เควียร์กับการวิพากษ์บรรทัดฐานรักต่างเพศใน ตุ๊ดทะลุมิติ (พิภพจอมนาง)

ผู้แต่ง

  • คณิน ฉัตรวัฒนา นิสิตปริญญาโท ภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ชุติมา ประกาศวุฒิสาร รองศาสตราจารย์ ดร. ประจำภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

เควียร์, การสวมบทบาท, การยั่วล้อ, บรรทัดฐานรักต่างเพศ

บทคัดย่อ

                นวนิยายเรื่อง ตุ๊ดทะลุมิติ (พิภพจอมนาง) ของ นปภา นำเสนอเรื่องเล่า ของ “แก๊งตุ๊ด” อันประกอบไปด้วย แว่น หน่อม เจ้ และโบ้ โดยที่ดวงวิญญาณ ของพวกเขาทั้งสี่คนมีเหตุให้จำต้องทะลุมิติเข้าไปสวมอยู่ในเรือนร่างของอิสตร ณ ดินแดนใหม่ที่เสมือนดินแดนจีนโบราณ ทั้งนี้ หากมองอย่างผิวเผินอาจสรุป ได้ว่า การนำเสนอในลักษณะดังกล่าวเป็นไปเพียงเพื่อต้องการให้กลุ่ม “คนชาย ขอบ” อย่างเควียร์ที่มักถูกมองในด้านลบว่า เป็นพวกที่มีความปรารถนา “ผิดแปลก” ไปจากกรอบบรรทัดฐานของสังคมที่ยึดถือความสัมพันธ์แบบรักต่างเพศ ให้ได้กลับเข้ามาใช้ชีวิตในฐานะของกลุ่มคนที่ได้รับการยอมรับว่าเป็น “ปกติ” อีกครั้งภายใต้เรือนร่างสตรี อย่างไรก็ตาม บทความชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่า แม้ตัวบทจะ นำเสนอตามขนบของโครงเรื่องโรมานซ์ในแบบรักต่างเพศ เพื่อนำเสนอเรื่องราวของ กลุ่มตัวละครเอกเควียร์ แต่กระนั้น ตัวบทไม่ได้นำเสนอภาพของตัวละครเควียร์ ในร่างหญิงในลักษณะที่สยบยอมต่อขนบ (norm) หากแต่นำมาใช้เพื่อแสดงออก ให้ “สมบทบาท” เพื่อสร้างการยอมรับในสังคมได้ การแสดงตัวตนภายนอกโดย สวมใส่เรือนร่างสตรีตามขนบนิยมรักต่างเพศซึ่งสวนทางกับตัวตนภายในของ กลุ่มตัวละครเอกเควียร์ สอดคล้องกับการยั่วล้อแบบเควียร์แคมป์ (camp) ในแง่หน่ึงจึงเผยให้เห็นถึงข้อจำกัด ความคับแคบ และความอยุติธรรมของบรรทัดฐาน รักต่างเพศที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของสมาชิกในสังคม นอกจากนั้น ตัวบทยังนำเสนอ ให้เห็นถึงการ “ฉวยใช้” ช่องโหว่ของกรอบกฎเกณฑ์ท่ีสังคมกำหนด เพื่อเอื้อประโยชน์ให้เกิดแก่ตนเองและพวกพ้องเควียร์อีกด้วย

References

กานต์ ชีวสาธน์ (2556), ปรากฏการณ์ล้อเลียนเสียดสีข่าวในรายการทีวีออนไลน์ “เจาะข่าวตื้น”, วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

เกศราลักษณ์ ไพบูลย์กุลสิริ (2561), “การศึกษาเปรียบเทียบความเควียร์ในบทแปลนวนิยาย เรื่อง The Picture of Dorian Gray ของออสการ์ ไวลด์ จากสำนวนการแปลของ อ. สนิทวงศ และกิตติวรรณ ซิมตระการ”, วารสารการแปลและการล่าม, 3(1): 109-155.

ชัยรัตน์ พลมุข (2558), “กลับอีสาน: ภาพฝันอันหลอกหลอนและความรุนแรงของมหานคร ในภาพยนตร์เรื่อง คืนพระจันทร์เต็มดวง และ ลุงบุญมีระลึกชาติ”, วารสารอักษรศาสตร์, 44(2): 33-70.

ชุติมา ประกาศวุฒิสาร (2553), “นาครเขษม กับภาวะผู้สูงวัยในมุมมองเควียร์”, ใน นัทธนัย ประสานนาม (บ.ก.), แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชนชั้น: วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา, กรุงเทพฯ: ภาควิชาวรรณคดีและคณะกรรมการฝ่ายวิจัย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ร่วมกับ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และหอศิลปวัฒนธรรม แห่งกรุงเทพมหานคร.

________. (2554), ก่อร่าง สร้างเรื่อง เรื่องเล่า อัตลักษณ์ และชุมชน ในวรรณกรรมสตรีชายขอบ,กรุงเทพฯ: คบไฟ.

ดังกมล ณ ป้อมเพชร (2549), กะเทาะเปลือก(มหัศจรรย์ผจญภัยเจ้าชาย)หอย โครงการ “เรื่องเก่าเล่าใหม่ 2: มหัศจรรย์ผจญภัยเจ้าชายหอย” รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์, กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

นปภา (2558ก), ตุ๊ดทะลุมิติ (พิภพจอมนาง) เล่ม 1, กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์.

________. (2558ข), ตุ๊ดทะลุมิติ (พิภพจอมนาง) เล่ม 2, กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์.

________. (2558ค), ตุ๊ดทะลุมิติ (พิภพจอมนาง) เล่ม 3, กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์.

________. (2559ก), ตุ๊ดทะลุมิติ (พิภพจอมนาง) เล่ม 4, กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์.

________. (2559ข), ตุ๊ดทะลุมิติ (พิภพจอมนาง) เล่ม 5, กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์.

________. (2560), ตุ๊ดทะลุมิติ (พิภพจอมนาง) เล่ม 6, กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์.

ปริยศ กิตติธีระศักดิ์ และ Alicia K. Matthews (2560), “ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับคำนิยามในการศึกษาถึงความหลากหลายทางเพศ ในคนกลุ่มน้อยทางเพศในประเทศไทย”, วารสารการ พยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 31(2): 1-15.

พูนผล โควิบูลย์ชัย (2556), “การต่อรองเชิงอำนาจและการเปลี่ยนแปลงความหมายของผัดไทย: จากเมนูชาตินิยมสู่อาหารไทยยอดนิยม”, วารสารภาษาและวัฒนธรรม, 32(2): 75-94.

ศรัณย์ มหาสุภาพ (2551), การสร้างอัตลักษณ์เกย์ในงานเขียนแนวอัตชีวประวัติเกย์ร่วมสมัย, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สรยา รอดเพชร และคณะ (2561), “ผู้หญิงกับปิตาธิปไตยในนวนิยายของ อุทิศ เหมะมูล”, วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 14(1): 53-80.

อนัญญา วารีสะอาด (2553), อัตลักษณ์กับบริบททางสังคมในนิยายโรมานซ์แนวข้ามภพข้ามชาติของไทย, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ คณะอักษร ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Butler, J. (2006), Gender Trouble: Feminism and the Subversion of Identity, New York: Routledge.

Jagger, G. (2008), Judith Butler Sexual Politics, Social Change and the Power of Performative, New York: Routledge.

นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ (2558), “เควียร์กับการวิพากษ์มานุษยวิทยากระแสหลัก”, ฐานข้อมูลศัพท์ มานุษยวิทยา ศูนย์มานุษยวิทยาสิริธร, สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2563 จาก http://www.sac.or.th/databases/anthropology-concepts/articles/1.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-08-2021