ความรู้ความเข้าใจและทัศนคติของพนักงานศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ต่อการฝึกซ้อมดับเพลิงขั้นต้น 40 เปอร์เซ็นต์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ความรู้ความเข้าใจความสามารถในการนำไปใช้งาน 2) ทัศนคติต่อการฝึกดับเพลิง และ 3) ลักษณะส่วนบุคคลที่มีต่อทัศนคติของพนักงานศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ต่อการฝึกดับเพลิง วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารและที่ปรึกษาด้านการป้องกันและระงับอัคคีภัย บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) จำนวน 10 ท่าน ข้อมูลที่ได้นำมาพัฒนาเป็นเครื่องมือในการวิจัย และวิธีวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล พนักงานศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ที่เกี่ยวข้องในการฝึกซ้อมดับเพลิง จำนวน 402 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน การวิเคราะห์การจำแนกพหุ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ความรู้ความเข้าใจและความสามารถในการนำไปใช้ในการฝึกซ้อมดับเพลิงขั้นต้น ของพนักงานศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ภาพรวมทั้งหมดอยู่ในระดับปานกลาง 2) ทัศนคติในการฝึกซ้อมดับเพลิงขั้นต้นของพนักงานศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ พบว่า ภาพรวมพนักงานมีทัศนคติในการฝึกซ้อมดับเพลิง ภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วย ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ เป็นการเตรียมความพร้อมของพนักงานเมื่อเวลามีอัคคีภัยเกิดขึ้นในศูนย์การค้าฯ การฝึกซ้อมดับเพลิงขั้นต้น มีความจำเป็นสำหรับพนักงานทุกคนของศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คิดว่าแผนการฝึกซ้อมดับเพลิงขั้นต้นฯ ที่จัดขึ้นเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณและไม่มีประโยชน์ และ 3) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพการสมรส ระยะเวลาที่ทำงานในศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ แผนกที่ปฏิบัติงานในศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ และประสบการณ์ในการซ้อมดับเพลิงมีผลต่อความรู้ความเข้าใจของพนักงานฯ พบว่า ทุกปัจจัยมีผลต่อความรู้ความเข้าใจและความสามารถนำไปใช้งานได้จริง และปัจจัยส่วนบุคคลมีผลต่อทัศนคติของพนักงานศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ในการฝึกซ้อมดับเพลิง พบว่า ทุกปัจจัยมีผลต่อทัศนคติที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
ชุมพล บุญประยูร. (2555). การบริหารจัดการอัคคีภัยกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: โครงการพัฒนาบุคลากรสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร.
ธงชัย ดียิ่ง. (2560). ความรู้ความเข้าใจของผู้เข้าอบรมดับเพลิงขั้นต้นของบุคลากรโรงเรียนสุเหร่าลาดบัวขาว กรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). คณะรัฐประศาสนศาสตร์: มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.
ธงชัย สันติวงษ์ และชัยยศ สันติวงษ์. (2553). พฤติกรรมบุคคลในองค์การ. กรุงเทพฯ: ประชุมช่าง.
ธนะศักดิ์ หมัดลัง. (2560). ความพึงพอใจในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการสถานีดับเพลิงสุทธิสาร กองปฏิบัติการดับเพลิง 3 สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). คณะรัฐประศาสนศาสตร์: มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.
บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา บริษัทจำกัด (มหาชน). รายงานประจำปี 2562. (อัดสำเนา).
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2549). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
สมโภชน์ ทองชอุ่ม. (2558). ความรู้ความเข้าใจการป้องกันและระงับอัคคีภัย: กรณีศึกษา โรงแรมปรินซ์พาเลซ. (การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). คณะรัฐประศาสนศาสตร์: มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.