แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้ประกาศข่าว สถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทย
คำสำคัญ:
ผู้ประกาศข่าว, สถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัล, สมรรถนะผู้ประกาศข่าว, ผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทยบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะและวิธีการพัฒนาสมรรถนะผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทย ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ประกาศข่าวและปัจจัยการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ ที่ส่งผลต่อสมรรถนะของผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทย และวิเคราะห์และนำเสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทย โดยการแจกแบบสอบถามให้กับผู้ประกาศข่าวทางสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทย ได้รับการตอบแบบสอบถามกลับมา 136 คน และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาผู้ประกาศข่าว จำนวน 17 คน ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทยมีสมรรถนะโดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ย 4.41 โดยมีสมรรถนะในด้านคุณลักษณะมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยโดยรวม 4.63 รองลงมามีสมรรถนะในด้านทักษะ มีค่าเฉลี่ยโดยรวม 4.35 และมีสมรรถนะด้านความรู้ความเข้าใจน้อยที่สุด มีค่าเฉลี่ยโดยรวม 4.30 (2) ในด้านปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ประกาศข่าว พบว่า ผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทยที่มีอายุแตกต่างกัน มีสมรรถนะด้านความรู้ความเข้าใจและด้านทักษะแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนในด้านปัจจัยการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ พบว่า ส่งผลต่อสมรรถนะด้านความรู้ความเข้าใจของผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทย ได้ร้อยละ 20.5 ส่งผลต่อสมรรถนะด้านทักษะของผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทย ได้ร้อยละ 7.9 และส่งผลต่อสมรรถนะด้านคุณลักษณะของผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทย ได้ร้อยละ 7.8 (3) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทย ได้แก่ สถานีโทรทัศน์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาตัวเองของผู้ประกาศข่าว จัดฝึกอบรมอย่างสม่ำเสมอ เปิดโอกาสให้ผู้ประกาศข่าวได้แสดงศักยภาพ พร้อมทั้งติดตามประเมินผลสมรรถนะอย่างต่อเนื่อง ผู้ประกาศข่าวต้องขวนขวายหาความรู้รอบตัว หมั่นฝึกฝนพัฒนาทักษะ หาพื้นที่ให้ตัวเองแสดงศักยภาพ นอกจากนี้ กสทช. สมาคมสื่อ สมาคมจริยธรรมสื่อ และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ต้องกำหนดมาตรฐานการทำหน้าที่ของผู้ประกาศข่าว เพิ่มการกำกับดูแลอย่างจริงจัง และคัดกรองผู้เข้าสอบใบผู้ประกาศอย่างเข้มข้นมากยิ่งขึ้น
References
ชนัญสรา อรนพ ณ อยุธยา (2556), การกำกับดูแลเนื้อหารายการที่อาจเป็นภัยในกิจการโทรทัศน์ของประเทศไทยเพื่อคุ้มครองเด็กและเยาวชนภายใต้ภาวะสื่อหลอมรวม, วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทวีศักดิ์ เทพพิทักษ์ (2556), “การใช้แบบจำลอง KAP กับการศึกษาพฤติกรรมและทัศนคติการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ของคนประจำเรือไทย”, วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ, 8(2): 84-102.
ธาม เชื้อสถาปนศิริ (2557), สื่อโทรทัศน์ในยุคดิจิทัล เรื่อง 7Cs ความท้าทายคนโทรทัศน์ในยุคดิจิทัล!, กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
วีระศักดิ์ พัทบุรี (2559), รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการบริหารความขัดแย้ง สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวะชายแดนภาคใต้, วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ศิริวัฒน์ เปลี่ยนบางยาง (2558), “ประสิทธิผลของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น”, Veridian E-Journal ฉบับมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(3): 1051-1062.
สมศักดิ์ สวัสดี (2557), “รูปแบบการจัดการทรัพยากรมนุษย์ส่งผลต่อประสิทธิผลขององค์การวิสาหกิขนาดกลางและขนาดย่อมด่านผลผลิตของภาคตะวันออก”, วารสารการจัดการสมัยใหม่, 12(2): 133-147.
สาธิต ดิษโยธิน และคณะ (2558), “รูปแบบการจัดการเทคโนโลยีการออกอากาศโทรทัศน์ระบบดิจิทัลของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส”, วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(1): 91-101.
สุจิตรา ธนานันท์ (2553), การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ = Human Resource Development, กรุงเทพฯ: พีพีเอ็น เพรส.
สุทิติ ขัตติยะ (2555), หลักการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์, นนทบุรี: ประยูรวงศ์พริ้นท์ติ้ง.
สุปราณี ศิริสวัสดิ์ชัย และคณะ (2559), “ดัชนีชี้วัดความเป็นวิชาชีพของผู้ประกาศไทย”, วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 11(33): 11-16.
สุรพงษ์ โสธนะเสถียร (2558), “การประเมินความสัมพันธ์ระหว่างเขื่อน/โรงไฟฟ้า กฟผ. กับชุมชนที่อยู่โดยรอบ”, วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์, 9(2): 11-32.
สุวิมล จินะมูล (2560), “บทบาทสื่อโทรทัศน์ยุคดิจิทัลในการรายงานข่าวแผ่นดินไหวประเทศเนปาล ของ สถานีโทรทัศน์พีพีทีวี”, วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 5(2): 677-683.
Cremedas, M. and Lysak, S. (2011), New Media" Skills Competency Expected of TV Reporters and Producers: A Survey, New York: Syracuse University.
Da Silva, E. and Penteado, R. (2014), “Characteristics of Innovations in Television Journalism and the Expressiveness of the Anchor”, Audiology--Communication Research (on-line version).
Gibson, J. (2014), “The Snowden Effect Dominates 2014's Trends in Newsrooms Report”, World Editors Forum, Italy: The Guardian.
ICFJ Survey (2018), The State of Technology in Global Newsrooms, Washington: Georgetown University’s Communication, Culture and Technology (CCT).
Lee, C. et al. (2015), “The Relationship between HRM Practices and the Service Performance of Student Interns: Industry Perspective”, S.Afr.J.Bus.Manage, 46(3): 1-9.
Nygren, G. (2014), “Multiskilling in the Newsroom--De-skilling or Re-skilling of Journalistic Work?”, The Jourmal of Media Innovations, 1(2): 75-96.
ธนุเดช ธานี (2558), “การนำระบบ Competency ไปใช้ในการพัฒนาองค์กร”, People Develop Center, สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2561 จาก www.peopledevelop.net/15816673/competency-กับการพัฒนาองค์กร.
Alejando, J. (2010), “Journalism in the Age of Social Media”, retrieved 1 July 2018 from
https://www .mediaforum.md/upload/theme-files/journalism-inthe-age-of-social-mediapdf-554fbf10114c6.pdf.
Fineman, S. (2014), “Age Matters”, retrieved 1 July 2018 from https://doi.org/10.1177/0170840614553771.