ความรู้เท่าทันข่าวการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของคนวัยทำงานในเมือง

ผู้แต่ง

  • ดวงแก้ว เธียรสวัสดิ์กิจ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

ข่าวการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, ความรู้เท่าทันสื่อ, ผู้บริโภคข่าว

บทคัดย่อ

            บทความเรื่องนี้นำเสนอประเด็นสำคัญและผลการศึกษาหลักจากการวิจัยเรื่อง ความรู้เท่าทันสื่อประเภทข่าวการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของคนในเมืองใหญ่: ความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านความรู้คิด ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อศึกษาระดับความรู้เท่าทันสื่อประเภทข่าวการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความสัมพันธ์ของปัจจัยหลักในกระบวนการรู้เท่าทันสื่อในมิติความรู้คิด (Potter, 2004) ได้แก่ โครงสร้างความรู้เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความรู้และทักษะรู้เท่าทันสื่อประเภทข่าวการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งทำงานร่วมกันในกระบวนการรู้เท่าทันสื่อของผู้บริโภคข่าว ตามกรอบแนวคิดความรู้เท่าทันสื่อในมิติความรู้คิด ร่วมกับการทบทวนวรรณกรรมในกลุ่มทฤษฎีเชิงวิพากษ์ด้านเศรษฐศาสตร์การเมืองของการผลิตข่าว (political economy of news production) และผลการวิจัยเกี่ยวกับข่าวสิ่งแวดล้อมและข่าวการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย การวิจัยชิ้นนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชากรวัยทำงานอายุ 20-60 ปี จำนวน 557 คน ในกรุงเทพมหานคร ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น (non-probability sampling) ด้วยวิธีการแบบโควตา (quota sampling) การวิจัยนี้ใช้แบบสอบถามออนไลน์ (online questionnaires) เป็นเครื่องมือการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม-เมษายน 2564 ผลการศึกษาทำให้ทราบว่า แม้คนวัยทำงานที่มีวิถีชีวิตในเมืองใหญ่จะมีความรู้เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับสูง และมีความตระหนักเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศปานกลาง แต่มีทักษะรู้เท่าทันสื่อประเภทข่าวการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับต่ำ เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรพบว่า ความตระหนักเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อทักษะรู้เท่าทันสื่อประเภทข่าวการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของกลุ่มตัวอย่าง นอกจากนี้ ความรู้เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความตระหนักเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ งานวิจัยนี้จึงชี้ให้เห็นว่า คนวัยทำงานในเมืองที่มีบทบาทสูงต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ อาจไม่เท่าทันต่อวาทกรรมด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่แฝงอยู่ในข่าวการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การให้ความรู้เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแก่คนในเมืองแต่เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถนำไปสู่ทักษะรู้เท่าทันสื่อที่เพียงพอได้ แต่ต้องให้ความสำคัญกับการสื่อสารให้ผู้รับสารเกิดความตระหนัก และต้องสื่อสารเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้เชื่อมโยงกับบริบทของท้องถิ่นและชีวิตประจำวันของพวกเขา

References

จารุวรรณ เกษมทรัพย์ (2559), โครงการพัฒนารูปแบบการสื่อสารความเสี่ยงเพื่อวางแผนปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในบริบทชุมชนเกษตกร อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา,รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

นันทิกา หนูสม และวิโรจน์ สุทธิสีมา (2562), “ลักษณะของข่าวปลอมในประเทศไทยและระดับความรู้เท่าทันข่าวปลอมบนเฟซบุ๊กของผู้รับสารในเขตกรุงเทพมหานคร”, วารสารนิเทศศาสตร์, 1(มกราคม-เมษายน), 37-45.

ฟารีดา เตชะวรินทร์เลิศ (2548), ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เท่าทันสื่อกับการได้รับอิทธิพลด้านการกำหนดความสำคัญแก่วาระข่าวสาร และการเลือกกรอบในการตีความข่าวสาร, วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาวารสารสนเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มาดี ลิ่มสกุล (2561), “การรู้เท่าทันสื่อของเด็กและเยาวชนภายใต้วาทกรรมความสวยในโฆษณาโทรทัศน์”, Journal of Social Work, 26(2): 56.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (2563), แผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ (Thailand’s National Adaptation Plan) (เอกสารอัดสำเนา).

สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล (ม.ป.ป.), ศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหานคร (เอกสารอัดสำเนา). โอฬาร โอฬารรัตน์ (2552), การวิเคราะห์เนื้อหาด้านภาวะโลกร้อนที่ปรากฏบนหนังสือพิมพ์ออนไลน์,วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชานิเทศศาสตรพัฒนาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Allan, S. (2011), News Culture, Milton Keynes: Open University Press.

Alves, I. (2009), “Green Spin Everywhere: How Greenwashing Reveals the Limits of the CSR Paradigm”, Journal of Global Change and Governance, 2(1): 1-26.

Anderson, A. (2010), “Communication or Spin? Source-Media Relations in Science Journalism”, in Allan, S. (ed.), Journalism: Critical Issues, Milton Keynes: Open University Press.

Anderson, G. (2014), Media, Environment and the Network Society, London: Palgrave.

Ashley, S. and Maksl, A. (2013), “Developing a News Media Literacy Scale”, Journalism & Mass Communication Educator, 68(1): 7-21.

Baum, L. (2012), “It’s Not Easy Being Green...or Is It? A Content Analysis of Environmental Claims in Magazine Advertisements from the United States and United Kingdom”, Environmental Communication, 6(4): 423-440.

Billett, S. (2010), “Dividing Climate Change: Global Warming in the Indian Mass Media”, Climatic Change, 99(1-2): 1-16.

Buckingham, D. (2003), Media Education: Literacy, Learning and Contemporary Culture, Cambridge: Polity Press.

Cottle, S. (2003), “News, Public Relations and Power—TV Journalism and Deliberative Democracy: Mediating Communicative Action”, in News, Public Relations and Power, London: Sage.

Crawley, S. et al. (2020), “Public Opinion on Climate Change: Belief and Concern, Issue Salience and Support for Government Action”, British Journal of Politics and International Relations, 22(1): 102-121.

Foss, A. and Ko, Y. (2019), “Barriers and Opportunities for Climate Change Education: The Case of Dallas-Fort Worth in Texas, Journal of Environmental Education, 50(3): 145-159.

Giddens, A. (2011), The Politic of Climate Change, New York: Wiley.

Grizzle, A. et al. (2013), Media and Information literacy: Policy and Strategy Guidelines, The United Nations Educational Scientific and Cultural Organisation (UNESCO).

Hobbs, R. (2011), “The State of Media Literacy: A Response to Potter”, Journal of Broadcasting and Electronic Media, 55(3): 419-430.

Jones, E. (2019), “Rethinking Greenwashing: Corporate Discourse, Unethical Practice, and the Unmet Potential of Ethical Consumerism”, Sociological Perspectives, 62(5): 728-754.

Milér, T. and Sládek, P. (2011), “International Conference on Education and Educational Psychology (ICEEPSY 2010) The Climate Literacy Challenge”, Procedia - Social and Behavioral Sciences, 12: 150-156.

Nixon, R. (2011), Slow Violence and the Environmentalism of the Poor, Cambridge: Harvard University Press.

Olausson, U. (2014), “The Diversified Nature of ‘Domesticated’ News Discourse: The Case of Climate Change in National News Media”, Journalism Studies, 15(6): 711-725.

Potter, W. (1998), Media Literacy, London: Sage.

________. (2004), “Theory of Media Literacy: A Cognitive Approach”, in Theory of Media Literacy: A Cognitive Approach, London: Sage.

Salathong, J. (2011), Media Coverage in the Context of Education for Sustainable Development : Climate Change in Thailand’ s Newspapers, Waseda University.

Yang, X. and Wei, L. (2020), “How Is Climate Change Knowledge Distributed among the Population in Singapore? A Demographic Analysis of Actual Knowledge and Illusory Knowledge, Sustainability, 12(3728).

ฝ่ายระบบเครือข่าย กองสารสนเทศภูมิศาสตร์ (ม.ป.ป.), สถิติจำนวนประชากรและเคหะ พื้นที่ ประชากร ความหนาแน่น และจำนวนบ้าน, สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2564 จาก http://www.bangkokgis.com/gis_information/population/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

19-04-2022