วิถี (อ) ชีวิตกับโลกทุนนิยมในนวนิยายชุด Ghost Marketing

ผู้แต่ง

  • สิขรินทร์ สนิทชน

คำสำคัญ:

นวนิยายผี, การบริโภค, ทุนนิยม

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานวนิยายชุด Ghost Marketing ที่ประกอบด้วยเรื่อง รีสอร์ตผีเพี้ยน ร้านโชว์เฮี้ยน และ กาแฟกลิ่นวิญญาณ ว่า มีการนำเสนอแนวคิดทุนนิยมผ่านตัวละครผีอย่างไร เนื่องจากนวนิยายชุดนี้นำแนวคิดเรื่องการบริโภคและการตลาดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบทุนนิยม มาผูกเป็นความขัดแย้งในเรื่องแล้วนำเสนอในรูปแบบนวนิยายผี ผลการศึกษาพบว่า ระบบทุนนิยมถูกนำเสนอผ่านตัวละครผีอย่างซับซ้อน ดังจะเห็นได้จาก รีสอร์ตผีเพี้ยน ที่กล่าวถึงประเด็นของการสืบทอดแนวคิดทุนนิยม โดยเชื่อมโยงกับวิธีการสืบทอดทางสายเลือดในครอบครัว ต่อมาคือ ร้านโชว์เฮี้ยน ที่แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของทุนนิยมที่สามารถปรับเปลี่ยนตัวเองเพื่อให้ดำรงอยู่ในสังคมบริโภคต่อไปได้ ขณะเดียวกัน ระบบก็เป็นปัจจัยที่ทำให้คนในสังคมต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตตามทุนนิยมเช่นกัน และ กาแฟกลิ่นวิญญาณ ซึ่งชี้ให้เห็นการวิพากษ์ตนเองของระบบทุนนิยมที่กระทำต่อมนุษย์ให้แปลกแยกจากสังคม และวิพากษ์การทำธุรกิจที่กลุ่มทุนขนาดใหญ่เอาเปรียบทุนขนาดเล็ก

References

ภาษาไทย

กฤษฎา ขำยัง (2552), วิถีเมืองในงานเขียนของ ปราบดา หยุ่น, วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหา

บัณฑิต สาขาวิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ ภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ จุฬาลงกรณ์หาวิทยาลัย.

เก่งกิจ กิติเรียงลาภ (2557), “การกลับมาของ Antonio Negri: ว่าด้วยการตีความ Spinoza จากมุมมอง

มาร์กซิสต์ ทุนนิยม และโครงการทางการเมืองของคอมมิวนิสม์”, ใน เวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย ครั้งที่ 7 = The 7th Humanities research forum in Thailand, นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

เจมส์ ฟุลเชอร์ (2554), ทุนนิยม: ความรู้ฉบับพกพา = Capitalism: A Very Short Introduction, แปลโดย

ปกรณ์ เลิศเสถียรชัย, กรุงเทพฯ: โอเพ่นเวิลด์ส.

ฉลาดชาย รมิตานนท์ (2543), “ผี-เปรต: วาทกรรมแห่งอำนาจหรือความงมงาย”, ใน ไสยศาสตร์ครอง

เมือง, กรุงเทพฯ: โครงการวิถีทรรศน์.

ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ (2548), “ทศวรรษหน้าของนวนิยายไทย”, ใน อ่าน (ไม่) เอาเรื่อง, กรุงเทพฯ: คบไฟ.

ปราปต์ (2560), ร้านโชว์เฮี้ยน Ghost Shop, กรุงเทพฯ: ก้าวกระโดด.

ปริชญา (2560), กาแฟกลิ่นวิญญาณ Ghost Cafe, กรุงเทพฯ: ก้าวกระโดด.

สมสุข หินวิมาน (2558), อ่านทีวี, กรุงเทพฯ: พารากราฟ.

สรณัฐ ไตลังคะ (2550), เรื่องสั้นแนวคตินิยมสมัยใหม่ พ.ศ. 2507-2516, วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตร ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

________. (2561), เอกสารประกอบการสอนวิชาสมัยและกระแสทางวรรณคดีและศิลปะตะวันตก, ม.ป.ท.

เสาวณิต จุลวงศ์ (2550), ความซับซ้อนของการเล่าเรื่อง: ลักษณะหลังสมัยใหม่ในบันเทิงคดีร่วมสมัย

ของไทย, วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,

________. (2561), ทุนนิยมวิพากษ์ในวรรณกรรมไทย, กรุงเทพฯ: กองทุนวิจัยคณะศิลปศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุรเดช โชติอุดมพันธ์ (2559), อ่านเมือง เรื่องคนกรุง วาทกรรม วิถีความสัมพันธ์ และภาพแทนของพื้นที่,

กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสนาะ เจริญพร (2548), ผู้หญิงกับสังคมในวรรณกรรมไทยยุคฟองสบู่, กรุงเทพฯ: มติชน.

อารียา หุตินทะ (2539), ภาพลักษณ์สังคมเมืองในเรื่องสั้นไทยร่วมสมัยระหว่างพุทธศักราช 2534-2536, วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต หน่วยวิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

RabbitRose (2560), รีสอร์ตผีเพี้ยน Ghost Resort, กรุงเทพฯ: ก้าวกระโดด.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06-01-2023