รูปแบบการป้องกันอาชญากรรมร้านทองในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

เกียรติขจร พีเกาะ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงสภาพปัญหาการดำเนินงานฝ่ายป้องกันปราบปรามอาชญากรรมร้านทอง การวิ่งราวทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์  ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา และ 2) ศึกษาถึงรูปแบบการป้องกันอาชญากรรมเกี่ยวกับการวิ่งราวทรัพย์ของร้านทอง การวิ่งราวทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ใช้การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยแบ่งกลุ่มผู้ให้ข้อมูลรูปแบบการป้องกันอาชญากรรมร้านทองในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ออกเป็นจำนวน 3 กลุ่ม คือ 1) เจ้าหน้าที่ตำรวจระดับผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ปฏิบัติงาน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 2) ผู้ประกอบการร้านทอง นายกสมาคมร้านทอง และร้านทองไท้เฮ้งล้ง ที่ถูกวิ่งราวทรัพย์ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา และ 3) ปลัดเทศบาลนครนครราชสีมา หัวหน้าฝ่ายควบคุมอาคารเทศบาล และหัวหน้าฝ่าผังเมืองเทศบาลจังหวัดนครราชสีมา ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัญหาอาชญากรรมเกี่ยวกับการวิ่งราวทรัพย์ของร้านทองในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา พบว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดเหตุอาชญากรรมเกิดจากปัญหาด้านเศรษฐกิจ ปัญหาด้านยาเสพติด และปัญหาด้านการพนัน เนื่องจากสถานประกอบการร้านทองเป็นกลุ่มเสี่ยงหนึ่งในการเกิดเหตุอาชญากรรมในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการลักทรัพย์ การวิ่งราวทรัพย์  ชิงทรัพย์  หรือปล้นทรัพย์ รูปแบบแนวทางการป้องกันปัญหาอาชญากรรมของสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา และ 2) รูปแบบแนวทางด้านป้องกันเกี่ยวอาชญากรรม ในภารกิจหลัก 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการสื่อสารทำโดยการเมื่อผู้ประกอบการร้านทองพบเหตุอาชญากรรมสามารถแจ้งเหตุโดยตรงทางสายด่วน 191 และทางแอปพลิเคชันไลน์ในสมาร์ทโฟน

Article Details

How to Cite
พีเกาะ เ. (2021). รูปแบบการป้องกันอาชญากรรมร้านทองในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจยวิชาการ, 4(3), 241–254. https://doi.org/10.14456/jra.2021.56
บท
บทความวิจัย

References

ชรินทร์ โกพัฒน์ตา. (2557). คู่มือการบริหารการป้องกันและควบคุมอาชญากรรมคดีประเภทประทุษร้ายต่อทรัพย์ธนาคารร้านทอง. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยการตำรวจ กองบัญชาการศึกษา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ.

ชาญคณิต กฤตยา สุริยะมณี. (2558). ทฤษฎีอาชญาวิทยาร่วมสมัยกับการวิจัยทางด้านอาชญาวิทยาในปัจจุบัน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นททบุรี: หยินหยางการพิมพ์.

เชิดชัย ศรีโสภา. (2557). การพิจารณาใช้ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิดสำหรับงานรักษาความปลอดภัยองค์กร ธุรกิจก่อสร้าง. (การค้นคว้าอิสระหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และการสื่อสาร). คณะวิศวกรรมศาสตร์: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ธนภัทร เกิดกอบเกียรติ. (2556). ความคิดเห็นของคณะกรรมการชุมชนต่อการมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความ ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน). วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์. (2545). การควบคุมอาชญากรรมจากสภาพแวดล้อม: หลักทฤษฎีและมาตรการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บรรณกิจ 1991.