การมีส่วนร่วมในการป้องกันน้ำท่วมของข้าราชการตำรวจโรงเรียนนายร้อยตำรวจ

Main Article Content

กาญจนา แก้วกังวาล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมในการป้องกันน้ำท่วมของข้าราชการตำรวจโรงเรียนนายร้อยตำรวจ และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ของข้อมูลส่วนบุคคลและระดับการมีส่วนร่วมในการป้องกันน้ำท่วมของข้าราชการตำรวจโรงเรียนนายร้อยตำรวจ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ พื้นที่ในการศึกษาวิจัย ได้แก่ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ข้าราชการตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในโรงเรียนนายร้อยตำรวจ จำนวน 400 นาย แบ่งเป็นข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร 300 นาย และข้าราชการตำรวจชั้นประทวน 100 นาย โดยวิธีการสุ่มเลือกแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนและการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการมีส่วนร่วมในการป้องกันน้ำท่วมของข้าราชการตำรวจโรงเรียนนายร้อยตำรวจในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการสละเวลาอยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ด้านการบริจาคทุนทรัพย์อยู่ในระดับมาก ด้านการปฏิบัติตามแผนอยู่ในระดับปานกลาง ด้านการวางแผนอยู่ในระดับปานกลาง และด้านการแสดงความคิดเห็นและการตัดสินใจอยู่ในระดับปานกลาง และ 2) ผลการทดสอบความสัมพันธ์ของข้อมูลส่วนบุคคล ประกอบด้วย เพศ สถานภาพการสมรส หน่วยงาน/สังกัด ระยะเวลาการปฏิบัติงาน ระดับการศึกษา และตำแหน่ง มีความสัมพันธ์กับระดับการมีส่วนร่วมในการป้องกันน้ำท่วมของข้าราชการตำรวจโรงเรียนนายร้อยตำรวจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
แก้วกังวาล ก. (2021). การมีส่วนร่วมในการป้องกันน้ำท่วมของข้าราชการตำรวจโรงเรียนนายร้อยตำรวจ . วารสารวิจยวิชาการ, 4(3), 147–156. https://doi.org/10.14456/jra.2021.75
บท
บทความวิจัย

References

กิตติศักดิ์ เอื้อมระหงส์. (2557). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยชุมชนในการจัดการด้านอุทกภัยของจังหวัดอ่างทอง. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

โกวิทย์ พวงงาม. (2545). การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน. เอกสารโรเนียว การบรรยายหลักสูตรการอบรมสารวัตรสืบสวน กองบัญชาการตำรวจนครบาล. (อัดสำเนา).

แพรชมพู ประเสริฐศรี และปิยะดา วชิระวงศกร. (2559). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำยม กรณีศึกษาตำบลวังจิก อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร. (รายงานการวิจัย). คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

วัชระ เมืองประชา. (2557). การมีส่วนร่วมของตำรวจน้ำชั้นประทวนในการจัดบริการสวัสดิการของตำรวจน้ำสังกัดกองกำกับการ 7 กองบังคับการตำรวจน้ำ. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา). คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ. (2555). ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารระบบการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดนครปฐม. (2554). แผนเผชิญเหตุอุทกภัยจังหวัดนครปฐม. นครปฐม: ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยและวาตภัย จังหวัดนครปฐม.

สุภาวดี เปรมจิตร์. (2559). สภาพปัญหา สาเหตุและแนวทางการป้องกันอุทกภัยของตำบลบางยาง อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป). วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. (2557). โครงการจัดทำแผนแม่บทพัฒนาชุมชนเพื่อแก้ปัญหาหมู่บ้านอุทกภัยแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.