บทบาทของงานสื่อสารเชิงกลยุทธ์กับวาทกรรม ด้านสิ่งแวดล้อมในสื่อมวลชน
คำสำคัญ:
การสื่อสารเชิงกลยุทธ์, สิ่งแวดล้อม, วาทกรรมด้านสิ่งแวดล้อมบทคัดย่อ
บทความนี้มีเป้าหมายเพื่อชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นของของนักวิชาชีพ และนักวิชาการด้านการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ (strategic communication) ทั้ง การประชาสัมพันธ์ การสื่อสารการตลาด และการสื่อสารองค์กร ต่อการ ตระหนักถึงผลกระทบวิชาชีพต่อการประกอบสร้างความเป็นจริงเกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อม ผู้เขียนได้สังเคราะห์ข้อมูลจากการทบทวนผลการวิจัยจากหลากหลาย ประเทศที่เกี่ยวกับข่าวสิ่งแวดล้อมทั้งในแง่ของการผลิต การสื่อข่าว และ ผลของข่าวสิ่งแวดล้อมต่อสังคม ร่วมกับการค้นคว้าข้อเท็จจริงของสถานการณ์ ทางสิ่งแวดล้อมในบริบทของประเทศไทย ทำให้ได้ข้อสรุปที่ว่า เนื้อหาข่าวด้าน สิ่งแวดล้อมในประเทศไทยนั้น แฝงไว้ด้วยวาทกรรมที่สนับสนุนอุดมการณ์ ทุนนิยมเสรี และความเป็นชาตินิยม จากข้อสรุปดังกล่าวนี้ ผู้เขียนมีข้อเสนอแนะ ต่อนักวิชาชีพด้านการประชาสัมพันธ์และการสื่อสารองค์กร ได้แก่ บุคลากรที่ ทำงานงานด้านการสื่อสารกลยุทธ์ ซึ่งหมายรวมถึงงานด้านการประชาสัมพันธ์ งานสื่อสารองค์กร งานสื่อสารการตลาด ถึงความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงวิธี การนำเสนอเนื้อหาเชิงสิ่งแวดล้อมขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารเพื่อ การโฆษณาสินค้าและบริการ รวมทั้งการสื่อสารเพื่อภาพลักษณ์องค์กร การ เปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้จากพื้นฐานสำคัญสองประการ ประการแรก ได้แก่ การตระหนักต่อความรับผิดชอบเชิงวิชาชีพที่ว่าเนื้อหาเชิงสิ่งแวดล้อม ที่ผ่านการประกอบสร้างจากกระบวนการผลิตสื่อ ทั้งสื่อประชาสัมพันธ์และสื่อการตลาดนั้นมีพลังอำนาจในแง่ของการสนับสนุน “วาทกรรมทางสิ่งแวดล้อม” วาทกรรมดังกล่าวนี้เป็นส่วนสำคัญที่สนับสนุนการดำรงอยู่ของอุดมการณ์เชิง เศรษฐกิจและการเมืองแต่ละแบบในสังคมนั้นๆ ดังนั้น การใช้เรื่องราวเชิง สิ่งแวดล้อมมาประกอบเป็นจุดขายสินค้าและบริการ รวมทั้งส่งเสริมการสื่อสาร ภาพลักษณ์องค์กรนั้น แม้จะช่วยให้นักสื่อสารเชิงกลยุทธ์สามารถสร้างการรับรู้ ภาพลักษณ์ที่ดีต่อสินค้าและบริการได้อย่างประสบความสำเร็จ แต่ในขณะ เดียวกัน การประกอบสร้างความเป็นจริงเชิงสิ่งแวดล้อมดังกล่าวก็เป็นผลเชิง ลบต่อความรู้ความเข้าใจด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมของประชาชนซึ่งควรมี ส่วนร่วมในการตัดสินใจเชิงสิ่งแวดล้อมของประเทศได้ ประการที่สอง ได้แก่ ความพร้อมและทักษะในการปรับกระบวนการสื่อสารที่สอดคล้องกับบริบทที่ เทคโนโลยีการสื่อสารมีการเปลี่ยนแปลงอย่างสูง การเกิดขึ้นของเทคโนโลยี เว็บ 2.0 (web 2.0) ที่ทำให้รูปแบบเครือข่ายการสื่อสารในแนวระนาบ (decentralised communication network) เกิดขึ้นอย่างแท้จริงและว่องไว การเปลี่ยนแปลงนี้ ท้าทายบทบาทการเป็นนายประตูข่าวสาร (gatekeeper) และการเป็นผู้นำทาง ความคิดของสื่อมวลชนดั้งเดิม (traditional media) ปัจจัยนี้เพิ่มโอกาสที่เนื้อหา ด้านสิ่งแวดล้อมจะเข้าถึงผู้รับสารมากขึ้น โดยไม่ต้องอยู่ภายใต้ข้อจำกัดเดิมๆ ของสื่อมวลชนกระแสหลัก นักสื่อสารเชิงกลยุทธ์ก็ย่อมมีโอกาสในการสร้างสรรค์ กลยุทธ์การสื่อสารเชิงสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาสื่อมวลชนแบบ ดั้งเดิมได้มากขึ้น ตลอดจนสามารถสร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทาง สิ่งแวดล้อมได้ตรงจุดมากขึ้น
References
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร (2549), วาทกรรมการพัฒนา: อำนาจ ความรู้ ความจริง อัตลักษณ์ และความเป็นอื่น. กรุงเทพฯ: วิภาษา.
ดวงแก้ว เธียรสวัสดิ์กิจ (2562), “สื่อกับสิ่งแวดล้อม”, สื่อศึกษา, นนทบุรี: สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ธีรดา จงกลรัตนาภรณ์ (2554), การรณรงค์ภาวะโลกร้อนในกรุงเทพมหานคร: การวิเคราะห์กรอบ ความคิด และประสิทธิภาพของการรณรงค์, กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมฤดี นิโครวัฒนยิ่งยง (2553), จับสถานการณ์ ธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมเพื่อการวิเคราะห์รัฐธรรมนูญฯ (2550), นนทบุรี: สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย.
สุชาดา จักรพิสุทธิ์ (2557), รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ แนวทางการทำให้เกิดการเสนอข่าวเชิงสืบสวนในสื่อหนังสือพิมพ์, กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
โอฬาร โอฬารรัตน์ (2552), การวิเคราะห์เนื้อหาด้านภาวะโลกร้อนที่ปรากฏบนหนังสือพิมพ์ออนไลน์, วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชานิเทศศาสตรพัฒนาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Allan, S. (2011), News Culture, Berkshire: Open University Press.
Anderson, A. (2010), “Communication or Spin? Source-Media Relations in Science Journalism”,in Allan, S. (ed.), Journalism: Critical Issues, London: Open University Press: 188-198.
Anderson, G. (2014). Media, Environment and the Network Society, London: Palgrave.
Billett, S. (2010), “Dividing Climate Change: Global Warming in the Indian Mass Media”, Climatic Change, 99(1-2): 1-16.
Castree, N. (2010), “The Politics of Climate Change”, The Sociological Review, 58: 156-162.
________. (2013), Making Sense of Nature, New York: Routledge.
Cottle, S. (2003a), “Media Organisation and Production: Mapping the Field”, in Cottle, S. (ed.), Media Organisation and Production, London: Sage.
________. (2003b), “News, Public Relations and Power--TV Journalism and Deliberative Democracy: Mediating Communicative Action”, in News, Public Relations and Power: 153-171.
Dhiensawadkij, D. (2017), Reproducing the Politics of Climate Change: A Study of Thai Newspaper Reporting, Cardiff University.
Feldman, L. (2014), “The Mutual Reinforcement of Media Selectivity and Effects: Testing the Reinforcing Spirals Framework in the Context of Global Warming”, Journal of Communication, 64: 590-611.
Giddens, A. (2011), The Politics of Climate Change, London: Wiley.
Hansen, A. (2000), “Claims-Making and Framing in British Newspaper Coverage of the ‘Brent Spar’ Controversy”, in Allan, S. et al. (eds.), Environmental Risks and The Media. New York: Routledge.
Manning, P. (2001), News and News Sources: A Critical Introduction, London: Sage.
Motion, J. and Leitch, S. (2009), “On Foucault: A Toolbox for Public Relations”, in Øyvind, I.
and Fredriksson, M. (eds.), Public Relations and Social Theory: Key Figures and Concepts, London: Routledge.
Obermaier, M. (2008), “Deep Impact?: How Journalists Perceive the Influence of Public Relations on Their News Coverage and Which Variables Determine This Impact”, Communication Research, 45: 1031-1053.
Olausson, U. (2014), “The Diversified Nature of “Domesticated” News Discourse: The case of Climate Change in National News Media”, Journalism Studies, 15(6): 711-725.
Salathong, J. (2011), Media Coverage in the Context of Education for Sustainable Development Climate Change in Thailand’s Newspapers, Waseda University.
Sandbrand-Nisipeanu, J. (2016), Media Coverage on Climate Change: An Analysis of the Relationship between Newspaper and Government Frames, University of Kent.
Sissons, H. (2016), “Journalists versus Public Relations Practitioners: Power and Agency at a Media Conference”, Australian Journalism Review, 31.
William, A. (2014), Environmental News Journalism, Public Relations and News Sources, JOMEC.
เจษฎา ศาลาทอง (2560), “โลกร้อนในหนังสือพิมพ์ไทย- ตะเกียงส่องทางหรือกองฟางที่ไหม้ไฟ”, สืบค้นจาก https://jesssalathong.wixsite.com/salathong/articles.
Editor (2019), “Why the Guardian is changing the language it uses about the environment”. The Guardian, retrieved from https://www.theguardian.com/environment/2019/may/17/why-the-guardian-is-changing-the-language-it-uses-about-the environment.
Fahn, J. (2008), “Rescuing reporting in the global South”, retrieved from https://www.internews.org/articles/2008/20080626_nature_fahn.shtm%0AReferences.