PLC ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสู่การบริหารสถานศึกษา

Main Article Content

พระครูสังฆรักษ์สิงห์ชัย ฐิตธมฺโม
พระครูศรีสุธรรมนิวิฐ

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำกระบวนการ PLC ไปใช้ในการปฏิบัติงานของสถานศึกษา พบว่า การพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ได้นั้น ปัจจัยที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งที่จะขาดมิได้ก็คือ จะต้องมีชุมชนแห่งวิชาชีพ เกิดขึ้นในโรงเรียนนั้นเพื่อให้เป็นสถานที่สำหรับการปฏิสัมพันธ์ของมวลสมาชิกผู้ประกอบวิชาชีพครูของโรงเรียน เกี่ยวกับเรื่องการให้ความดูแลและพูดถึงการปรับปรุงผลการเรียนของนักเรียน ตลอดจนงานทางวิชาการของโรงเรียน และ เนื่องจากครูส่วนใหญ่ในแทบทุกประเทศมักเกิดความรู้สึกโดดเดี่ยวในการปฏิบัติงานสอนของตน ดังนั้นการมี “ชุมชนแห่งวิชาชีพ” เกิดขึ้นในโรงเรียนจึงช่วยคลี่คลายปัญหาดังกล่าว เพราะทำให้ครูมีโอกาสพูดคุยกับ บุคคลผู้มีส่วนได้เสียกับงานของครู แต่แน่นอนว่าเหตุการณ์ทำนองนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อต้องมีการเปลี่ยนด้านโครงสร้างของโรงเรียน ตลอดจนจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมของโรงเรียนอีกด้วย โดยกิจกรรมของชุมชนแห่งวิชาชีพในโรงเรียนควรประกอบด้วย การมีโอกาสเสวนาใคร่ครวญระหว่างกัน การเปิดกว้างให้มีการปฏิสัมพันธ์ ในหมู่ครูผู้สอนมากขึ้น เพื่อลดความรู้สึกโดดเดี่ยวในงานสอนของครู การรวมกลุ่มเพื่อเน้นเรื่องการเรียนรู้ของนักเรียน การร่วมมือร่วมใจกันในหมู่ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา การแลกเปลี่ยนในประเด็นที่เป็นค่านิยมและปทัสถาน

Article Details

How to Cite
พระครูสังฆรักษ์สิงห์ชัย ฐิตธมฺโม, & พระครูศรีสุธรรมนิวิฐ. (2022). PLC ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสู่การบริหารสถานศึกษา. วารสารวิจยวิชาการ, 5(6), 289–300. https://doi.org/10.14456/jra.2022.152
บท
บทความวิชาการ

References

ณรงค์ฤทธิ์ อินทนาม. (2553). การพัฒนาหลักเทียบสำหรับการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียน. (ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฏีบัณฑิต). ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประภาพรรณ รักเลี้ยง. (2556). หลักทฤษฎี และปฏิบัติการบริหารการศึกษา. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยพิษณุโลก.

อำนาท เหลือน้อย. (2561). รูปแบบการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนมาตรฐานสากล. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

Hord, S. M., Roussin, J. L., & Sommers, W. A. (2009). Guiding professional learning communities: Inspiration, challenge, surprise, and meaning. Thousand Oaks, CA: Corwin.

Thompson, S. C., Gregg, L., and Niska, J. M. (2004). Professional learning communities, leadership and student learning. RMLE Online, 28(1).