แนวทางการบริหารงานแนะแนวในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2

Main Article Content

ปนัดดา สิงห์โต

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการบริหารงานแนะแนว และ 2) หาแนวทางการบริหารงานแนะแนว ในโรงเรียนขยายโอกาส กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูที่อยู่ในโรงเรียนขยายโอกาส จำนวน 248 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ แบบสอบถามที่มีความความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัญหาการบริหารงานแนะแนวในโรงเรียนขยายโอกาสโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ปัญหาที่พบสูงสุดอยู่ในด้านบริการสำรวจข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล รองลงมา คือ ปัญหาด้านบริการสารสนเทศ ส่วนด้านที่มีปัญหาต่ำสุด คือ ด้านบริการจัดวางตัวบุคคล 2) แนวทางการบริหารงานแนะแนวในโรงเรียนขยายโอกาส มีดังนี้ 2.1) ด้านบริการสำรวจข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล ควรจัดอบรมการแนะแนวในโรงเรียน และจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ แต่งตั้งคณะกรรมการในการเก็บรวบข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล 2.2) ด้านบริการสารสนเทศ บริการข้อมูลข่าวสารด้านการศึกษา อาชีพ ความรู้ต่าง ๆ ให้กับนักเรียน และควรมีการจัดสรรงบประมาณติดตั้งอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในโรงเรียน 2.3) ด้านบริการให้คำปรึกษา ควรจัดอบรมให้กับครูและบุคลากร เกี่ยวกับจิตวิทยาการแนะแนวและวิธีการให้คำปรึกษาแก่นักเรียน เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา และการแนะแนวมาให้คำปรึกษาแก่นักเรียน จัดให้มีห้องส่วนตัวสำหรับการให้คำปรึกษา 2.4) ด้านบริการจัดวางตัวบุคคล จัดหารายได้ระหว่างเรียนให้กับนักเรียน และจัดกิจกรรมในการระดมทุนจากหน่วยงานต่าง ๆ ให้กับนักเรียน จัดให้มีการแนะแนวการศึกษาต่อ แนะแนวอาชีพเพื่อช่วยให้นักเรียนมีแนวทางในการเรียน และประกอบอาชีพตรงตามความสามารถของตนเอง 2.5) ด้านบริการติดตามผล มีการติดตามผลการเข้าศึกษาต่อและการประกอบอาชีพของนักเรียนหลังสำเร็จการศึกษาและนำผลจากการติดตามมาวิเคราะห์เพื่อนำมาพัฒนาส่งเสริมนักเรียน

Article Details

How to Cite
สิงห์โต ป. (2021). แนวทางการบริหารงานแนะแนวในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. วารสารวิจยวิชาการ, 4(3), 61–74. https://doi.org/10.14456/jra.2021.68
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขึ้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ครุสภา.

เกศรา น้องคนึง. (2560). การพัฒนาแนวทางการบริหารงานแนะแนวโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20. วารสารการบริหารและทิศการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 8(1), 129-130.

เชาวนา อมรส่งเจริญ. (2553). การบริหารงานแนะแนวของโรงเรียน สังกัดเทศบาลนครนนทบุรี. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

ปทุม มหาปราบ. (2557). การศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารงานแนะแนวในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต1. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 1(1), 37-45.

ผกามาศ เฟื่องฟู. (2558). การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานแนะแนวของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 จังหวัดสุราษฎร์ธานี. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ภาคี ขุนนนท์. (2553). การศึกษาแนวทางการบริหารงานแนะแนวโดยสร้างเครือข่ายของสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตศึกษา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

รัตนพร บรรจง. (2554). ปัญหาการดำเนินงานแนะแนวของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดสระแก้ว. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะครุศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิลัย ทุมแต้ม. (2556). การดำเนินงานแนะแนวในโรงเรียน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะครุศาสตร์: มหาวิทยาลัยนครพนม.

ศุภกาญจน์ เผยฤทัย. (2553). การพัฒนาการดำเนินงานแนะแนวโรงเรียนโพธารามพิทยาคม อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อนรรฆ ตปนีย์. (2559). การดำเนินงานแนะแนวของโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย 2 หลวงพ่อเงินอนุสรณ์. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยศิลปากร.