หนังโป๊: สื่อไร้สาระที่มีสาระ

ผู้แต่ง

  • ปิยะพงษ์ อิงไธสง คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

หนังโป๊, วัฒนธรรมประชานิยม, ทฤษฎีวิพากษ์

บทคัดย่อ

                บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อชี้ให้เห็นว่า ในพื้นที่หนังโป๊ซึ่งเป็น ส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมประชานิยม (popular culture) สามารถศึกษาและ วิเคราะห์ได้เช่นเดียวกับผลผลิตทางวัฒนธรรมประชานิยมในรูปแบบอื่น บทความ นี้จะนำเสนอสถานภาพและทบทวนข้อถกเถียงในแง่มุมของการศึกษาหนังโป๊ ซึ่งมิใช่เป็นการศึกษาในลักษณะบทความวิจัย กล่าวคือ บทความนี้จะมุ่งเน้น ไปที่การวิเคราะห์หนังโป๊โดยอาศัยมุมมองเชิงวิพากษ์ (critical approaches) เป็นหลัก อันได้แก่ มุมมองด้านสตรีนิยม วัฒนธรรมศึกษา เพศสถานะศึกษา เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงหน้าที่ และมุมมองที่แตกต่าง ไปจากยุคการศึกษาหนังโป๊ในมิติด้านโครงสร้างหน้าที่ของสื่อ (functionalism) เช่น การศึกษาประเด็นเรื่องการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากหนังโป๊ การ ศึกษาทางจิตวิทยาแบบผลกระทบจากการใช้หนังโป๊ (impact theory) เช่น การ ตั้งคำถามว่า สื่อโป๊ทำให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบ หรือเป็นผลบวกด้านจิตบำบัด และแบบแนวคิดบรรทัดฐาน (normative theory) เช่น การพิจารณาสื่อโป๊ว่า ทำให้เกิดความเบี่ยงเบนไปจากบรรทัดฐานของสังคมที่กำหนดเรื่องเพศวิถีของ มนุษย์เอาไว้ การวิเคราะห์องค์ประกอบหนังโป๊ (elements of porn) เป็นการ วิเคราะห์ในแนวทางเดียวกันกับการวิเคราะห์ภาพยนตร์ โดยใช้กรอบทฤษฎีเชิง วิพากษ์เข้ามาอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น สามารถชี้ให้เห็นได้ว่า รหัสความหมาย ในแต่ละองค์ประกอบที่อยู่ในหนังโป๊แสดงให้เห็นถึงการเป็นพื้นที่ต่อสู้ เช่นเดียวกับวัฒนธรรมประชานิยมในรูปแบบอื่น

References

นิธิ เอียวศรีวงศ์ (2545), ว่าด้วยเพศ ความคิด ตัวตน และอคติทางเพศ: ผู้หญิง เกย์ เพศศึกษา และกามารมณ์, กรุงเทพฯ: มติชน.

ปิยะพงษ์ อิงไธสง (2562), หนังโป๊เกย์ญี่ปุ่น: การประกอบสร้างความหมายความเป็น “เควียร์” และการอ่านความหมายของผู้ชม,

วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาสื่อสารมวลชน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วชิราธร ภุมรินทร์ (2551), ปัจจัยที่มีผลต่อการปราบปรามสื่อลามกอนาจารบนอินเทอร์เน็ต: ศึกษาเฉพาะกรณีสำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำนักงานตำรวจแห่งชาติ, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารงานวัฒนธรรม คณะสังคมสงเคราะห์ ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุระ ศรีศศิ (2550), แบบแผนการบริโภคสื่อทางเพศของผู้ชายและผู้หญิง, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาสื่อสารมวลชน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

สมสุข หินวิมาน (2557), “ทฤษฎีสำนักวัฒนธรรมศึกษา”, ใน ปรัชญานิเทศศาสตร์และทฤษฎีการสื่อสาร: ประมวลชุดวิชา (เล่ม 2, หน่วยที่ 6-10), นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.

Amaro, H. et al. (2001), “Women’s Sexual Health: The Need for Feminist Analyses in Public Health in The Decade of Behavior”, Sage Journal, 25(4): 324-334.

Baker, M. (2013), “Gender and BDSM Revisited: Reflections on a decade of Researching King Communities”, Psychology of Woman Section Review, 15(2): 20-28.

Bakhtin, M. (1965), Rebelais and His World, translated by Helene Iswolsky, Bloomington: Indiana University Press.

Brand, M. et al. (2016), “Ventral Striatum Activity When Watching Preferred Pornographic Pictures Is Correlated with Symptoms of Internet Pornography Addiction”, Neuroimage, 129(1): 224-232.

Butler, J. (1990), Gender Trouble: Feminist and Subversion of Identity, New York: Routledge.

Crosson, C. (1998), “The Sex Censors”, International Viewpoint, 298: 23-24.

Emmanuel, N. (2018), “Pornification: The Changing Culture of Sex and Sexual Behaviour amongst Young Persons in Rivers State”, South Journal of Culture and Development, 20(2).

Fiske, J. (2010), Understanding Popular Culture, London: Routledge.

George, M. et al. (2019), “Psychosocial Aspects of Pornography”, Journal of Psychosexual Health, Karnataka Sexual Sciences Academy, 1(1): 44-47.

Hall, S. (2018), “Popular Culture, Politics and History”, Journal Cultural Studies, 32(6): 929-952.

Kutchinsky, B. (1973), “The Effect of Easy Availability of Pornography on the Incidence of Sex Crimes: The Danish Experience”, Journal of Social Issues, 29(3): 163-181.

Lehman, P. (2006), Pornography: Film and Culture, London: Rutgers University Press.

McKee, A. (2014), “Humanities and Social Scientific Research Methods in Porn Studies”, Journal Porn Studies, 1(1-2): 53-63.

Mercer, J. (2017), Gay Pornography: Representations of Sexuality and Masculinity, London: I.B. Tauris.

Paul, P. (2006), Pornified: How Pornography Is Damaging Our Lives, Our Relationships, and Our Families, London: St. Martin's Press.

Schick, V. et al. (2008), “Safer, Better Sex Through Feminism: The Role of Feminist Ideology in Women's Sexual Well-Being”, Sage Journal, 32(3): 225-232.

Sedgwick, E. (1990), Epistemology of the Closet. Berkeley, Calif.: University of California Press.

Smidt, T. (2011), Pornography as Work Culture and Cultural Phenomenon, Reykjavíkurborg.

William, L. (1989), Hard Core: Power, Pleasure, and the “Frenzy of the Visible”, Berkeley: University of California Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2020