การประเมินผลการสื่อสารทางสังคม สำนักงานสุขภาพ แห่งชาติ พ.ศ. 2562
คำสำคัญ:
สื่อสารทางสังคม, สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ สช.บทคัดย่อ
บทความเรื่องนี้มาจากส่วนหนึ่งของรายงานผลโครงการประเมินผลการ สื่อสารทางสังคม สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2562 โดยมี จุดประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ข่าวสาร ความเข้าใจ ทัศนคติ ของกลุ่มเป้าหมาย ต่อสื่อต่างๆ ของสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) วิธีดำเนินการ ประเมินผลมี 2 รูปแบบ ได้แก่ (1) การวิจัยเชิงปริมาณ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง ทั่วประเทศที่เคยเปิดรับสื่อของสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จำนวน 400 ตัวอย่าง โดยการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามทางออนไลน์ และ การแจกแบบสอบถามให้ตอบเอง และ (2) การวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาจากการ สัมภาษณ์กลุ่ม (focus group) จำนวน 6 คน คัดเลือกผู้ร่วมสนทนากลุ่มมาจาก ภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคประชาสังคม
ผลการศึกษาทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพมีความสอดคล้องกัน และ นำไปสู่ข้อเสนอแนะในการพัฒนางานสื่อสารของ สช. ใน 6 ด้านหลัก ได้แก ่ (1) ด้านการนำเสนอเนื้อหา ควรเพิ่มประเด็นที่ทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน ปรับ เนื้อหาให้เกี่ยวข้องกับประชาชนและชุมชนมากขึ้น ปรับภาษาให้เข้าใจง่าย ลดการ มุ่งเน้นประชาสัมพันธ์องค์กร รวมทั้งเพิ่มเนื้อหาที่สร้างการมีส่วนร่วมและส่งเสริม การแลกเปลี่ยนกับประชาชน (2) ด้านศิลปกรรมและรูปแบบการนำเสนอ ควร ปรับปรุงรูปแบบสื่อ ใช้เทคนิคที่น่าสนใจ เช่น อินโฟกราฟิก คลิป ป็อปอัพ ฯลฯ ออกแบบโครงสร้างในสื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน รวมทั้งจัดหมวดหมู่เนื้อหาในแต่ละ ส่วนให้มีความเป็นเอกภาพและครอบคลุม (3) ด้านช่องทางและการเผยแพร่ ควร บูรณาการช่องทางการเผยแพร่ให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและยุทธศาสตร์การ สื่อสารขององค์กร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงสื่อ สช. ของกลุ่มเป้าหมาย (4) ด้านกลุ่มเป้าหมาย ต้องกำหนดกลุ่มเป้าหมายในการสื่อสารให้ชัดเจน และ เลือกช่องทางหรือเนื้อหาที่สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายนั้นๆ รวมทั้งควรมีการ ขยายเครือข่ายไปสู่กลุ่มใหม่ๆ ที่มีศักยภาพ เช่น กลุ่มนักเรียนนักศึกษา กลุ่ม สื่อมวลชนท้องถิ่น ฯลฯ (5) ด้านการสื่อสารองค์กร ควรพิจารณาถึงการสร้าง อัตลักษณ์แก่สื่อทั้งหมดให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนเชื่อมโยง ได้ว่าเป็นสื่อของ สช. รวมทั้งพิจารณาการตั้งชื่อสื่อออนไลน์ให้น่าสนใจ เข้าใจง่าย และง่ายต่อการจดจำ และ (6) ด้านการบูรณาการงานของ สช. กับหน่วยงาน พันธมิตรอื่นๆ โดยเสริมสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำให้ ประชาชนเห็นฟันเฟืองทั้งหมดว่า สช. อยู่ในตำแหน่งไหน และมีภารกิจอะไรบ้าง ในงานสาธารณสุขของประเทศ
References
กาญจนา แก้วเทพ (2552), การวิเคราะห์สื่อ: แนวคิดและเทคนิค, กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
จัตุรถา ยืนยงสุวรรณ (2558), ทัศนคติ การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจที่มีต่อเว็บไซต์เพื่อการสื่อสาร, ศูนย์มาตรฐานรหัสและข้อมูลสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.
โชติหทัย นพวงศ์ (2542), การติดตามข่าวสารกับความพึงพอใจในการสื่อสารและการทำงานของพนักงานเครือซิเมนต์ไทยในช่วงการปรับโครงสร้างธุรกิจ, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐธริสสา ทรัพย์คงเจริญ (2557), การเปิดรับข่าวสาร ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ในโครงการปฏิบัติการคืนพื้นผิวจราจรเพื่อประชาชนตาม ‘นโยบาย 5 จริง’ ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชา นิเทศศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
เบญจมาภรณ์ ภิญโญพรพาณิชย์ (2554), คู่มือการปฏิบัติงานส่ือสารประชาสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค,กรุงเทพฯ: โอ-วิทย์ (ประเทศไทย).
ปรมะ สตะเวทิน (2539), การสื่อสารมวลชน: กระบวนการและทฤษฎี, กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
ศรันถ์ ยี่หลั่นสุวรรณ (2558), การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และแนวโน้มพฤติกรรมที่มีต่อโครงการส่งเสริมสังคมของผู้นำเยาวชนประเทศอาเซียนและญี่ปุ่นผ่านช่องทางเฟซบุ๊ก (Facebook), วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาสื่อสารมวลชน คณะวารสารศาสตร์ และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศิริวรรณ ว่องวีรวุฒิ และบุณฑริก ศิริกิจจาขจร (2553), “ทัศนคติและพฤติกรรมในการจัดการทางการเงินส่วนบุคคลของนักศึกษาปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ”,BU Academic Review, 9(2).
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (2560), แผนงานหลักสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ รองรับการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ฉบับที่ 3 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560-2564), กรุงเทพฯ: เอ็ม. ที. พริ้นท์.
สุรพงษ์ โสธนะเสถียร (2533), การสื่อสารกับสังคม, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.หนึ่งหทัย ขอผลกลาง และกิตติ กันภัย (2553), “งานวิจัยด้านการสื่อสารสุขภาพ: กลไกในการพัฒนาสังคม”, วารสารเทคโนโลยีสุรนารี, 4(1): 65-77.
อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว (2561), สื่อศาสตร์, กรุงเทพฯ: นาคร.
กระทรวงสาธารณสุข (2559), “แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข)”, สืบค้นเมื่อ9 พฤษภาคม 2562 จาก https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2017/20171117-MinistryofPublicHealth.pdf
บุษบา หินเธาว์ (2556), เอกสารประกอบการสอน “การสื่อสารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น” (Com-munication in Rural Development) ใน E-learning, สืบค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2562 จาก http://elearning.psru.ac.th/courses/153/lesson3finished.pdf
พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 (2550), สืบค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2562 จาก http://pcmc.swu.ac.th/EC/document/form/dw_form4/17.pdf
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (2558ก), “รู้จัก สช.”, สืบค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2562 จาก https://www.nationalhealth.or.th/it-is-all-about-us
________. (2558), “ภารกิจ”, สืบค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2562 จาก https://www.nationalhealth.or.th/index.php