ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติและพฤติกรรมต่อมาตรการความปลอดภัยในการเดินทางท่องเที่ยวทางน้ำของพนักงานประจำเรือ กรณีศึกษาการเดินเรือเส้นทางพัทยา - เกาะล้าน

Main Article Content

ปัณฑารีย์ สีสะอาด

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเชิงปริมาณนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับทัศนคติและระดับพฤติกรรมต่อมาตรการความปลอดภัยทางน้ำ 2) ศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างลักษณะทางประชากรกับทัศนคติและพฤติกรรมต่อมาตรการความปลอดภัยทางน้ำ และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติและพฤติกรรมต่อมาตรการความปลอดภัยทางน้ำ กลุ่มตัวอย่างคือประชากรทั้งหมดซึ่งเป็นพนักงานประจำเรือเส้นทางพัทยา-เกาะล้าน จำนวน 150 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การทดสอบเอฟ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ LSD และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับทัศนคติและระดับพฤติกรรมต่อมาตรการความปลอดภัยในการเดินทางท่องเที่ยวทางน้ำภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างลักษณะประชากรกับทัศนคติและพฤติกรรม พบว่า เพศ อายุแตกต่างกันส่งผลกับทัศนคติด้านความปลอดภัยในการใช้ท่าเทียบเรือโดยสาร ประสบการณ์ในการทำงานแตกต่างกันส่งผลกับพฤติกรรมด้านการปฏิบัติตามคุณสมบัติของผู้ทำการในเรือและผู้ประกอบการ และ 3) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติและพฤติกรรม พบว่า ทัศนคติด้านความปลอดภัยของตัวเรือโดยสาร ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมต่อมาตรการความปลอดภัยในการเดินทางท่องเที่ยวทางน้ำ

Article Details

How to Cite
สีสะอาด ป. . (2021). ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติและพฤติกรรมต่อมาตรการความปลอดภัยในการเดินทางท่องเที่ยวทางน้ำของพนักงานประจำเรือ กรณีศึกษาการเดินเรือเส้นทางพัทยา - เกาะล้าน. วารสารวิจยวิชาการ, 4(4), 133–142. https://doi.org/10.14456/jra.2021.88
บท
บทความวิจัย

References

คมชัดลึก. (2563). เหตุเรือล่มสมุย. เข้าถึงได้จาก https://www.komchadluek.net/news/re gional/438951

ทิพย์รัตน์ วุฒิสินธุ์. (2560). ความคิดเห็นของผู้โดยสารต่อความปลอดภัยในการโดยสารทางเรือระหว่างท่าเรือศรีราชาและเกาะสีชัง. (งานนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน). วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ไทยรัฐออนไลน์. (2560). ย้อนนาทีระทึก-เรือล่ม 6 ศพ “พัทยา”. เข้าถึงได้จาก: https://www. thairath.co.th/ content/380452

ธัญญาภัทร์ ศรสุวรรณหิรัญ และประภาพร ประเทศ. (2559). ความปลอดภัยบนเรือ. เข้าถึงได้จาก: https://sites.google.com/site/khwampxnim/about-the-location

สำนักงานเมืองพัทยาสาขาเกาะล้าน. (2556). เกาะล้านและการบริหารสำนักเมืองพัทยาสาขา เกาะล้าน. เข้าถึงได้จาก: http://info.pattaya.go.th/DocLib7/ เกาะล้านและการบริหารสำนักเมืองพัทยาสาขาเกาะล้าน.aspx

สุพิชชา ณ ป้อมเพ็ชร. (2553). สวัสดิภาพในการจราจรทางน้ำ. เข้าถึงได้จาก: http://www.ipesp .ac.th/learning/supitcha/html/E4-3.html

อนุราช วิมล. (2555). การมีส่วนร่วมในการป้องกันอุบัติภัยทางน้ำของคนประจำเรือโดยสาร อำเภอ เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.