สมรรถนะการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของพยาบาลวิชาชีพ

Main Article Content

มารศรี ศิริสวัสดิ์
วาโร เพ็งสวัสดิ์
วัลนิกา ฉลากบาง
เอกลักษณ์ เพียสา

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของพยาบาลวิชาชีพและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของพยาบาลวิชาชีพ พบว่า 1) ความหมายของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม ที่เป็นการพยาบาลที่เน้นการให้คุณค่า และการปฏิบัติโดยเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างทางวัฒนธรรมของบุคคลหรือกลุ่มบุคคล 2) หลักสมรรถนะการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของพยาบาลวิชาชีพที่เป็นการดูแล และให้การพยาบาล ที่สอดคล้องกับความต้องการในการดูแลเฉพาะของเชื้อชาติหรือวัฒนธรรมนั้น ๆ 3) องค์ประกอบของการพัฒนาสมรรถนะการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของพยาบาลวิชาชีพ ที่ประกอบด้วย สมรรถนะในการรับรู้ความแตกต่างของบุคคล สมรรถนะทางการสื่อสาร สมรรถนะการปฏิบัติตามกระบวนการพยาบาล สมรรถนะทางจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ และสมรรถนะในการบริหารความเสี่ยง และ 4) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของพยาบาลวิชาชีพ โดยมีแนวทาง ดังนี้ 4.1) การสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของความหลากหลายทางวัฒนธรรมให้กับพยาบาล 4.2) ฝึกให้พยาบาลได้เข้าไปร่วมรับรู้ความรู้สึกโดยตรงจากสถานการณ์จริง 4.3) การสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม 4.4) การสร้างความสามารถในการเผชิญและจัดการ 4.5) การส่งเสริมให้มีความปรารถนาที่จะมีสมรรถนะทางวัฒนธรรม การมีสมรรถนะการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมหรือมีความเข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรมจะทำให้พยาบาลให้การพยาบาลผู้รับบริการได้สอดคล้องกับวัฒนธรรมของแต่ละบุคคล เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยรอด ปลอดภัย ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน สุขภาพดี อันจะนำไปสู่การมีสัมพันธภาพที่ดีระหว่างพยาบาลและผู้ป่วย ก่อให้เกิดความพึงพอใจในบริการ

Article Details

How to Cite
ศิริสวัสดิ์ ม. ., เพ็งสวัสดิ์ ว. ., ฉลากบาง ว. ., & เพียสา เ. . (2021). สมรรถนะการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของพยาบาลวิชาชีพ. วารสารวิจยวิชาการ, 4(3), 311–324. https://doi.org/10.14456/jra.2021.61
บท
บทความวิชาการ

References

กุสุมาลี โพธิปัสสา. (2559). การดูแลเด็กป่วยและครอบครัวข้ามวัฒนธรรม. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร, 10(3), 236-246.

จินตนา อาจสันเที๊ยะ และสายสมร เฉลยกิจ. (2559). การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน.วารสารพยาบาลทหารบก, 17(1), 10-16.

ชฎารัตน์ ศรุตศุทธิพิพัฒน์. (2560). ตัวชี้วัดการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 29(3), 19-29.

ชลลดา ติยะวิสุทธิ์ศรี, ภาณุวัฒน์ ภักดีวงศ์ และชมนาด วรรณพรศิริ (2559). การพยาบาลพหุวัฒนธรรม: สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับพยาบาลไทยในอนาคต. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 10(1), 8-15.

ปานจันทร์ ชูทิพย์. (2559). การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลเอกชน. วารสารการพยาบาลและการดูสุขภาพ, 34(1), 170-178.

ภารวี อยู่วัฒนา และกัญญดา ประจุศิลปะ. (2560). ปัจจัยส่วนบุคคล สิ่งแวดล้อมในการทำงานภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วย กับสมรรถนะการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเอกชน กรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลทหารบก, 18(2), 174-184.

ลัดดาวัลย์ พุทธรักษา, อารีรัตน์ ขาอยู่ และ จิณห์จุฑา ชัยเสนา ดาลลาส. (2558).การพัฒนาเกณฑ์และมาตรฐานบริการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม. วารสารกระทรวงสาธารณสุข, 27(1), 168-184.

ลัดดาวัลย์ พุทธรักษา. (2559). บทบาทของอาจารย์พยาบาลต่อ การนำแนวคิดการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมสู่การปฏิบัติ.วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 21(2), 11-22.

วีรนุช วิบูลย์พันธ์. (2552). สมรรถนะการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเอกชน. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 21(3), 29-43.

หทัยรัตน์ ชลเจริญ. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะการพยาบาลต่างวัฒนธรรมของพยาบาลศึกษาสมรรถนะการพยาบาลต่างวัฒนธรรมของพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนในการดูแลผู้รับบริการมุสลิม. (วิทยานิพนธ์พยาบาลมหาบัณฑิต). บัณฑิตศึกษา: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อังคณา วังทอง, อนุชิต วังทอง, ต่วนฮานาณี วัดเส็น และวันดี สุทธรังษี. (2561). มุมมองผู้รับบริการต่อการพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ในพื้นที่ต่างวัฒนธรรม บริบทอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 48(26), 035-044.

อนุชิต อินปลัดและคณะ. (2559). ความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพต่อสมรรถนะพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลอุดรธานี. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร, 9(2), 1-11.

College of Nurses of Ontario. (2009). Culturally Sensitive Care. Toronto: College of Nurses of Ontario.

Campinha-Bacote, J. (2011). The process of cultural competence in the delivery of healthcare services: A model of care. Journal of Transcultural Nursing, 13(3), 181-184.

Giger, J.N. & Davidhizar, R. (2002). The Giger and Davidhizar Transcultural Assessment Model. Journal of Transcultural Nursing, 13(3), 185-188.

Leininger, M. (2002). Cultural care theory: A major contribution to advance transcultural nursing knowledge and practice. Journal of transcultural Nursing, 13(2), 189-192.

Purnell, L. (2005). The Purnell model for cultural competence. The Journal of Multicultural Nursing and Health, 11(2), 7-15.