การจัดการอัตลักษณ์ลูกบนเฟซบุ๊กแฟนเพจโดยพ่อแม่ที่เป็นอินฟลูเอนเซอร์

ผู้แต่ง

  • พรรณวดี ประยงค์ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • กานตชาติ เรืองรัตนอัมพร คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

สื่อสังคมออนไลน์, เฟซบุ๊กแฟนเพจ, อัตลักษณ์ของเด็ก, อินฟลูเอนเซอร์, ความเป็นส่วนตัวของข้อมูล

บทคัดย่อ

           บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งจากงานวิจัยเรื่อง การจัดการอัตลักษณ์ลูกบนเฟซบุ๊กแฟนเพจโดยพ่อแม่ที่เป็นผู้มีอิทธิพลทางความคิดบนโลกออนไลน์ ซึ่งศึกษารูปแบบเนื้อหา แนวคิดในการออกแบบและนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับลูกของพ่อแม่อินฟลูเอนเซอร์ (influencer) รวมถึงแนวทางในการจัดการปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับอัตลักษณ์และความเป็นส่วนตัวของลูก โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ที่ถูกนำเสนอบนเฟซบุ๊กแฟนเพจ จำนวน 5 เพจ และสัมภาษณ์เจาะลึก (in-depth interview) พ่อแม่อินฟลูเอนเซอร์

           ผลการศึกษาพบว่า พ่อแม่มักนำเสนอเนื้อหาที่ปรากฏอัตลักษณ์ของลูก โดยนำเสนอกิจกรรมหรือเนื้อหาเกี่ยวกับชีวิตประจำวันและกิจกรรมหรือเนื้อหาที่ทำร่วมกับพ่อแม่เป็นหลัก และมักปรากฏกิจกรรมหรือเนื้อหาเพื่อการค้าในลำดับรองลงมา ซึ่งส่วนมากเนื้อหาทางการค้าจะถูกนำเสนอแฝงไปกับเนื้อหาในลักษณะอื่นๆ ทั้งนี้ พ่อแม่เลือกใช้อารมณ์เชิงบวกและนำเสนออัตลักษณ์เชิงบวกของลูกเป็นหลัก โดยใช้การบันทึกสังเกตการณ์ในการนำเสนอและเลี่ยงการบังคับ/จัดการ แต่อาจมีวิธีต่อรองให้ลูกเข้ามามีส่วนร่วม โดยเชื่อว่า การนำเสนอเรี่องราวลูกนั้นเป็นเพียงการสะท้อนมุมมองของพ่อและแม่ และการนำเสนออัตลักษณ์ของลูกเชิงบวกอาจลดปัญหาความขัดแย้งในอนาคตได้ ซึ่งหากต้องนำเสนออัตลักษณ์เชิงลบจะใช้การเล่าแบบทบทวนบทเรียนแทน เพื่อสะท้อนการเรียนรู้ของลูก

          พ่อแม่ระวังการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของลูกในหลายด้าน แต่ยังเปิดเผยข้อมูลบางอย่าง หากพิจารณาแล้วว่าปลอดภัยหรือจำเป็น โดยจะหลีกเลี่ยงการเปิดเผยข้อมูลแบบเรียลไทม์ (real-time) ภาพโป๊เปลือยของลูก อีกทั้งจะทบทวนและสอบถามความยินยอมของลูกมากขึ้นเมื่อลูกนั้นมีอายุมากขึ้น โดยพร้อมที่หยุดเผยแพร่เรื่องของลูก หากลูกไม่ต้องการปรากฏตัวบนสื่อของพ่อแม่ต่อไปในอนาคต โดยแม่เป็นผู้มีบทบาทหลักในการควบคุมข้อมูลและประกอบสร้างภาพตัวแทนของ “ลูกที่พึงปรารถนา” เพื่อสะท้อน “ภาพตัวแทนของแม่ในอุดมคติ” ที่ประสบความสำเร็จทั้งชีวิตครอบครัวและการหารายได้จากการเป็นอินฟลูเอนเซอร์

References

กาญจนา แก้วเทพ และคณะ (2555), สื่อเก่า-สื่อใหม่: สัญญะ อัตลักษณ์ อุดมการณ์, กรุงเทพฯ: โครงการเมธีวิจัยอาวุโส คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กาญจนา แก้วเทพ และสมสุข หินวิมาน (2551), สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับสื่อสารศึกษา, กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

ฐิตินันท์ บ. คอมมอน (2560), “โซเชียลมีเดีย: เทคโนโลยีแห่งตัวตนและการสร้างอัตลักษณ์ในยุคสังคมหลังสมัยใหม่”, สุทธิปริทัศน์, 31(97): 247-258.

พรพรรณ สมบูรณ์บัติ (2549), หญิงชรา: ภาพตัวแทนในรายการสารคดีโทรทัศน์ “คนค้นฅน”, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาสื่อสารมวลชน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พรรณวดี ประยงค์ (2559), “เรื่องของ ‘ตัวตน’ บนโลกของเว็บไซต์โซเชียลเน็ตเวิร์ก: ขอบเขตของ ‘ตัวตนที่ปรารถนา’ และ ‘ตัวตนที่เป็นจริง’”, วารสารศาสตร์, 9(1): 7-32.

โรล็องด์ บาร์ตส์ (2544), Mythologies, แปลโดย วรรณพิมล อังคศิริสรรพ, กรุงเทพฯ: คบไฟ.

ศิริมิตร ประพันธ์ธุรกิจ (2551), ความสัมพันธ์ไทย-ลาวในสื่อบันเทิงไทย: ศึกษากรณีการประกอบสร้างอัตลักษณ์ความเป็นลาวจากภาพยนตร์เรื่อง “หมากเตะโลกตะลึง, วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Ammari, T. et al. (2015), “Managing Children's Online Identities”, Proceedings of the 33rd Annual ACM Conference on Human Factors in Computing Systems - CHI '15.

Brosch, A. (2018), “Sharenting–Why Do Parents Violate Their Children’s Privacy?”, The New Educational Review, 54(4): 75-85.

Bullingham, L. and Vasconcelos, A. (2013), “The Presentation of Self in the Online World: Goffman and the Study of Online Identities”, Journal of Information Science, 39(1): 101-113.

Lipu, M. and Siibak, A. (2019), “‘Take it down!’: Estonian Parents’ and Pre-teens’ Opinions and Experiences with Sharenting”, Media International Australia, 170(1): 57–67.

Livingstone, S. (2020), “Erasmus Medal Lecture 2018 AE GM Barcelona: Realizing Children’s Rights in Relation to the Digital Environment”, European Review, 1-14.

Livingstone, S. et al. (2018), What Do Parents Think, and Do, about Their Children’s Online Privacy? Parenting for a Digital Future: Survey Report 3, London: Department of Media and Communications, The London School of Economics and Political Science.

Lupton, D. et al. (2016), “Parenting and Digital Media: From the Early Web to Contemporary Digital Society”, Journal of Sociology Compass, 10/8: 730-743.

Marasli, M. et al. (2016), “Parents’ Shares on Social Networking Sites About their Children: Sharenting”, The Anthropologist, 24(2): 399-406.

Otero, P. (2017), “Sharenting...Should Children’s Lives Be Disclosed on Social Media?”, Arch Argent Pediatr, 115(5): 412-413.

Ouvrein, G. and Verswijvel, K. (2019), “Sharenting: Parental Adoration or Public Humiliation? A Focus Group Study on Adolescents’ Experiences with Sharenting against the Background of Their Own Impression Management”, Children and Youth Services Review, 99: 319-327.

Verswijvel, K. et al. (2019), “Sharenting, Is It a Good or a Bad Thing? Understanding How Adolescents Think and Feel about Sharenting on Social Network Sites”, Children and Youth Services Review, 104: 104401.

Webb, L. and Lee, B. (2011), Mommy Blogs: The Centrality of Community in the Performance of Online Maternity, Cambridge: Cambridge Scholars Publishing.

Zhao, S. (2006), “Cyber-Gathering Places and Online-Embedded Relationships”, in paper presented at the annual meetings of the Eastern Sociological Society in Boston.

Zhao, S. et al. (2008), “Identity construction on Facebook: Digital Empowerment in Anchored Relationships”, Computer in Human Behavior, 24: 1816-1836.

Abidin, C. (2015). “Micro¬microcelebrity: Branding Babies on the Internet”, M/C Journal, 18(5), retrieved 28 April 2020 from http://www.journal.media-culture.org.au/index.php/mcjournal/ article/view/1022.

Abidin, C. (2017), “#familygoals: Family Influencers, Calibrated Amateurism, and Justifying Young Digital Labor”, Social Media+Society, retrieved 28 April 2020 from https://journals.sagepub.com/doi/full/10.1177/2056305117707191.

Knowthenet (2015), Small Business Advice to Start, Build and Grow Your Enterprise, retrieved 1 May 2020 from The UK Domain - Small Business Advice to Start & Grow Your Enterprise.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

19-04-2022