พระมหาเทวีเจ้าแห่งเมืองทิพย์: การศึกษาลักษณะของสัมพันธบทในบริบทสื่อหลากหลาย
คำสำคัญ:
สัมพันธบท, พระมหาเทวีเจ้าแห่งเมืองทิพย์, สื่อหลากหลายบทคัดย่อ
หากสัมพันธบทที่เกี่ยวโยงกับพระมหาเทวีเจ้าแห่งเมืองทิพย์ เป็นเรื่องเล่าหนึ่งเรื่องที่ถูกเล่าซ้ำในบริบทสื่อหลากหลายในช่วงต้นปี 2564 จนกลายเป็นปรากฏการณ์ที่สังคมต่างพูดถึง เรื่องเล่านั้นจะประกอบด้วยลักษณะบางประการ เช่น ผู้เล่าเลือกช่องทางและรูปแบบการเล่าอย่างเหมาะสมเพื่อเข้าถึงคนฟัง มีลูกเล่นและวิธีเล่าที่ไม่ซ้ำคนอื่น ผู้เล่าเลือกสรร ตัดทอน ผสมผสาน ดัดแปลงเรื่องเล่าก่อนหน้าในแบบฉบับของตนเอง มีถ้อยคำที่ให้จดจำและต้องการส่งต่อ ลักษณะสัมพันธบทดังที่กล่าวมาส่งผลให้เรื่องเล่าได้รับการสนับสนุนที่ดีจาก “ผู้ติดตาม” โดยพยายามจะเป็นส่วนหนึ่งในโลกของเรื่องเล่านั้น รวมถึงสื่อมวลชนได้นำมาหยิบยกเป็นประเด็นสร้างแรงกระเพื่อม ท้ายที่สุดเรื่องเล่านั้นสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจต่อผู้เล่า ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ผู้เล่าและเรื่องเล่ากลายเป็นปรากฏการณ์คือ การเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยีการสื่อสารที่ช่วยพลิกบทบาทคนธรรมดาให้เป็นผู้นำกระแส จนทำให้สื่อมวลชนและผู้อื่นต้องการถ่ายโยงเรื่องราวและเรื่องเล่าของผู้สามารถนำกระแสต่อไป
References
กาญจนา แก้วเทพ (2552), การวิเคราะห์สื่อแนวคิดและเทคนิค, กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
________. (2553), แนวพินิจใหม่ในการสื่อสารศึกษา, กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
นพพร ประชากูล (2543), “สัมพันธบท (Intertextuality)”, สารคดี, 16(182): 175-177.
ปิยะพิมพ์ สมิตดิลก (2541), การเชื่อมโยงเนื้อหานวนิยายในสื่อสิ่งพิมพ์และในสื่อละครโทรทัศน์, วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ลินิน แสงพัฒนะ (2558), สัมพันธบทของตัวละครนางเอกในสื่อละครโทรทัศน์ กรณีศึกษาละครโทรทัศน์ เรื่อง แรงเงา, การค้นคว้าอิสระปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
วรางคณา จันลา (2545), การถ่ายโยงเนื้อหาทางเพศจากวรรณกรรมสู่ภาพยนตร์เรื่อง “จัน ดารา”, วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศศิวิมล สันติราษฎร์ภักดี (2539), การศึกษาวิเคราะห์การเปรียบเทียบการถ่ายทอดวัฒนธรรมไทยผ่านสื่อนวนิยายและสื่อละครโทรทัศน์เรื่อง “สี่แผนดิน”, วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิวนารถ หงษ์ประยูร (2550), ตระกูลรายการข่าวโทรทัศน์ในประเทศไทย พ.ศ. 2548, วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัญญา ปลดเปลื้อง (2556), การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปรากฏการณ์วิทยา, วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 23(2): 1-10.
เอกชัย แสงโสดา (2563), การสื่อสารต่อสู้ต่อรองความเป็นกะเทยผ่านรายการโทรทัศน์ที่มีการนำเสนอบนยูทูบในยุคดิจิทัล, วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร.
Berger, A. (1992), Popular Culture Genres: Theories and Texts, Newbury Park: Sage.
Burns, L. et al. (2015), “The Genealogy of a Song: Lady Gaga’s Musical Intertextuality on The Fame Monster”, Twentieth-Century Music, 12(1): 3-35.
Burton, G. (1990), More than Meets the Eye: An Introduction to Media Studies, London: Arnold.
Ferguson, B. (2020), Intertextuality in the Movie Music Video, unpublished PhD thesis in Music, The Graduate Faculty of the University of Kansas.
Fiske, J. (1987), Television Culture, London: Routledge.
________. (1989), Reading the Popular, London: Routledge.
Hall, S. (1996), “On Postmodernism and Articulation: An Interview with Stuart Hall”, in Morley, D. and Chen, D. (eds.), Stuart Hall: Critical Dialogues in Cultural Studies, London: Routledge.
Williams, R. (1990), Television: Technology and Cultural Form, London: Routledge.
ซุบซิบดารา (2564), “เดย์ ฟรีแมน เปิดดราม่าชาวเมืองทิพย์เป็นที่อือฮามาก!!”, สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2564 จาก www. journobiz.com.
ผู้จัดการออนไลน์ (2560), “‘เพลิงพระนาง’...บนรอยทางประวัติศาสตร์สุดดราม่าที่ ‘มัณฑะเลย์’”, สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2564 จาก www.mgronline.com.
มติชนออนไลน์ (2564), “รู้จัก ‘พระมหาเทวีเจ้า’ ไอดอลสไตล์ติดดิน คนติดตามเกือบครึ่งล้าน แห่รับหัวลำโพงแตก”, สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2564 จาก www.matichon.co.th.
รายการ โหนกระแส (2564), “ชาวบ้านงง! ห้างแทบแตก แห่รับ "พระมหาเทวีเจ้า" แห่งเมืองทิพย์ คือใคร?”, สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2564 จาก www.youtube.com/watch?v=HSoczAnX5C0
Soules, M. (2021), Harold Adams Innis: The Bias of Communication & Monopolies of Power, retrieved 9 March 2020 from www.media-studies.ca.