การใช้เฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ในการรวมกลุ่มนักเรียนเลว เพื่อเคลื่อนไหวทางสังคมเรียกร้องปฏิรูปการศึกษา ปี พ.ศ. 2563

ผู้แต่ง

  • ชัยนนท์ หาญคีรีรัตน์ นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาสื่อและนวัตกรรมสื่อสาร วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ศศิธร ยุวโกศล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

พื้นที่สาธารณะออนไลน์, การเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่, เฟซบุ๊ก, ทวิตเตอร์, นักเรียนเลว

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะการสื่อสารในพื้นที่สาธารณะบนเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ของกลุ่มนักเรียนเลว และศึกษาการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่ในพื้นที่สาธารณะดังกล่าว โดยเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาสาร (textual analysis) เฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการศึกษาที่ถูกโพสต์บนสื่อสังคมออนไลน์ของกลุ่มนักเรียนเลว 2 ประเภท คือ เฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ ตั้งแต่เริ่มเคลื่อนไหวในสื่อสังคมออนไลน์ คือ วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563 และใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) ผู้ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยแกนนำผู้จัดตั้งกลุ่มนักเรียนเลว นักเรียนผู้ที่ติดตามกลุ่มนักเรียนเลวในสื่อสังคมออนไลน์ นักเรียนที่ไม่ได้ติดตามกลุ่มนักเรียนเลวในสื่อสังคมออนไลน์ นักวิชาการด้านการเมือง นักวิชาการด้านการศึกษา นักวิชาการด้านการสื่อสาร และผู้บริหารโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา รวมจำนวน 11 คน

            ผลการศึกษาพบว่า เฟซบุ๊กและทวิตเตอร์กลุ่มนักเรียนเลวมีคุณลักษณะของการเป็นพื้นที่สาธารณะออนไลน์ตามแนวคิดฮาเบอร์มาสครบทุกคุณลักษณะ แต่มีปริมาณการสร้างในแต่ละคุณลักษณะมากน้อยแตกต่างกัน ส่วนการเคลื่อนไหวทางสังคมนั้นพบว่า กลุ่มนักเรียนเลวใช้เฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ในฐานะพื้นที่สาธารณะออนไลน์เพื่อสร้างการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่ นำมาสู่ผลลัพธ์ที่หลากหลายระดับ บางครั้งเกิดแค่ในพื้นที่ออนไลน์ บางครั้งนำไปสู่การเคลื่อนไหวบนพื้นที่กายภาพ

References

กาญจนา แก้วเทพ และคณะ (2543), มองสื่อใหม่ มองสังคมใหม่, กรุงเทพฯ: เอดิสัน เพรส โพรดักส์.

กาญจนา แก้วเทพ และสมสุข หินวิมาน (2560), สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับสื่อสารศึกษา, มหาสารคาม: อินทนิล

ชวิตรา ตันติมาลา (2561), “พื้นที่สาธารณะและการผลิตพื้นที่: ความหมายใหม่ของความสัมพันธ์ทางสังคม”, วารสารบรรณศาสตร์ มศว., 10(1): 92-103.

ชัยนัท สุขไชชยะ (2562), “การสื่อสารทางการเมืองไทยผ่านสื่อสังคมออนไลน์ กรณีศึกษาเฟซบุ๊กเพจ SUTHEP THAUGSUBAN (สุเทพ เทือกสุบรรณ) ช่วงเวลา 31ตุลาคม 2556 ถึง22พฤษภาคม 2557”, วารสาร มมร. วิชาการล้านนา, 8(1): 32-39.

ธนพันธ์ ไล่ประกอบทรัพย์ (2559), “แนวคิดหลังวัตถุนิยม (Post-Materialism) และการมีส่วนร่วมทางการเมือง: กรณีศึกษาโพสท์แมททีเรียลลิสต์ในประเทศในทวีปเอเชีย ปี ค.ศ. 1981 ถึง 2004”, วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2(4): 124-125.

พิชิต วิจิตรบุญยรักษ์ (2554), “HTML: ภาษาเขียนเว็บ”, วารสารนักบริหาร มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 31(3): 199-202.

วุฒิพล วุฒิวรพงศ์ และกิ่งกาญจน์ จงสุขไกล (2562), “พัฒนาการของช่องทางในการแสดงออกทางการเมืองในสื่อออนไลน์ ช่วง พ.ศ. 2557-2560”, วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง, 8(3): 147-167.

สุวิดา ธรรมมณีวงศ์ (2544), “การเคลื่อนไหวทางสังคม”, วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 23(2): 32-54.

Buechler, S. (1995), “New Social Movement Theories”, Sociological Quarterly, 36(3): 441-464.

เดือนเพ็ญ จุ้ยประชา (2563), “’ช่วยกันดันแฮชแท็กให้ขึ้นเทรนด์เถอะ’ คนรุ่นใหม่กับการขับเคลื่อนสังคมด้วย #ทวิตเตอร์”,สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2564 จาก https://adaymagazine.com/thai-twitter-movement-report/

เบญจพร ศรีดี (2563), “คุยกับ ‘มิน’ เยาวชนวัย 17 ปี ผู้ก่อตั้งกลุ่ม ‘นักเรียนเลว’ กิจกรรมมาจากเงิน ‘ค่าขนม’”, มติชนสุดสัปดาห์, สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2564 จาก https://www.matichonweekly.com/column/article_345406

ประเสริฐ ตันสกุล (2563), “การปฏิรูปการศึกษา การศึกษายุค 4.0”, สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2564 จาก https://www.matichon.co.th/columnists/news_451872

ภาณุภัทร จิตเที่ยง (2563), “เหรียญสองด้านของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม เจาะลึก Social”, สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2564 จาก https://thematter.co/social/two-side-of-social-movement/41000

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา (2554), “สื่อสังคม”, สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2564 จาก http://legacy.orst.go.th/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

19-04-2022