Exploring Journalistic Practices amongst Disaster Journalists in Thailand's Digital Age

ผู้แต่ง

  • Orawan Sirisawat Apichayakul Faculty of Business, Economics and Communications, Naresuan University

คำสำคัญ:

ผู้สื่อข่าวภัยพิบัติ , ภัยพิบัติ , ยุคดิจิทัล , ผู้สื่อข่าวไทย , แนวปฏิบัติผู้สื่อข่าว

บทคัดย่อ

        การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวปฏิบัติของผู้สื่อข่าวด้านภัยพิบัติในยุคดิจิทัลของไทย โดยศึกษาว่าเทคโนโลยีในยุคดิจิทัลมีอิทธิพลต่อกระบวนการทำงานของนักข่าวด้านภัยพิบัติในประเทศไทยอย่างไร โดยอาศัยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ที่เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตการณ์การอบรมด้านการรายงานข่าวภัยพิบัติ ที่จัดขึ้นโดยสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย นักข่าวไทยจำนวน 12 คน ที่มีประสบการณ์ในการรายงานข่าวด้านภัยพิบัติทางโทรทัศน์ห้าปีขึ้นไป จะได้รับการสัมภษณ์และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคคราะห์เชิงแก่นสาระ (TA: thematic analysis) ผลการวิจัยมี 2 ส่วนหลัก ได้แก่ ส่วนของรูปแบ และส่วนของเนื้อหา ในส่วนของรูปแบบมี 4 ประเด็นหลักที่น่าสนใจ ในส่วนเนื้อหามี 5 ประเด็นที่หยิบยกขึ้นมานำเสนอในบทความนี้ และในส่วนของข้อค้นพบทั้งรูปแบบและเนื้อหาของการทำข่าวภัยพิบัติในยุคดิจิทัลนี้สะท้อนว่า ยุคดิจิทัลมีอิทธิพลต่อกระบวนการทำงานข่าวด้านภัยพิบัติอย่างมาก ซึ่งสอดคล้องกันกับสาระหลักของแนวคิดของสำนักเทคโนโลยีเป็นตัวกำหนด นอกจากนี้  การศึกษายังพบว่า สภาพการณ์ของตลาดสื่อที่มีการแข่งขันกับสูงในยุคดิจิทัลตลอดจนนโยบายขององค์กรสื่อแต่ละแห่งก็มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญเช่นเดียวกันต่อปฏิบัติการของนักข่าวภัยพิบัติ ซึ่งมองในมุมนี้อาจกล่าวได้ว่า ปรากฏการณ์นี้สะท้อนแนวคิดเทคโนโลยีเป็นตัวกำหนดแบบอ่อน (soft technology determinism) ที่มีมุมมองว่า แม้เทคโนโลยีจะเป็นปัจจัยหลักที่มีผลต่อโอกาสและความสามารถของการทำงานในแวดวงสื่อ แต่ปัจจัยอื่นที่มีความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงนั้นร่วมด้วยก็คือ ปฏิสัมพันธ์จากกลุ่มสังคมหรือชุมชนที่มีต่อเทคโนโลยีด้วยเช่นกัน กล่าวคือ แม้เทคโนโลยีดิจิทัลจะไม่ได้เป็นปัจจัยที่เข้าควบคุมทุกสิ่งทุกอย่าง แต่เราก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า เทคโนโลยีดังกล่าวมีความสำคัญอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงแนวปฏิบัติของผู้สื่อข่าวภัยพิบัติไทย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02-01-2024