ผลตอบแทนทางสังคมจากการขับเคลื่อนประเด็น “สารเคมีการเกษตร” ของไทยพีบีเอส

ผู้แต่ง

  • วิไลวรรณ จงวิไลเกษม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประจำกลุ่มวิชาวิทยุและโทรทัศน์ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ประชา คุณธรรมดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ระวีวรรณ ทรัพย์อินทร์ อาจารย์ ประจำสาขาการจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

ผลตอบแทนทางสังคม, การขับเคลื่อนประเด็นทางสังคม, สารเคมีการเกษตร, ไทยพีบีเอส

บทคัดย่อ

                การศึกษาผลตอบแทนทางสังคมจากการขับเคลื่อนประเด็น “สารเคมี การเกษตร” ของไทยพีบีเอส มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อประเมินผลกระทบทาง สังคม (social impact) จากการขับเคลื่อนประเด็น “สารเคมีการเกษตร” ของ ไทยพีบีเอส (2) เพื่อประเมินความคุ้มค่าและผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน ในการขับเคลื่อนประเด็น “สารเคมีการเกษตร” ของไทยพีบีเอส (3) เพื่อวิเคราะห์ แนวทางและข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนประเด็นทางสังคมที่เหมาะสมสำหรับ สื่อสาธารณะ โดยศึกษาและวิเคราะห์การปฏิบัติงานขององค์การกระจายเสียง และแพร่ภาพสาธารณะจากเอกสาร “สารเคมีเกษตรและพาราควอต ปี 2562” Executive Summary เอกสาร “Book Keeping สารเคมีเกษตรและพาราควอต” ข้อมูลการใช้ “งบประมาณสารเคมีการเกษตร” และข้อมูล “Rating สารเคมี เกษตร 2559-2562” รวมถึงข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณที่เกี่ยวข้องกับ การขับเคลื่อนประเด็นดังกล่าว โดยใช้หลักการประเมินผลกระทบทางตรง ผลกระทบทางอ้อม ผลกระทบสืบเนื่อง
                การประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการขับเคลื่อนประเด็น “สาร เคมีการเกษตร” ของไทยพีบีเอส พบว่า ผลกระทบทางสังคมจากการขับเคลื่อน ประเด็นดังกล่าว ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมในระดับสูงมาก จากการประเมิน ผลกระทบทางตรงมีมูลค่ากว่า 24 ล้านบาท ผลกระทบทางอ้อมมีมูลค่ากว่า 950 ล้านบาท ผลกระทบสืบเนื่องมีมูลค่ากว่า 1,629 ล้านบาท โดยที่ผลกระทบ โดยรวมมีมูลค่ากว่า 2,610 ล้านบาท นอกจากนั้น ผลกระทบโดยรวมหลังปรับค่า สัดส่วนการมีส่วนร่วมจะมีค่าประมาณกว่า 652 ล้านบาท โดยมีผลตอบแทน ทางสังคม (social return on investment) เท่ากับ 81-106 เท่า หมายถึง ทุกๆ 1 บาทที่ไทยพีบีเอสลงทุนไปในการดำเนินการการขับเคลื่อนสารเคมีการเกษตร จะส่งผลตอบแทนต่อสังคมราว 81 บาท ถึง 106 บาทโดยประมาณ ดังนั้น การ สนับสนุนให้ไทยพีบีเอสดำเนินการดังกล่าวก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมในระดับ สูงมาก 

References

สฤณี อาชวานันทกุล และคณะ (2560), รายงานวิจัย “โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้าน

การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสำหรับกิจการเพื่อสังคม”, สนับสนุนทุนวิจัยโดยสำนักงาน กองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

สฤณี อาชวานันทกุล และภัทราพร แย้มละออ (2560), คู่มือการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมและผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน, กรุงเทพฯ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

Couldry, N. et al. (2010), Media Consumption and Public Engagement: Beyond the Presumption of Attention, New York: Palgrave Macmillan.

Diesner, J. et al. (2014), Computational Assessment of the Impact of Social Justice Documentaries, paper presented at the iConf 2014, Berlin.

Leiserowitz, A. (2004), “Before and After the Day after Tomorrow: A US study of Climate Change Risk Perception”, Environment, 46: 22-37.

Olsen, S. and B. Galimidi (2008), Catalog of Approaches to Impact Measurement: Assessing Social Impact in Private Ventures, Social Venture Technology Group with Support of the Rockefeller Foundation.

Whiteman, D. (2004), “Out of the Theaters and into the Streets: A Coalition Model of the Political Impact of Documentary Film and Video”, Political Communication, 21: 51-69.

Barrett, D. and Leddy, S. (2008), “Assessing Creative Media’s Social Impact”, retrieved 1 March 2020 from http://www.thefledglingfund.org/resources/impact/

Gordon, E. et al. (2013), “Why We Engage: How Theories of Human Behavior Contribute to Our Understanding of Civic Engagement in a Digital Era”, working paper, Berkman Center for the Internet & Society, retrieved 1 March 2020 from http://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=2343762

Harmony Institute (2013a), “Impact Playbook: Best Practices for Understanding the Impact of Media”, retrieved 1 March 2020 from http://www.media-alliance.org/article.php?id=2231

________. (2013b), “Sharing Influence: Understanding the Influence of Entertainment in Online Social Networks”, retrieved 1 March 2020 from http://harmony-institute.org/wp-content/uploads/2013/07/Sharing_Influence_HarmonyInstitute.pdf

________. (2011), “Entertainment Evaluation Highlights: Waiting for ‘Superman’”, retrieved

March 2020 from http://harmony-institute.org/wp-content/uploads/2011/07/WFS_Highlights_20110701.pdf

Knight Foundation (2012), “Digital Citizenship: Exploring the Field of Tech for Engage-ment”, retrieved 1 March 2020 from http://www.knightfoundation.org/media/uploads/media_pdfs/Digital-Citizenship-tech4engage-summit-report.pdf

Napoli, P. (2014), “Measuring Media Impact: An Overview of the Field”, retrieved 1 March 2020 from https://learcenter.org/pdf/measuringmedia.pdf

Nisbet, M. (2007), “Introduction: Understanding the Social Impact of a Documentary Film”, in Hirsch, K. (ed.), Documentaries on a Mission: How Nonprofits Are Making Movies for Public Engagement, retrieved 1 March 2020 from http://www.cmsimpact.org/sites/default/fles/docs_on_a_mission.pdf

Stray, J. (2012), “Metrics, Metrics Everywhere: How Do We Measure the Impact of Journalism? Nieman Journalism Lab”, retrieved 1 March 2020 from http://www.niemanlab.org/2012/08/metrics-metrics-everywhere-how-do-wemeasure-the-impact-of-journalism/

Tofel, R. (2013), “Non-Profit Journalism: Issues around Impact”, retrieved 1 March 2020

from http://s.amazonaws.com/propublica/assets/about/LFA_ProPublica-white-paper_2.1.pdf

Zuckerman, E. (2011), “Metrics for Civic Impacts of Journalism”, retrieved 1 March 2020 from http://www.ethanzuckerman.com/blog/2011/06/30/metrics-for-civic-impacts-of-journalism/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-08-2021