การสำรวจและทบทวนวรรณกรรมเรื่องการสื่อสาร เพื่อการเรียนรู้แบบร่วมของคนพิการทางการเห็น

ผู้แต่ง

  • อารดา ครุจิต คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

การเรียนรู้แบบร่วม, คนพิการทางการเห็น, การสื่อสารกับคนพิการ

บทคัดย่อ

                บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับ สภาพการณ์ทางการวิจัย และแนวคิดทางการวิจัยเกี่ยวกับการสื่อสารเพื่อการ เรียนรู้แบบร่วมของคนพิการทางการเห็น เพื่อค้นหาช่องว่างของความรู้และการ ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสื่อเพื่อคนพิการในการจะนำไปต่อยอดการวิจัยที่เกี่ยวข้อง ต่อไป โดยผู้เขียนได้รวบรวมงานวิจัยที่เกี่ยวกับการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้แบบร่วม ของคนพิการทางการเห็น จากฐานข้อมูล Thai Journals Online เพื่อสำรวจ แนวคิดที่สำคัญภายใต้สภาพการณ์ของไทย มีจำนวนบทความวิจัยที่ใช้ศึกษา วิเคราะห์จำนวน 18 ชิ้น โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) และ การวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบ (constant comparison analysis) และจำแนก เนื้อหาของแนวคิดออกเป็นหัวข้อใหญ่ (categorization) จำแนกแนวคิด (theme) จากนั้นพัฒนาเป็นหัวเรื่องและหัวข้อย่อย โดยรวมกลุ่มรหัสที่มีความเชื่อมโยงกัน จัดอยู่ในประเภทเดียวกัน โดยผู้เขียนสร้างเกณฑ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์เนื้อหาของ บทความลงในตารางบันทึก เพื่อทำให้เห็นลักษณะของแนวคิดทางการสื่อสารเพื่อ การเรียนรู้แบบร่วมของคนพิการทางการเห็นในแต่ละประเภท (clarification) โดย ในบทความนี้กำหนดนิยามคนพิการทางการเห็นว่า หมายถึงเฉพาะคนตาบอด และคนสายตาเลือนราง
                ผลการศึกษาพบว่า งานวิจัยทางการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้แบบร่วมของ คนพิการทางการเห็น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544-2564 มีงานวิจัยที่เป็นการศึกษาด้วย วิธีการเชิงคุณภาพมากกว่าการวิจัยเชิงปริมาณ ไม่พบการวิจัยแบบผสานวิธี การ ศึกษาแบ่งช่วงเวลาเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 คือ 2544-2554 และช่วง 2 คือ 2555-2564 พบว่า ช่วงปี 2544-2554 มีการศึกษาประเด็นศึกษาเรื่องการ เรียนรู้แบบร่วมของคนพิการทางการเห็นมากที่สุด รองลงมาคือ เรื่องนโยบาย สาธารณะด้านคนพิการ ไม่พบประเด็นการศึกษาเรื่องการใช้ชีวิตของคนพิการ ทางการเห็น และการสื่อสารและเทคโนโลยีเพื่อคนพิการทางการเห็น ในขณะที่ ช่วงปี 2555-2564 มีประเด็นการศึกษาเกี่ยวกับการสื่อสารและเทคโนโลยีเพื่อ คนพิการทางการเห็นมากที่สุด รองลงมาคือ เรื่องการเรียนรู้แบบร่วมของคน พิการทางการเห็น การใช้ชีวิตของคนพิการทางการเห็น และนโยบายสาธารณะ ด้านคนพิการ ตามลำดับ
                การศึกษาพบว่า มีแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้แบบร่วมของคน พิการทางการเห็นจำนวน 4 แนวคิดโดยเรียงลำดับจากที่พบมากที่สุด ได้แก่ (1) แนวคิดสื่อและการสื่อสารของคนพิการทางการเห็น (2) แนวคิดผัสสะของ คนพิการทางการเห็น (3) แนวคิดการพัฒนาคนพิการและการจัดการทางการ ศึกษาเพื่อการเรียนร่วมของคนพิการทางการเห็น (4) แนวคิดนโยบายสาธารณะ เพื่อคนพิการ
                ข้อแนะนำการต่อยอดการศึกษาในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ แบบร่วมของคนพิการทางการเห็นในอนาคต ได้แก่ การศึกษาเกี่ยวกับคนพิการ ทางการเห็นกับการสื่อสารและเทคโนโลยีทางการสื่อสาร การสื่อสารของคนพิการ ทางการเห็นในการเรียนรู้แบบร่วม การศึกษาการสื่อสารของคนพิการทางการเห็น กับการใช้ชีวิตทางสังคม และนโยบายสาธารณะเกี่ยวกับคนพิการทางการเห็น

References

กฤษฎา ธีระโกศลพงศ์ และนราเขต ยิ้มสุข (2561), “การส่งเสริมการมีงานทำกับการจัดการความหลากหลายของคนพิการในวาระประเทศไทย 4.0”, วารสารพัฒนาสังคม, 20(1): 77-96.

ธีรอาภา บุญจันทร์ และคณะ (2555), “การจำลองวัตถุทางพิพิธภัณฑ์สำหรับคนตาบอด”, วารสารศิลปากร, 32(1): 107-114.

ธีร์ธวัช เจนวัชรรักษ์ (2554), การสร้างออดิโอเดสคริปต์ชั่นในภาพยนตร์การ์ตูนเพื่อเด็กพิการทางการมองเห็น, วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นรังสรรค์ ดำศรี และกุลทิพย์ ศาสตระรุจิ (2563), “การสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของกลุ่มผู้พิการทางสายตาในวิชาชีพช่างไม้: กรณีศึกษา ศูนย์พัฒนาอาชีพคนตาบอด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี”, วารสารนิเทศศาสตร์ปริทัศน์, 25(1): 49-59.

บัณศิกาญจน์ ตั้งภากรณ์ (2562), “การสร้างสื่อภาพนูนอักษรจีนเพื่อเสริมจินตภาพในทักษะการสื่อสารภาษาจีนเบื้องต้นสำหรับนักเรียนผู้พิการทางสายตา”, วารสารครุศาสตร์, 47(2): 137-152.

ภัทธีรา สารากรบริรักษ์ (2559), “เสียงบรรยายภาพที่คนพิการทางการเห็นต้องการ”, วารสารศาสตร์, 9(2): 169-210.

ยุพา มหามาตร (2559), “จากความมืดมนสู่แสงสว่างในมือเรา: การสร้างกระบวนการทางศิลปะกับทฤษฎีจิตวิทยาเพื่อกระตุ้นและสนับสนุนการแสดงออกอย่างอิสระของเด็กผู้พิการทาง สายตา”, วารสารวิจิตรศิลป์, 7(2): 49-116.

ศาศวัต เพ่งแพ (2553), การศึกษารูปแบบและแนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในสถาบันอุดมศึกษาไทย, วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สถาบัน บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ศิริมิตร ประพันธ์ธุรกิจ (2560), “การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมของคนพิการทางการเห็นในฐานะ“ผู้ผลิต” เสียงบรรยายภาพ”, วารสารศาสตร์, 10(2): 47-106.

ศิริวรรณ เจียรชัชวาลวงศ์ และคณะ (2560), “การสื่อสารเพื่อสร้างแรงบันดาลใจตนเองของคนพิการ”, วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 5(2): 298-312.

สมเกียรติ ตั้งนโม (2549), มองหาเรื่อง: วัฒนธรรมทางสายตา, มหาสารคาม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สมัชชา อภิสิทธิ์สุขสันติ และคณะ (2559), “การออกแบบสื่อนิทรรศการเพื่อผู้พิการทางสายตาในพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพฯ”, วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 12(2): 274-294.

สรัญญา เตรัตน์ (2559), ผัสสะกับการใช้ชีวิตของคนตาบอด, วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อนุรักษ์ จันทร์ดำ (2562), “สัญญะแห่งการเรียนรู้เพื่อสร้างทัศนคติเชิงบวกต่อบุคคลพิการทางสายตาของนิทรรศการบทเรียนในความมืด”, วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 27(55): 184-210.

อภิญญ์พัทร์ กุสิยารังสิทธิ์ (2557), “การสอนคอมพิวเตอร์เพื่องานสื่อสารมวลชนสำหรับนักศึกษาผู้พิการทางสายตา”, วารสารวิชาการและวิจัย มทร. พระนคร, 8(1): 151-163.

อรดล แก้วประเสริฐ และรชต รัตนธาดา (2562), “การสร้างสรรค์ละครเวทีสำหรับผู้มีความบกพร่องทางการมองเห็น”, วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(2): 413-424.

อรวรรณ นิ่มตลุง (2552), “การศึกษาแบบเรียนร่วม: หนทางนำไปสู่การศึกษาเพื่อปวงชน”, วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 1(2): 39-54.

อานนท์ ตั้งพิทักษ์ไกร (2544), ความเสมอภาคของโอกาสฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษาและสังคมของคนพิการ: ศึกษากรณีคนพิการตาบอด, วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมวิทยา มหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อาบเดือน คุ้มถนอม (2557), แนวทางการจัดการแหล่งเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น, วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อารดา ครุจิต (2558), หลักการผลิตเสียงบรรยายภาพ, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

________. (2559), “การศึกษาหลักการในการผลิตเสียงบรรยายภาพในรายการโทรทัศน์สำหรับคนพิการทางการเห็น”, วารสารศาสตร์, 9(2): 87-127.

________. (2560), โทรทัศน์เพื่อการเข้าถึงของคนพิการ, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

________. (2563), “รายงานเรื่อง การเรียนร่วมเรื่องเสียงบรรยายภาพเพื่อคนพิการทางการเห็น”, ในวิชาการวิจัยเชิงคุณภาพ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (เอกสารอัดสำเนา).

Bordenave, D. (1994), “Participative Communication as a Part of Building the Participative Society”, in White, S. et al. (eds.), Participatory Communication: Working for Change and Development, Thousand Oaks: Sage.

Brown, N. et al. (2013), “Tools and Strategies for Making Co-Teaching Work”, Intervention in School and Clinic, 49(2): 84-91.

Bruce, J. and Kogovšek, D. (2020), “Inclusion, Inclusive Education and Inclusive Communication”, Selected Topics in Education, 161-181.

Narula, U. (2006), Communication Models, New Delhi: Atlantic Publishers & Distributors.

Owen, W. (1984), “Interpretive themes in relational communication”, Quarterly Journal of Speech, 70(3): 274-287.

Sanigampongsa, P. (2007), “Disability Issue Perceptions: Disability Rights and Disability as a Social Problem”, NIDA Development Journal, 47(4): 1-47.

Ravindran, V. (2019), “Data Analysis in Qualitative Research”, Indian Journal of Continuing Nursing Education, 20(1): 40.

Shannon, C. (1961), “Two-Way Communication Channels”, in Proceedings of the Fourth Berkeley Symposium on Mathematical Statistics and Probability, Volume 1: Contributions to the Theory of Statistics, The Regents of the University of California.

West, R. and Turner, L. (2018), Introducing Communication Theory: Analysis and Application,New York: McGraw-Hill Education.

โปรดปราน บุณยพุกกณะ (2563), “ปวินท์ เปี่ยมไทย วิศวกรตาบอดคนแรกของประเทศไทยเรียนอย่างไร จึงจบได้ด้วยเกียรตินิยมอันดับหนึ่งจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย”, สืบค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2563, จาก https://docs.google.com/document/d/1d8zOGwCHIGhgRcJ611Nx925ES3nZ9nHyhLVLVXAeiI/edit?fbclid=IwAR3J4CdQpD1BeVClYRxw4KOiU1BNebHUzSVlIOvld8aw-_YCL8ixvmNank

ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ (2560), “วัฒนธรรมทางสายตา”, สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2563, จาก http://mads.org/th/journals/visual-culture/

Cambridge Dictionary (n.d.), “Inclusivity”, retrieved 17 October 2020, from https://diction-ary.cambridge.org/dictionary/english/inclusivity

Imperial College London (2021), “What Is Inclusive Learning and Teaching and Why Is It Important?”, retrieved 1 February 2021, from https://www.imperial.ac.uk/staff/educational-development/teaching-toolkit/inclusive-learning-and-teaching/what-is-inclusive-learning-and-teaching-and-why-is-it-important/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-11-2021