ปัจจัย กระบวนการ ผลลัพธ์ และผลกระทบ จากการดำเนินโครงการเพื่อสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม โดยใช้แนวคิดการวิจัยเพื่อท้องถิ่นของบริษัทปูนซิเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด
คำสำคัญ:
การสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม, การวิจัยเพื่อท้องถิ่นบทคัดย่อ
บทความเรื่อง “ปัจจัย กระบวนการ ผลลัพธ์ และผลกระทบ จากการ ดำเนินโครงการเพื่อสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมโดยใช้แนวคิดการวิจัยเพื่อท้องถิ่น ของบริษัทปูนซิเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด” เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง การสังเคราะห์ชุดความรู้การดำเนินโครงการเพื่อสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) โดยใช้การวิจัยเพื่อท้องถิ่น (CBR) ขับเคลื่อนฯ เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติ การแบบมีส่วนร่วม เพื่อตอบวัตถุประสงค์การศึกษาว่าด้วยปัจจัย กระบวนการ ผลลัพธ์ และผลกระทบ จากการดำเนินโครงการเพื่อสร้างความรับผิดชอบต่อ สังคม โดยใช้การวิจัยเพื่อท้องถิ่นขับเคลื่อนฯ ทำการศึกษากลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก 18 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การ สนทนากลุ่ม การอบรมเชิงปฏิบัติการ และการจัดเวทีคืนข้อมูล
ผลการศึกษาพบว่า
1. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการ CSR ที่ใช้แนวคิดการวิจัย เพื่อท้องถิ่นของปูนลำปางมี 4 ปัจจัยหลัก ได้แก่ โครงสร้างองค์กร คน ระบบ และกลไก และบริบทแวดล้อม
2. กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการ CSR ที่ใช้แนวคิดการวิจัยเพื่อท้องถิ่นประกอบด้วย 4 ประเด็น คือ บทบาทพี่เลี้ยง บทบาทชาวบ้าน วิธีการทำงาน และเครื่องมือการทำงาน
3. ผลลัพธ์ของการดำเนินโครงการ CSR ที่ใช้แนวคิดการวิจัยเพื่อท้องถิ่นมี 3 ระดับ ได้แก่ ผลลัพธ์ระดับบุคคล ผลลัพธ์ระดับชุมชน และผลลัพธ์ระดับ นโยบายขององค์กร
4. ผลกระทบของการดำเนินโครงการ CSR ที่ใช้แนวคิดการวิจัยเพื่อท้องถิ่น จำแนกเป็น 4 ด้าน คือ ผลกระทบต่อตัวคน ผลกระทบต่อชุมชน ผลกระทบ ต่อองค์กรปูนลำปาง และผลกระทบต่อสังคม
ความสำเร็จในการขับเคลื่อนโครงการเกิดจากการนำทุนของทุกฝ่ายที่มี อยู่มาบูรณาการร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นทุนเศรษฐกิจ ทุนสังคม ทุนวัฒนธรรม หรือ ทุนสัญลักษณ์ โดยองค์กรธุรกิจมีวิสัยทัศน์เรื่องการสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม ที่มุ่งเป้าไปสู่ความยั่งยืน จึงมีการกำหนดเป็นนโยบายและนำไปสู่การวางแผนและ ลงมือปฏิบัติอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง มีการนำแนวคิดการวิจัยเพื่อท้องถิ่นมา ปรับใช้ในการดำเนินงานด้าน CSR ส่งผลให้โครงการ CSR ที่ดำเนินการสามารถ สร้างกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ทำให้คนในชุมชนทำงานบนฐานข้อมูล เพื่อแก้ไขปัญหาของชุมชนได้จริง
References
กฤชณัท แสนทวี (2553), ความคาดหวังของประชาชนต่อความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
กาญจนา แก้วเทพ (2552), 8 ปีของงานภาคกลาง/ตะวันตก/ตะวันออก ใน 10 ปี แห่งงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น (CBR), กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น(เอกสารอัดสำเนา).
บุษยากร ตีระพฤติกุลชัย (2553), กระบวนการสื่อสารเพื่อปรับแปลงความหมายในพิธีกรรมงานศพ,วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิสชา สมบูรณ์สิน (2553), กระบวนการประชาสัมพันธ์กิจกรรมแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของSCG ที่มีส่วนร่วมของสื่อมวลชน, วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วริษา จิตใหญ่ และคณะ (2556), ฟื้นฟูและอนุรักษ์วิถีการบริโภคอย่างยั่งยืนบ้านแป้นใต้ หมู่ 6 ต.บ้านสา อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง, กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
สายทิพย์ โสรัตน์ (2551), หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกประเด็นทางสังคมเพื่อการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ, วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขา วิชาการจัดการสำหรับการเป็นผู้ประกอบการ บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
Kotler, P. and Lee, N. (2005), Corporate Social Responsibility, USA: John Wiley & Sons.
Kotler, P. and Lee, N. (2009), Up and Out of Poverty, USA: Wharton School Publishing.