นวัตกรรมการสื่อสารกับการเคลื่อนไหวทางสังคมในวาระ เรื่อง “ข้าว”

ผู้แต่ง

  • เมทยา ปรียานนท์ นักศึกษาปริญญาเอกดุษฎีบัณฑิต (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

คำสำคัญ:

การเคลื่อนไหวทางสังคม, นวัตกรรมการสื่อสาร, ข้าว

บทคัดย่อ

                การศึกษาในเรื่องของการเคลื่อนไหวทางสังคม (social movement) ได้ มีการถูกพูดถึงและศึกษากันมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ในบทความน้ี มุ่งเน้นที่จะยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในเมืองไทย และวิเคราะห์ถึง การเคลื่อนไหวทางสังคมในยุคปัจจุบัน ที่มีการใช้อินเทอร์เน็ตเข้ามาเป็นเครื่องมือ ในการผลักดันให้เกิดอำนาจทางการต่อรองของพลวัตร ซึ่งจะทำให้เกิดการ เคลื่อนไหวที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสังคม ให้เป็นไปในทิศทางท่ีคนกลุ่มน้ัน ปรารถนา
                บทความชิ้นนี้มีจุดประสงค์ที่จะทบทวนบทบาทการเคลื่อนไหวทางสังคม ผ่านการใช้นวัตกรรมการสื่อสารหรือสื่อสังคมออนไลน์ ที่เข้ามาเป็นตัวกลาง ในการแสดงพลังในกรณีที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง “ข้าว” ซึ่งถือเป็นอาหารหลักของ คนไทย ประเทศไทยมีการปลูกข้าวอย่างมากมายตั้งแต่อดีต เพื่อส่งขายให้กับ ทั้งในและต่างประเทศ แต่ในบางปี “ข้าว” และ “ชาวนา” ก็ต้องพบกับสภาวะ วิกฤติ ทั้งในเรื่องของราคาข้าวตกต่ำ ปัญหาพ่อค้าคนกลางหรือนายทุนที่รับซื้อ ข้าวจากชาวนาในราคาที่ไม่เป็นธรรม หรือแม้กระทั่งภัยแล้งที่ทำให้ผลผลิตข้าว ต่อไร่ลดลง ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ทำให้ชาวนาได้รับความเดือนร้อนเป็นอย่างมาก ด้วยความที่ไม่มีอำนาจในการต่อรองใดๆ ราคาขายของข้าวสารจึงตกไปอยู่ใน อำนาจของกลุ่มคนเพียงบางกลุ่ม ที่จะตั้งราคารับซื้อข้าวสารได้ตามที่กลุ่มของ ตนต้องการ บทความฉบับนี้จึงได้หยิบยกเหตุการณ์และภาวะวิกฤติในเรื่องราคา 
                 ข้าวตกต่ำในประเทศไทย ที่สร้างผลกระทบโดยตรงกับชาวนา จนกระทั่งชาวนา ทนต่อแรงกดดันที่จะต้องขายข้าวที่มีราคาต่ำจนเกินไปไม่ไหว จึงทำการรวมตัว กันเป็นกลุ่มก้อน เพื่อสร้างอำนาจการต่อรองทางสังคมเพื่อลุกขึ้นมาต่อสู้กับ กลุ่มพ่อค้าคนกลาง และเรียกร้องให้รัฐบาลเข้ามาร่วมช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งในอดีตได้มีกลุ่มผู้ชุมนุมชาวนาถึงขั้นเอารถไถนาออกมารวมตัววิ่งบนถนน หลวงประท้วง ทั้งในพื้นที่ที่อยู่ในต่างจังหวัด หรือแม้กระทั่งม็อบที่เคลื่อนพลเข้า ประท้วงถึงในกรุงเทพมหานคร ในหลากหลายเหตุการณ์ หลายยุค หลายสมัย การเคลื่อนไหวทางสังคมในเรื่องข้าวแบบเดิมที่ชาวนาไทยได้เผชิญในอดีตได้ เปลี่ยนแปลงไป เมื่อมีนวัตกรรมการสื่อสารเข้ามาเป็นเครื่องมือช่วยในการเผย แพร่ปัญหา และรวบรวมพลังอำนาจเล็กๆ ที่กระจัดกระจายอยู่ทุกหนแห่ง รวม เข้ามาเป็นพลังที่จะช่วยผลักดันและสร้างอำนาจการต่อรองให้มีมากยิ่งขึ้น ชาวนา ไทยมิได้ต่อสู้เพียงลำพังอีกต่อไป การเคลื่อนไหวทางสังคมในวาระเรื่องข้าวในยุค สมัยนี้ ไม่ได้มีผู้เกี่ยวข้องเพียงแค่ชาวนาไทยหรือลูกของชาวนาเท่านั้น แม้กระทั่ง บุคคลทั่วไปที่ดูเหมือนจะอยู่ห่างไกลจากปัญหานี้ ไม่ได้มีส่วนในการปลูกข้าวหรือ ขายข้าว หลายคนที่ได้รับรู้เกี่ยวกับปัญหาต่างๆ เหล่านี้ผ่านทางออนไลน์ไม่ได้นิ่ง ดูดาย แต่พยายามช่วยกันเคลื่อนไหวและแสดงพลังที่จะช่วยแก้ไขปัญหาเพื่อสร้าง อำนาจในการต่อรอง โดยใช้พลังของการเคล่ือนไหวทางสังคมผ่านนวัตกรรมการ สื่อสารบนโลกออนไลน์นั่นเอง

References

กาญจนา แก้วเทพ (2539), “ความหมายและนัยสำคัญของสังคมสารสนเทศตามทัศนะนักอนาคตศาสตร์”, ใน กาญจนา แก้วเทพ (บ.ก.), สื่อส่องวัฒนธรรม, กรุงเทพฯ: มูลนิธิภูมิปัญญา.

________. (2541), การวิเคราะห์สื่อ: แนวคิดและเทคนิค, กรุงเทพฯ: พิมพ์ลักษณ์.

กาญจนา แก้วเทพ และ นิคม ชัยขุนพล (2555), คู่มือสื่อใหม่ศึกษา, กรุงเทพฯ: โครงการเมธีวิจัยอาวุโส สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร (2542), วาทกรรมการพัฒนา: อำนาจ ความรู้ ความจริง เอกลักษณ์ และความเป็นอื่น, กรุงเทพฯ: วิภาษา.

ทิฆัมพร เอี่ยมเรไร (2556), การใช้ทฤษฎีวิพากษ์ในงานวิจัย: มาร์กซิสม์และแนวคิดพื้นฐาน, เอกสารประกอบการบรรยายรายวิชาสัมมนาการสื่อสาร 5, พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว (2555), “การสื่อสารผ่านสื่อใหม่ในยุคสังคมสารสนเทศ”, อิศราปริทัศน์ Media Review, 1(2): 80-91.

McLuhan, M. (1964), Understanding Media: The Extensions of Man, New York: New American Library.

กรุงเทพธุรกิจ (2563), “ชีพจรส่งออกข้าวปี 63 แผ่ว ปมราคาทะยานทิ้งห่างคู่แข่ง”, สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2563 จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/864563

คม ชัด ลึก, (2559), “ลูกชาวนา ได้เวลาช่วยพ่อ ระดมสมองแก้ราคาข้าวตกต่ำ”, สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2563 จาก http://www.komchadluek.net/news/regional/247356

ครอบครัวข่าว 3 (2559), “เปิดโมเดลลูกชาวนาช่วยขายข้าว”, สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2563 จาก http://1ab.in/r3Z

คิงคองเป็นคนแดก (2563), “#มึงจะปล่อยให้ข้าวดีๆ ของเรา ถูกต่างชาติเเดกหมดรึไงวะไอสัส”, สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2563 จาก https://www.facebook.com/KongLovesEat/posts/601741960718744

จั๊กจั่น-อคัมย์สิริ สุวรรณศุข (2559), “ในวันนี้ที่ชาวนาขายข้าวหอมมะลิได้กิโลนึงถูกกว่าชานมไข่มุก ข้าวเปลือกกิโลนึงได้ราคาถูกกว่าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป...ใช้พื้นที่ได้เต็มที่เลยเดี๋ยวจั่นกับเพื่อนๆ จะอุดหนุนด้วยค่ะ”, สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2563 จาก https://www.instagram.com/p/BMT10xKA6mo/?utm_source=ig_embed

ชาญพิทยา ฉิมพาลี (2559), “สถิติและแนวโน้มพื้นที่ปลูกข้าวของประเทศไทย”, สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2563 จาก http://www.thairice.org/doc_dl/seminar-29Oct13/3-powerpoint(K.Chanpitaya).pdf

ชาวนาขายข้าวเอง (2563), สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2563 จาก https://www.e-ricethaifarmers.com/

ณัฐวุฒิ สกิดใจ (2559ก), “กลับทางๆ ก็เขียนความต้องการมานะครับ ว่าใครที่ต้องการข้าวแบบไหน อย่างไร...ฝากเบอร์โทร หรือ ไอดีไลน์ ไว้ด้วยนะครับ จะได้ติดต่อกันได้”, สืบค้น เมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2563 จาก https://www.instagram.com/p/BMOZAwNgVx1/?utm_source=ig_embed

________. (2559ข), “แท็กมาเลย ผมไม่ลบทิ้ง เฟสบุ๊ค ไอจี ได้หมดขอแค่พี่ๆ ชาวนาช่วยรักษาคุณภาพข้าวให้ผู้บริโภคได้ทานข้าวอร่อยๆ นะครับ ช่วยกันครับ #รับฝากชาวนาขาย ข้าวเอง”, สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2563 จาก https://www.instagram.com/p/BMOCcabAo-d/?utm_source=ig_embed

ไทยรัฐออนไลน์ (2554), “ข้อดีข้อเสียระหว่างโครงการประกันรายได้และโครงการจำนำข้าว”, สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://www.thairath.co.th/infographic/8

________. (2559ก), “ชาวนาขายข้าวออนไลน์ ไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง”, สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2563 จาก http://www.posttoday.com/social/think/468658

________. (2559ข), “เปิดโมเดลลูกชาวนาช่วยขายข้าว”, สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2563 จาก http://www.thairath.co.th/clip/82882

นภัสกร กรวยสวัสดิ์ (2559), “ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์”, สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/jiskku/article/viewFile/6226/5436

นิตยสาร OK! Magazine Thailand (2559), “‘คนไทยไม่ทิ้งกัน’ ดาราไทยน้ำใจงาม รวมพลังช่วยชาวนาขายข้าว”, สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2563 จาก http://www.okmagazine-thai. com/dara-help-farmers/

บัวขาว บัญชาเมฆ (2559), “จากหัวใจลูกชาวนา ‘บัวขาว บัญชาเมฆ’”, สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2563 จาก http://www.posttoday.com/social/think/468658

ปิยวัฒน์ เกตุวงศา และศุทธิดา ชวนวัน (2557), “ใครเป็นใครบนเครือข่ายสังคมออนไลน์:ความหลากหลายทางคุณลักษณะและพฤติกรรม”, สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2563 จาก http://www.ms.ipsr.mahidol.ac.th/ConferenceXI/Download/Book/447-IPSR-Conference-A02- fulltext.pdf

ผูกปิ่นโตข้าว (2563ก), สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2563 จาก https://web.facebook.com/pookpintokao/?ref=page_internal

________. (2563ข), “ผูกปิ่นโตข้าวคืออะไร”, สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2563 จาก http://pookpin-tokao.com/?p=10088

ผู้จัดการรายวัน (2559ก), “ข้าวเปลือกราคาดิ่งเหวต่ำสุดรอบ 10 ปี”, สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2563 จาก https://mgronline.com/daily/detail/9590000107719

________. (2559ข), “เร่เข้ามา! ข้าวลูกชาวนา ‘ขายข้าวตรง’ ส่งถึงมือผู้บริโภค”, สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2563 จาก http://www.manager.co.th/Weekend/ViewNews.aspx?NewsID=9590000115691

โพสต์ทูเดย์ (2561), “ทีดีอาร์ไอชงรัฐปรับนโยบายข้าว”, สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2563 จาก https://www.posttoday.com/economy/news/574703

ภัทราวดี ธีเลอร์ และกรทักษ์ ธาดาธีรธรรม (2559), “แนะนำ Pinterest สื่อใหม่กับการเรียนการสอนยุคศตวรรษที่ 21”, สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2563 จาก http://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/oct_dec_12/pdf/aw018.pdf

วชิรวัชร งามละม่อม (2558), “ทฤษฎีขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม”, สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2563 จาก http://learningofpublic.blogspot.com/2015/09/blog-post_42.html

วิยะดา ฐิติมัชฌิมา (2559), “เครือข่ายสังคมออนไลน์: แนวโน้ม ปรากฏการณ์ และจริยธรรม”, สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2563 จาก http://www.bu.ac.th/knowledgecenter/execu-tive_journal/oct_dec_10/pdf/aw22.pdf

สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย (2563), “Rice Export Quantity and Value”, สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2563 จาก http://www.thairiceexporters.or.th/statistic_2016.html

สำนักข่าวชายขอบ (2559), “ชวนลูกชาวนาร่วมกิจกรรมขายตรงแก้ปัญหาราคาข้าวตกต่ำ ดร.เดชรัตน์ เตรียมอบรม-ใช้สถาบันการศึกษาเป็นฐาน รณรงค์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ได้รับความ สนใจคึกคัก”, สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2563 จาก https://transbordernews.in.th/home/?p=14927

สุวิดา ธรรมมณีวงศ์ (2559), “การเคลื่อนไหวทางสังคม 1”, สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2563 จาก http://www.arts.su.ac.th/document/suwida/001.pdf

โสภณ องค์การณ์ (2559), “ต้องกำจัด ‘ทุกข์ของแผ่นดิน’”, สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2563 จาก http://www.manager.co.th/AstvWeekend/ViewNews.aspx?NewsID=9590000110393

dekchaiton, (2557), “ม็อบชาวนา 5 จังหวัด ปิดถนนเอเชีย นครสวรรค์ ทวงเงินจำนำข้าว”, สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2563 จาก https://hilight.kapook.com/view/96840

eukeik.ee Marketeer (2563), “สถิติประชากรเน็ตโลก 2020”, สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2563 จาก https://marketeeronline.co/archives/143663

Narongyod Mahittivanicha (2563), “สถิติและพฤติกรรมผู้ใช้งาน Internet Q1 ปี 2020 ทั่วโลก (รวมประเทศไทย”, สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2563 จาก https://www.twfdigital.com/blog/2020/02/global-digital-usage-stat-q1-2020/

Nattapon Muangtum (2563), “วิเคราะห์ Digital Thailand 2020 We Are Social เป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับ 2019”, สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2563, จาก https://www.everydaymar-keting.co/trend-insight/digital-thailand-2020-we-are-social/

OKMAGAZINE (3 พฤศจิกายน 2559), “‘คนไทยไม่ทิ้งกัน’ ดาราไทยน้ำใจงาม รวมพลังช่วยชาวนาขายข้าว”, สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2563 จาก http://www.okmagazine-thai.com/dara-help-farmers/

Positioning (2559), “คนไทยติดหนึบ ‘โซเชียล มีเดีย’ ยอดเฟซบุ๊กทะลุ 41 ล้านราย ติดอันดับ 8 ของโลก”, สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2563 จาก http://positioningmag.com/1092090

seksanrmutl มหาวิทยาลัยนเรศวร (2556), “แนวคิดทฤษฎีวิพากษ์ของมาร์กซิสม์ (Critical Theory)”, สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2563 จาก https://phdcommunication.wordpress.com/2013

TABDA สมาคมส่งเสริมไทยธุรกิจโฆษณา Thai Advertising Business Development Association (2562), “ประเภทของเครือข่ายสังคมออนไลน์”, สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2563 จาก http://www.tabda.org/activities/07-12-62.php

TANA (2559), “เผยสถิติการใช้ Internet และ Social Media ล่าสุด (2016): ประเทศไทยไม่น้อยหน้าชาติใดในโลก”, สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2563 จาก http://www.9tana.com/node/thailand-social-stat-2016/

Thaireform สำนักข่าวอิศรา (2559), “กลั่นจากอก เสียง ‘ลูกชาวนา’ ซับน้ำตาพ่อแม่ พึ่งตนเอง ขายข้าวไม่ผ่านคนกลาง”, สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2563 จาก http://www.isranews.org/isranews-scoop/item/51290-rice-51290.html

Thinkaboutwealth (2562), “สถิติผู้ใช้ดิจิทัลทั่วโลก 2019 คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตมากสุดในโลก”, สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2563 จาก https://www.thinkaboutwealth.com/digitalstat-world-thailand2019/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-05-2021