูล”, ใน วิภาส ปรัชญาภรณ์ (บ.ก.), วาทกรรมอัตลักษณ์, กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

สุจิตต์ วงษ์เทศ (2538), “กินข้าวกินปลา ปลาร้าปลาแดก อาหารยอดนิยม”, ศิลปวัฒนธรรม, 16 (10): 64-68.

________. (2559). วัฒนธรรมร่วมอุษาคเนย์ในอาเซียน, กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.

________. (2560), อาหารไทยมาจากไหน?, กรุงเทพฯ: นาตาแฮก

สุเนตร ชุตินธรานนท์ และคณะ (2557), ชาตินิยมในแบบเรียน, กรุงเทพฯ: มติชน.

ศรัณย์ วงศ์ขจิตร (2555), จินตนาการปลายด้ามขวาน: อ่าน “ภูมิศาสตร์ในจินตนาการ” ผ่านนวนิยาย จังหวัดชายแดนใต้, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศรีศักร วัลลิโภดม (2541), วัฒนธรรมปลาแดก, สกลนคร: อร่ามการพิมพ์.

ศิริพร ทองคณารักษ์ (2551), พลวัตชุมชนชายแดนไทย-ลาวในกระแสโลกาภิวัตน์, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาสังคมวิทยาการพัฒนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศิริมิตร ประพันธ์ธุรกิจ (2551), ความสัมพันธ์ไทย-ลาว ในสื่อบันเทิงไทย: ศึกษากรณีการประกอบสร้างอัตลักษณ์ความเป็นลาวจากภาพยนตร์เรื่อง หมากเตะโลกตะลึง, วิทยานิพนธ์ปริญญา ดุษฎีบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ (2543), “การเมืองของความเป็นศัตรู: แง่คิดและปัญหาบางประการในความคิดทางการเมืองของคาร์ล ชมิตท์”, รัฐศาสตร์สาร, 22(1): 98-126.

แอนเดอร์สัน, เบน (2557), ชุมชนจินตกรรม บทสะท้อนว่าด้วยกำเนิดและการแพร่ขยายของชาตินิยม, (ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, บรรณาธิการแปล), กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำรา สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

Herzfeld, M. (1997), Cultural Intimacy Social Poetics in the Nation-State, New York: Routledge.

King, I. and Smith, G. (2007), Friendship in Politics, New York: Routledge.

Lefferts, L. (2005), “Sticky Rice, Fermented Fish, and the Course of a Kingdom: The Politics of Food in Northeast Thailand”, Asian Studies Review, 29: 247-258.

Smith, A. (1995), The Ethnic Origins of Nations, Massachusetts: Blackwell.

กนกวรรณ สุทธิพร (2554), Aristotle Nicomachean Ethics, สืบค้นจาก https://tpir53.blog spot.com/2011/02/aristotle-nicomachean ethics_07.html

กบนอกกะลา REPLAY: เปิดไหปลาร้า (2549), สืบค้นจาก https://www.youtube.com/watch?v=EKserMy5Flc

ที่นี่บ้านเรา (2561), ชมโขงที่เชียงของ, สืบค้นจาก https://www.youtube.com/ watch?v=AriV17ymEZc&t=1423s.

ไทยโพสต์ (2561), ปลาร้าไทยตีตลาด ทำเงินปีละ 800 ล., สืบค้นจาก https://www.thaipost.net/ main/detail/7454

ไทยรัฐออนไลน์ (2555), สธ.ชู ‘กินปลาร้าต้ม ส้มตำแซบ’ ลดโรคมะเร็งตับในอีสาน, สืบค้นจากhttps://www.thairath.co.th/content/261920

________. (2560), ตลาดนัดประชารัฐ รุกชายแดน CLMV, สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/news/business/1029134.

ประตูสู่อีสาน (2560), วิญญาณที่ 5 ของชาวอีสาน, สืบค้นจาก https://www.isangate.com /new/winyan-5-isan.html.

พันทิป (2557), ประเทศไทยในมุมมองของ “ (คนลาว)” ชนชาติที่โดนคนไทยดูถูกมากที่สุด, สืบค้นจาก https://pantip.com/topic/31930860.

วสุกิจจ์ เหล่าอินทร์ และอรพรรณ จันทรวงศ์ไพศาล (2561), สัมภาษณ์พิเศษ: ร.ต.ต.วิรัช โตอิ้ม ในวันที่ ‘ปลาร้า’ ถูกจัดระเบียบ. สืบค้นจาก https://www.matichon.co.th/prachachuen/interview/news_935287.

วิภาวรรณ ประไวย์ (2557), วัฒนธรรมปลาแดก บ้านปากยาม แห่งลุ่มน้ำสงคราม, สืบค้นจาก https://www.allmagazine.com/ColumnDetail/allColumDetail/tabid/106/articleType/
ArticleView/articleId/3866/categoryId/95/---.asp

วิลาสินี โสภาพล (2556), อาหารพม่า: วัฒนธรรมการกินของแรงงานข้ามชาติพม่า ในบริบทจังหวัดขอนแก่น, สืบค้นจาก https://tci-thaijo.org/index.php/wh/issue/view/8074

อรรถจักร สัตยานุรักษ์ (2552), งานรีวิวหนังสือเรื่องจินตนาการชุมชนในประเทศไทย: มองจากมุมชาติพันธ์ุวรรณา (Imagining Communities in Thailand: Ethnographic Approaches), สืบค้นจาก https://journal.soc.cmu.ac.th/issue_upload/Imagining%20 Communities. pdf.

อย่าด่าลาวได้ไหม, สืบค้นจาก https://web.mail.you2repeat.com/watch/?v=h4-Rr13W1J0

Isaan In America, สืบค้นจาก https://www.youtube.com/channel/UCvsq-EbfG5ixt_wEKE4P-zDw.

MGROnline (2557ก), ร่วมฉลองครบรอบ 20 ปี “สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 1” จ.หนองคาย, สืบค้นจาก https://mgronline.com/travel/detail/9570000036759.

________. (2557ข), 3 ประเทศฉลอง 20 ปี สะพานมิตรภาพ “ไทย-ลาว”. สืบค้นจาก https://mgronline.com/local/detail/9570000038577.

________. (2560), ติ่งเกาหลีวิจารณ์ “น้ำตาล” หน้าลาว! ด้าน “แอปเปิ้ล” ถาม จะลาวจะไทย มึงจะทำไม?, สืบค้นจาก https://mgronline.com/entertainment/detail/9600000009299.

Positioning (2547), ผลิตภัณฑ์ปลาร้า: ธุรกิจเล็กพริกขี้หนู…ส่งออกปีละกว่า 20 ล้านบาท, สืบค้นจาก https://positioningmag.com/17073

ThaiPBS (2556), วิถีตลาดชายแดนไทย-ลาว เชื่อมสัมพันธ์การค้า 2 ประเทศ, สืบค้นจาก https://news.thaipbs.or.th/content/171966.

Tnews (2560), หนองคาย!! รองผู้ว่าฯ เป็นประธานเปิด “โครงการตลาดนัดประชารัฐชายแดน” แขกผู้มีเกียรติทั้งฝ่ายไทย และฝ่ายสปป.ลาว ร่วมในพิธีจำนวนมาก, สืบค้นจาก https://www.tnews.co.th/ contents/328576.

________. (2561), ครบรอบ 24 ปี! สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 1 พ่อเมืองหนองคาย...นำทุกภาคส่วนจัดกิจกรรมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ ร.9, สืบค้นจาก https://www.tnews. co.th /contents/438502.

Waymagazine (2560), ‘The Border’ คน พรมแดน รัฐชาติ, สืบค้นจาก https://way magazine.org/the_border/#ลาวมาก, สืบค้นจาก https://twitter.com/hashtag/%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8% A7%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%81

ไกรสร, อาจารย์ลาว, สัมภาษณ์, 15 มกราคม 2558.

ตำรวจลาว, รองแผนกสืบสวนสอบสวนคดีทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม, สัมภาษณ์, 15 มกราคม 2558. พนักงานโรงแรม, สัมภาษณ์, 15 มกราคม 2558.

พี่หญิง, ธุรกิจส่วนตัว ภูมิลำเนาจังหวัดนครพนม, สัมภาษณ์, 3 มีนาคม 2560.

พาณิชย์จังหวัดหนองคาย, สัมภาษณ์, 18 มกราคม 2558.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-01-2020