การศึกษาวิจัยและพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย (อายุ 3-6 ปี)

ผู้แต่ง

  • ระวีวรรณ ทรัพย์อินทร์ วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

สื่อสำหรับเด็กปฐมวัย, เด็กปฐมวัย, รายการโทรทัศน์สำหรับเด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยและพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย (อายุ 3-6 ปี) ภายใต้โครงการวิจัยการพัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านสื่อและภาควิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและจัดทำหลักสูตรการอบรมเบื้องต้น เพื่อเป็นโครงการนำร่องการอบรมพัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านการผลิตสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย 3-6 ปี และเพื่อทดลองผลิตสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ที่เหมาะกับพัฒนาการเด็กปฐมวัย การวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) ซึ่งมีการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการที่หลากหลาย ตั้งแต่การสนทนากลุ่ม (focus group discussion) การสังเกต (observation) และการทดลอง (experiment) ผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อเด็กปฐมวัยด้วย ทั้งนี้ การวิจัยสามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์คือ ได้หลักสูตรการอบรมเบื้องต้นเพื่อพัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านการผลิตสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย 3-6 ปี โดยหลักสูตรมีระยะเวลาการอบรม 1 วัน เนื้อหาครอบคลุมด้านพัฒนาการเด็ก ผลกระทบของสื่อต่อเด็กปฐมวัย การผลิตสื่อและดนตรีเพื่อเด็กปฐมวัย โดยได้นำร่องการใช้หลักสูตรแก่ทีมผู้ผลิตจำนวน 20 คน และจากการประเมินผลการอบรมพบว่า ผู้เข้าร่วมอบรมมีความพึงพอใจในภาพรวมของการจัดอบรมในระดับพึงพอใจมากที่สุด (ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ คือ 4.57) สำหรับการทดลองผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กปฐมวัยนั้นได้รายการโทรทัศน์ที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัยในช่วง 3-6 ปี จำนวน 2 รายการ ได้แก่ รายการ Flowers Power ความยาว 5 นาที จำนวน 2 ตอน และรายการ Sound to Song ความยาว 5 นาที จำนวน 2 ตอน โดยผลการการทำ audience testing พบว่า เด็กในช่วงอายุ 3-4 ปี มีความชื่นชอบ มีความสนุกสนาน และเข้าใจเนื้อหาของรายการ Sound to Song ที่ใช้เพลงและดนตรี ประกอบการเคลื่อนไหวได้ชัดเจนกว่ารายการ Flowers Power ซึ่งเป็นรายการที่สร้างเป็นเรื่องราวของสถานการณ์ต่างๆ ที่ตัวละครต้องพบเจอ ส่วนเด็กปฐมวัยช่วง 4-6 ปีนั้น จะชื่นชอบรายการ Flowers Power มากกว่า โดยเด็กๆ ระบุว่า เพราะมีเรื่องราวน่าติดตามมากกว่า

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-09-2023