แนวทางการบริหารจัดการความปลอดภัยของบุคลากรพยาบาลในหอผู้ป่วยหนักของโรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

สันต์ฤทัย ธาราภิรมย์รักษ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสบการณ์ของหัวหน้าหอผู้ป่วยหนักในการจัดการความปลอดภัยของบุคลากร และ 2) ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการความปลอดภัยของบุคลากรพยาบาลในหอผู้ป่วยหนักของโรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร ในการจัดการความปลอดภัยของบุคลากรพยาบาลในหอผู้ป่วยหนัก ใช้วิธีการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interview) ประกอบด้วย หัวหน้าพยาบาลประจำแผนกต่าง ๆ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) และการบันทึกเทปนำข้อมูลที่ได้มาถอดความแบบคำต่อคำและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1) ประสบการณ์ของหัวหน้าหอผู้ป่วยหนักในการจัดการความปลอดภัยบุคลากรพยาบาล มีประเด็นสำคัญ 3 ประเด็น คือ 1.1) การจัดการต่อการดูแลผู้ป่วย 1.2) การจัดการต่อระบบพยาบาล 1.3) การจัดการต่อบุคลากรพยาบาล และ 2) แนวทางการบริหารจัดการความปลอดภัยของบุคลากรพยาบาลในหอผู้ป่วยหนัก มีประเด็นสำคัญ 5 ประเด็น คือ 2.1) การวางแผนงาน (Planning) 2.2) การจัดองค์การ (Organizing) 2.3) การจัดหาและพัฒนาบุคลากร (Staffing) 2.4) การอำนวยการ (Leading) และ 2.5) การควบคุมประเมินผล (Controlling)

Article Details

How to Cite
ธาราภิรมย์รักษ์ ส. (2021). แนวทางการบริหารจัดการความปลอดภัยของบุคลากรพยาบาลในหอผู้ป่วยหนักของโรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจยวิชาการ, 4(3), 137–146. https://doi.org/10.14456/jra.2021.74
บท
บทความวิจัย

References

จารุวรรณ วิโรจน์. (2551). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ความ ปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน: การวิเคราะห์พหุระดับ. (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวสถิติ). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ณัฐวัตร มนต์เทวัญ. (2551). การบริหารงานความปลอดภัย ในเอกสารการสอนชุดวิชาการบริหารงานความปลอดภัย. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นิตยา ศรีญาณลักษณ์. (2552). การบริหารการพยาบาล. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก.

พวงรัตน์ บุญญานุรักษ์. (2551). การใช้แนวคิดความแกร่งในการพัฒนาคุณภาพของผู้บริหารทางการพยาบาล. วารสารคุณภาพการพยาบาล, 5(1), 5.

เมธิณี เกตวาธิมาตร. (2560). บทบาทของพยาบาลวิชาชีพในการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดในระยะวิกฤต. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 11(2), 71-80.

สุทธิมาภรณ์ หมัดสาลี. (2553). การจัดการความปลอดภัยในการทำงานของหัวหน้าห้องผ่าตัด พฤติกรรมการทำงานที่ปลอดภัยและอันตรายจากการทำงานของพยาบาลห้องผ่าตัดโรงพยาบาลทั่วไปภาคใต้. (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Anderson. P. (1989). Safety management for mechanical plant construction. London: Kluwer publishing.

Brown, W.B., & Moberg. D. J. (1980). Organization theory and Management: A macro approach. New York: Joho Wiley and Sons.

Leape, Lucian L., Lawthers, Ann G., Brennan, Troyen A. and Johnson, William G. (1993). Preventing Medical Injury. QRB – Quality Review Bulletin, 19(5), 144-149.