ความจริงแท้ ความจริงลวง และ The Kuleshov Effect ในภาพยนตร์สารคดีเรื่อง บูชา

ผู้แต่ง

  • อุรุพงศ์ รักษาสัตย์ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

ภาพยนตร์สารคดี, การผลิตภาพยนตร์, การตัดต่อภาพยนตร์, ความจริง

บทคัดย่อ

                ภาพยนตร์เรื่อง บูชา (Worship) เป็นภาพยนตร์สารคดีที่มีจุดเริ่มต้น มาจากความสงสัยของผู้เขียนต่อหน้าที่ของพระสงฆ์ ในยุคสมัยที่พระสงฆ์ส่วนใหญ่ ไม่ได้ทำหน้าที่สั่งสอนเทศนา หรือทำให้เห็นถึงรูปแบบการใช้ชีวิตทางเลือกอื่นๆ ที่แตกต่างออกไปนอกจากประกอบพิธีทางศาสนาในวาระโอกาสต่างๆ รวมถึง ความสงสัยต่อวัดที่ไม่ได้มีความแตกต่างจากบ้านของฆราวาสเท่าไรนัก ต่างมี เครื่องอำนวยความสะดวกเหมือนกัน หรือบางวัดก็อาจจะมีมากกว่าด้วยซ้ำไป ต่อมาได้พัฒนาเนื้อหาของสารคดีให้กว้างขึ้นเป็นภาพรวมของสังคมไทย ผ่าน การกราบไหว้บูชาสิ่งต่างๆ ไม่เพียงแค่เรื่องที่เป็นกิจกรรมของพระสงฆ์เท่านั้น โดยนำเสนอให้เห็นมากกว่าการชี้ชัดลงไป เพื่อก่อให้เกิดการคิดและตั้งคำถาม คล้ายกับหลักความเชื่อในศาสนาพุทธ หรือกาลามสูตร ที่พระพุทธเจ้าได้กล่าวไว้ แก่พุทธศาสนิกชน ไม่ให้เชื่อสิ่งใดๆ อย่างงมงาย โดยไม่ใช้ปัญญาหรือพิจารณา ให้เห็นถึงคุณและโทษเสียก่อน
                แต่ทั้งนี้ ภาพยนตร์ได้แต่งเรื่องราวเสริมลงไปเพื่อนำเสนอความคิดเห็น ส่วนตัว ผ่านมุมกล้องและการตัดต่อที่อยู่นอกจากเหตุการณ์จริงอื่นๆ ที่ปรากฏ ให้เห็น ซึ่งเป็นรูปแบบที่ผู้วิจัยต้องการที่จะนำเสนอ ด้วยเห็นว่าคุณค่าของ ภาพยนตร์สารคดีในฐานะที่เป็นงานศิลปะควรมีความคิดเห็นของผู้สร้างมากกว่า การบันทึกความจริง
                แม้บางเหตุการณ์อาจจะดูไม่เหมาะสมในแง่ที่ทำให้ศาสนาหรือภาพลักษณ์ อันงดงามของประเทศเสื่อมเสีย แต่ด้วยเจตนาที่ต้องการเปิดเผยให้เห็น ความจริง น่าจะนำไปสู่การยอมรับและแก้ไขมากกว่าการจะไม่ลงมือทำอะไรเลย และปล่อยให้หลายสิ่งอย่างของกิจกรรมความเชื่อถูกใช้เป็นช่องทางแสวงหา ผลประโยชน์ของคนบางกลุ่ม นอกเหนือจากนั้น สิ่งที่เพิ่มเติมเข้ามาระหว่างการ ถ่ายทำบางเหตุการณ์ ก็ไม่ได้ทำให้ถึงกับสิ้นหวังเสียเลยทีเดียว ยังมีด้านที่สวยงาม ของการบูชาบางแห่งด้วยเช่นกัน แต่เป็นการมองในฐานะที่เป็นประเพณีและ วัฒนธรรมที่ทำหน้าที่รวมผู้คนชุมชนเข้าไว้ด้วยกันได้อย่างดีแบบสันทนาการใน ชุมชน ไม่ใช่เป็นการมองในแง่ของพิธีกรรมทางศาสนาแต่เพียงอย่างเดียว แม้ว่า การจัดงานในปัจจุบันมักจะรวมทั้งสองด้านเข้าไว้ด้วยกัน จนแยกแทบไม่ออกแล้ว ก็ตาม 

References

ปัทมา สุวรรณภักดี (2555), องค์ประกอบในการเล่าเรื่องของภาพยนตร์สารคดี, กรุงเทพฯ: คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บรรจง โกศัลวัฒน์ (ม.ป.ป.), ภาพยนตร์สารคดี (เอกสารอัดสำเนา).

McGrail, L. (2018), What Is the Kuleshov Effect?, retrieved from https://www.lightsfilm-school.com/blog/what-is-the-kuleshov-effect-agj

Robertson, Z. (2016), Hybrid Film, Blending Fact and Fiction, and the Act of Memory as Authenticity, retrieved from https://povmagazine.com/articles/view/hybrid-film www.dhammathai.org

Bear (2557), Disney nature and Walt Disney Studios Motion Pictures.

Baraka (2535), Magidson Films and The Samuel Goldwyn Company.

Honeyland (2562), Trice Films, Apolo Media and Neon Dogwoof.

กาล (March of Time) (2542), ปลาเป็นว่ายทวนน้ำ สตูดิโอ.

วันที่ยาวนาน (The Longest Day) (2549), ปลาเป็นว่ายทวนน้ำ สตูดิโอ.

ทะเลของวินัย (2551), โอเวชั่น สตูดิโอ.

สวรรค์บ้านนา (Agrarian Utopia) (2552), เอกตร้า เวอจิ้น.

เพลงของข้าว (The Song of Rice) (2557), เอกตร้า เวอจิ้น.

น้ำวน (Whirlpool) (2563), ThaiPBS.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-05-2020