ทัศนคติของเยาวชนต่อฉลากคำเตือนแบบปราศจากสีสัน บนบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์: โอกาสของการป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ในประเทศไทย
คำสำคัญ:
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์, นโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, ฉลากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, ฉลากภาพคำเตือนแบบปราศจากสีสัน, ทัศนคติของเยาวชนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษารูปแบบคำเตือนและสีที่ไม่ดึงดูดใจเพื่อพัฒนาฉลากคำเตือนแบบปราศจากสีสันบนบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และ (2) ศึกษาทัศนคติของเยาวชนที่มีต่อฉลากภาพคำเตือนแบบปราศจากสีสันกับฉลากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบบตราสินค้า คณะผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ การสำรวจและการทดลอง และการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสนทนากลุ่ม ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือ เยาวชนอายุ 18-25 ปี เพศหญิงและเพศชายที่มีพฤติกรรมดื่มและไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์คลัสเตอร์และค่ากลางด้วยวิธีการ K Means Cluster Analysis ในขณะที่การสนทนากลุ่มใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลโดยสร้างตารางจัดกลุ่มข้อมูล และค้นหาประเด็นสำคัญเพื่อสรุปข้อมูลตามแนวทางอุปนัย
ผลการวิจัยจากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างจำนวน 518 คน พบว่า รูปแบบภาพคำเตือนประกอบข้อความเป็นรูปแบบที่ให้ความรู้สึกน่ากลัว สื่อถึงอุบัติเหตุ สื่อถึงอันตรายมากกว่าคำเตือนแบบข้อความ และคำเตือนแบบสัญลักษณ์ประกอบข้อความ
ผลการวิจัยในห้องทดลองเพื่อศึกษาสีไม่ดึงดูดใจจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 100 คน พบว่า สีที่ไม่ดึงดูดใจมีทั้งหมด 184 สี สามารถจัดคลัสเตอร์และค่ากลางได้ตัวแทนสีที่ไม่ดึงดูดใจจำนวน 5 สี ได้แก่ สีเหลือง (5Y 7/8) สีน้ำตาล (2.5Y 4/4) สีน้ำตาลเข้ม (5YR 2/2) สีเขียวเข้ม (7.5G 3/4) สีเทา (2.5 GY 7/2) จากนั้น คณะผู้วิจัยสร้างฉลากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยนำรูปแบบภาพคำเตือนประกอบข้อความและสีที่ไม่ดึงดูดใจทั้ง 5 สี ประกอบกับการเพิ่มเติมสีต้นแบบจากซองบุหรี่แบบปราศจากสีสันจำนวน 1 สี คือ สีเขียวขี้ม้า (7.5Y 3/2) เพื่อให้กลุ่มเยาวชนแสดงทัศนะเปรียบเทียบกับฉลากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบบตราสินค้า ซึ่งคณะผู้วิจัยจำลองขึ้นมาเช่นเดียวกัน
ผลการวิจัยจากการสนทนากลุ่มตัวอย่าง 7 กลุ่ม จำนวน 61 คน พบข้อมูลสำคัญใน 5 ประเด็น ได้แก่ (1) ฉลากภาพคำเตือนแบบปราศจากสีสันช่วยส่งเสริมให้ภาพคำเตือนเด่นชัด (2) ฉลากภาพคำเตือนแบบปราศจากสีสันช่วยส่งเสริมให้ภาพคำเตือนดูน่ากลัว (3) ฉลากภาพคำเตือนแบบปราศจากสีสันช่วยลดความดึงดูดใจในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (4) ฉลากภาพคำเตือนแบบปราศจากสีสันช่วยสร้างความตระหนักถึงอุบัติเหตุจราจรจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และ (5) ฉลากภาพคำเตือนแบบปราศจากสีสันจะช่วยลดนักดื่มหน้าใหม่
ผลการวิจัยครั้งนี้สะท้อนถึงโอกาสในการขับเคลื่อนนโยบายฉลากภาพคำเตือนแบบปราศจากสีสันบนบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่มีแนวโน้มทำให้เยาวชนตระหนักถึงผลกระทบจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งจะช่วยป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ก่อนวัยอันควร
References
กนิษฐา ไทยกล้า และคณะ (2560), การรับรู้และความคิดเห็นต่อรูปแบบฉลากคำเตือนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา.
กาญจนา แก้วเทพ และสมสุข หินวิมาน (2551), สายธารแห่งนักคิดสายเศรษฐศาสตร์การเมือง, กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
ณัฐวิภา สินสุวรรณ (2564), การวิจัยเพื่อการโฆษณาและประชาสัมพันธ์, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิษฐา หรุ่นเกษม (2558), ประสิทธิผลของรูปภาพประกอบข้อความคำเตือน (Pictorial Warning) ต่อการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา.
สาวิตรี อัษณางค์กรชัย (2560), แอลกอฮอล์และเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน: อุปสรรคสำคัญของการพัฒนา, กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา.
สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (2561), 1 ทศวรรษ พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551, นนทบุรี: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ (2561), การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ. 2560, กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์.
อรทัย วลีวงศ์ (2559), ข้อมูลมาตรการฉลากคำเตือนและมาตรการกำหนดเนื้อหา รูปแบบ และเงื่อนไขของฉลากผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และโอกาสในการพัฒนากฎหมายฉลากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประเทศไทย, กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา.
Al-Hamdani, M. (2014), “The Case for Stringer Alcohol Warning Labels: Lessons from the Tobacco Control Experience”, Journal of Public Health Policy, 35(1): 65-74.
________. (2017), “Plain Packing Policy: Preventing Industry Innovations”, Canadian Journal of Public Health, 108(1): 98-100.
Al-Hamdani, M. and Smith, S. (2015), “Alcohol Warning Label Perceptions: Emerging Evidence for Alcohol Policy”, Canadian Journal of Public Health, 106(6): 395-400.
________. (2017a), “Alcohol Health-Warning Labels: Promises and Challenges”, Journal of Public Health, 39(1): 3-5.
________. (2017b), “Alcohol Warning Label Perceptions: Do Warning Sizes and Plain Packaging Matter?”, Journal of Studies on Alcohol and Drugs, 78(1): 79-87.
Arens, W. et al. (2013), Contemporary advertising. Boston: McGraw-Hill.
Hammond, D. (2010), “Plain Packaging” Regulations for Tobacco Products: The Impact of Standardizing the Color and Design of Cigarette Packs”, Salud Publica de Mexico, 52(suppl 2): S226-S232.
________. (2011), “Health Warning Messages on Tobacco Products: A Review. Tobacco Control, 20(5): 327-337.
________. (2014), “The Case for Stringent Alcohol Warning Labels: Lessons from the Tobacco Control Experience”, Journal of Public Health Policy, 35(1): 65-74.
Jones, D. et al. (2021), “Health Information, Messaging and Warnings on Alcohol Packaging: A Focus Group Study with Young Adult Drinkers in Scotland”, Addiction Research & Theory, 29 (6): 469-478.
Keller, K. (2013), Strategic Brand Management: Building, Measuring, and Managing Brand Equity, Boston: Pearson.
Moodie, C. et al. (2012), “Young People's Perceptions of Cigarette Packaging and Plain Packaging: An Online Survey”, Nicotine & Tobacco Research, 14(1): 98-105.
Mutti-Packer, S. et al. (2018), “Perceptions of Plain Packaging and Health Warning Labels for Cannabis among Young Adults: Findings from an Experimental Study”, BMC Public Health, 18(1): 13-61.
O’Guinn, T. et al. (2009), Advertising and Integrated Brand Promotion, Mason, OH: South-Western Cengage Learning.
Pechey, E. et al. (2020), “Image-and-Text Health Warning Labels on Alcohol and Food: Potential Effectiveness and Acceptability. BMC Public Health 20, 376.
Percy, L. (2018), Strategic Integrated Marketing Communications, New York: Routledge.
Perloff, R. (2009), “Mass Media, Social Perception, and the Third-Person Effect”, in Bryant, J. and Oliver, M. (eds.), Media Effects: Advances in Theory and Research, New York: Routledge.
Roscoe, J. (1975), Fundamental Research Statistics for the Behavioral Sciences, New York:
Holt Rinehart and Winston.
Shi, T. (2012), “The Use of Color in Marketing: Colors and Their Physiological and Psychological Implications”, Berkeley Scientific Journal, 17(1): 1-6.
Singh, S. (2006), “Impact of Color on Marketing”, Management Decision, 44(6): 783-789.
Sinsuwarn, N. and Rattanakasamsuk, K. (2020), “Tobacco Packaging as Communication Tool: The Effectiveness of Tobacco Plain Packaging on Young People’s Perception”, Academic Journal of Humanities and Social Sciences Burapha University, 28(1): 98-119.
White, et al. (2012), “The Potential Impact of Plain Packaging of Cigarette Products among Brazilian Young Women: An Experimental Study”, BMC Public Health, 12(1): 737.
Wigg, S. and Strafford, L. (2016), “Health Warning on Alcoholic Beverages: Perceptions of the Health Risks and Intentions towards Alcohol Consumption”, PLOS ONE, 11(4): e0153027.
ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (2562), ร้านเหล้ารอบสถานศึกษา สถานการณ์ปัญหาสู่แนวทางแก้ไขที่เหมาะสม. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2565 จาก http://cas.or.th/cas/?p=6149.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ (2564), สถิติประชากรศาสตร์ ประชากรและเคหะ: จำนวนประชากรจากการทะเบียน จำแนกตามอายุ เพศ และจังหวัด พ.ศ. 2563, สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2564 จากhttp://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx.
World Health Organization (2018), Alcohol: Key Fact, retrieved 15 November 2021 from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/alcohol.
________. (2020), Alcohol: Policy Response, retrieved 15 November 2021 from https://www.who.int/health-topics/alcohol#tab=tab_3.