ฝันรักในรอยทราย: ความปรารถนาทางเพศของตัวละครเอกหญิง ในนวนิยายโรมานซ์ชุด ดวงใจเจ้าทะเลทราย
คำสำคัญ:
จินตนาการทางเพศ, ผู้หญิง, นวนิยายโรมานซ์ทะเลทราย, เรื่องเร้ากามารมณ์, บริโภคนิยมบทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งวิเคราะห์การนำเสนอความปรารถนาทางเพศของตัวละครเอกหญิง ที่สัมพันธ์กับพื้นที่ทะเลทรายในนวนิยายชุด ดวงใจเจ้าทะเลทราย จากการศึกษาพบว่า ตัวบทนำเสนอการเดินทางไปยังดินแดนทะเลทรายของตัวละครเอกหญิงไทยเพื่อการท่องเที่ยวและหาประสบการณ์การทำงาน ทว่า เรื่องเล่าหลักกลับมุ่งเน้นเรื่องเร้ากามารมณ์ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่ตัวละครเอกหญิง ดินแดนทะเลทรายถูกนำเสนอนัยทางเพศผ่านมุมมองของตัวละครเอกหญิง โดยปรากฏภาพลักษณ์ตายตัวของพื้นที่และชาติพันธุ์ชาวตะวันออกกลางในสองลักษณะคือ เมืองที่มีอารยธรรมพื้นถิ่นดั้งเดิม และเมืองมหานครแบบสมัยใหม่ สอดคล้องกับภาพของตัวละครชีค ซึ่งเป็นผู้ชายชาวตะวันออกกลาง คมเข้ม และดุดัน การนำเสนอภาพทั้งสองลักษณะทำให้ดินแดนทะเลทรายกลายเป็นพื้นที่คลุมเครือ อันก่อให้เกิดความรู้สึกเย้ายวนและน่าตื่นใจทางเพศ อนึ่ง การท่องเที่ยวในบริบทของสังคมทุนนิยมที่เน้นการบริโภค มีส่วนเสริมสร้างให้ดินแดนทะเลทรายกลายเป็นโลกของความฝันที่น่าหลงใหล จนครอบงำเหนือจิตใจและเรือนร่างของตัวละครเอกหญิง ดังแสดงผ่านอาการหิวกระหายอาหารตะวันออกกลางอย่างไม่อาจควบคุมตัวเอง ดังนั้นดินแดนทะเลทรายจึงเป็นพื้นที่ปลดปล่อยความปรารถนาทางเพศของตัวละครเอกหญิง ซึ่งเกิดขึ้นภายใต้อำนาจของลัทธิบริโภคนิยมที่กระทำผ่านโลกของความฝันทางเพศ
References
ภาษาไทย
ชุติมา ประกาศวุฒิสาร (2563), หญิงร้ายในกายงาม: ความเป็นหญิงกับวิกฤตความเป็นสมัยใหม่ในสังคมไทย, กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นศามณี (2562), ระอุรักเจ้าทะเลทราย, กรุงเทพฯ: ไลต์ออฟเลิฟ.
ปิยะธิดา เกตุชาติ และวรรณพร พงษ์เพ็ง (2560), “ภาพแทนผู้หญิงในวรรณกรรมรักโรแมนติกสำหรับผู้ใหญ่ของสำนักพิมพ์ไลต์ ออฟ เลิฟ”, วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม, 6(2): 20-36.
สมสุข หินวิมาน (2558), ว่างยังวุ่น: ชนชั้น เพศสภาพ และเวลาว่างของผู้หญิง, กรุงเทพฯ: พารากราฟ.
สัมฤทธิ์ ทองสิมา (2536), อาหรับในนวนิยายของลักษณวดี โสภาค สุวรรณ และประภัสสร เสวิกุล, วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรเดช โชติอุดมพันธ์ (2559), อ่านเมือง เรื่องคนกรุง: วรรณกรรม วิถีความสัมพันธ์ และภาพแทนของพื้นที่, กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไอศิกา (2562), หวานใจเจ้าทะเลทราย, กรุงเทพฯ: ไลต์ออฟเลิฟ.
ภาษาอังกฤษ
Bassnett, S. (2002), “Travel Writing and Gender”, in Hulme, P. and Young, T. (eds.), The Cambridge Companion to Travel Writing, Cambridge: Cambridge University Press.
Hubbard, P. (2012), Cities and Sexualities, New York: Routledge.
Illouz, E. (1997), Consuming the Romantic Utopia: Love and the Cultural Contradiction of Capitalism, Berkeley: University of California press.
McClintock, A. (1995), Imperial Leather: Race, Gender and Sexuality in the Colonial Contest, New York: Routledge.
Nagel, J. (2003), Race, Ethnicity, and Sexuality: Intimate Intersections, Forbidden Frontiers, New York: Oxford University Press.
Purcell, N. (2012), Violence and the Pornographic Imaginary: The Politics of Sex, Gender, and Aggression in Hardcore Pornography, New York: Routledge.
Teo, H. (2012), Desert Passions: Orientalism and Romance Novels, Ausin: University of Texas Press.