การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมกับการบริหารจัดการความขัดแย้งในองค์กร

Main Article Content

เจริญชัย กุลวัฒนาพร

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการทำให้ความขัดแย้งที่มีอยู่ในองค์กรลดน้อยลงหรือหมดไป พบว่า ต้องมีความเข้าใจถึงเหตุปัจจัยต่อปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะเป็นเรื่องที่อ่อนไหวต่อบุคคลในองค์กร รวมถึงความเข้าใจแนวทางในการแก้ไขปัญหานั้น “ความสามัคคี” ถือเป็นคุณธรรมที่สำคัญ ที่คนในองค์กรพึงมีเพื่อการทำงานร่วมกันอย่างเป็นปกติสุข ซึ่งในทางพุทธศาสนาได้กล่าวถึงความสามัคคีว่าเป็น “หลักพุทธธรรม” เป็นที่ตั้งแห่งความพร้อมเพียงกันของหมู่คณะ ดังหลักสามัคคีธรรม 4 ที่ว่าด้วย การรู้จักประนีประนอมยอมกัน ไม่ทะเลาะวิวาทแก่งแย่งกัน รู้จักตกลงกันด้วยไมตรีจิต มีความร่วมใจกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแห่งหมู่คณะ และหลักสาราณียธรรม 6 ที่ว่าด้วยการอยู่ร่วมกันของคนในสังคมด้วยความรักความเข้าใจ และสามัคคีกัน อย่างปรองดอง รวมถึงการที่ผู้บริหารนำหลักของพรหมวิหาร 4 มาใช้กับผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งเริ่มจากความรัก ความเข้าใจ ความปรารถนาที่จะช่วยเหลือเมื่อเขามีปัญหาและความทุกข์ ความปรารถนาดีและยินดีต่อความสุขของเขา การจะบริหารความขัดแย้งได้อย่างเหมาะและมีประสิทธิภาพนั้น ผู้บริหารจำเป็นต้องทำความเข้าใจในประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง ตลอดจนวิธีการหรือเทคนิคการจัดการกับความขัดแย้ง และพยายามแก้ไขอย่างดีที่สุด เพื่อให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเหล่านั้น มีขวัญกำลังใจในการทำงาน ซึ่งเป็นการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น และเมื่อเกิดความขัดแย้งก็จะสามารถบริหารความขัดแย้งในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

Article Details

How to Cite
กุลวัฒนาพร เ. (2021). การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมกับการบริหารจัดการความขัดแย้งในองค์กร. วารสารวิจยวิชาการ, 4(3), 283–296. https://doi.org/10.14456/jra.2021.59
บท
บทความวิชาการ

References

ชัยเสฎฐ์ พรหมศรี. (2550). การจัดการความขัดแย้งในองค์กร. กรุงเทพฯ: ออฟเซ็ทครีเอชั่น จำกัด.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: การศาสนา.

วิศิษฐ์ วังวิญญู. (2552). สุนทรียสนทนา. กรุงเทพฯ: บริษัทสวนเงินมีมา จำกัด.

สันทัด ศะศิวณิช. (2551). การเจราต่อรอง. กรุงเทพฯ: บุ๊คส์เซ็นส์.

สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2533). คุณลักษณะพิเศษแห่งพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: สภาการศึกษามหามงกุฏราชวิทยาลัย.

อรุณ รักธรรม. (2525). ทฤษฎีองค์การสมัยใหม่ การบริหารองค์การ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.

Filley, Alan. C. (1975). Interpersonal Conflict Resolution. Glenview, Illinois: Scott, Foresman.

Hellriegel, Don and Slocum, John W. (2004). Organization Behavior. (10th ed.). Mason, Ohio: Thomson/South-Western.

March, James G. and Simon, Herbert A. (1958). Organizations. Urbana-Champaign's Academy for Entrepreneurial Leadership Historical Research. Illinois: University of Illinois.