แนวทางการบริหารงานงบประมาณของสถานศึกษาอำเภอลานสัก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2

Main Article Content

สิริพร โยศรีธา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและหาแนวทางการบริหารงานงบประมาณของสถานศึกษาอำเภอลานสัก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2 dลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างบประมาณและครู สถานศึกษาอำเภอลานสัก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2 จำนวน 186 คน โดยการเทียบสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยในขั้นตอนนี้เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยง 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัญหาการบริหารงานงบประมาณของสถานศึกษาอำเภอลานสัก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับปัญหาสูงสุดไปน้อยที่สุด ได้ดังนี้ 1.1) ด้านการประเมินผลและการรายงาน 1.2) ด้านการบริหารงบประมาณรายจ่าย 1.3) ด้านการควบคุมงบประมาณ 1.4) ด้านการจัดทำงบประมาณ และ 2) แนวทางการบริหารงานงบประมาณของสถานศึกษาอำเภอลานสักสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2 ประกอบด้วย 2.1) ด้านการจัดทำงบประมาณ สถานศึกษาประชุมคณะทำงานเพื่อจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา แผนงบประมาณ และขอตั้งงบประมาณโดยผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม 2.2) ด้านการบริหารงบประมาณรายจ่าย สถานศึกษาดำเนินงานตามแผน/โครงการตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ 2.3) ด้านควบคุมงบประมาณ สถานศึกษาพัฒนาบุคลากรบริหารพัสดุและสินทรัพย์โดยการอบรม เกี่ยวกับระเบียบการคลังและพัสดุ กำกับติดตาม ตรวจสอบ การจัดทำรายงานเงินคงเหลือและการเบิกจ่ายงบประมาณอย่างต่อเนื่อง และ 2.4) ด้านการประเมินผลและการรายงาน สถานศึกษากำกับติดตามระหว่างและหลังการใช้งบประมาณ และจัดทำรายงานต่อหน่วยงานต้นสังกัดและเผยแพร่ให้ทุกภาคส่วนทราบ

Article Details

How to Cite
โยศรีธา ส. (2021). แนวทางการบริหารงานงบประมาณของสถานศึกษาอำเภอลานสัก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2. วารสารวิจยวิชาการ, 4(3), 91–102. https://doi.org/10.14456/jra.2021.70
บท
บทความวิจัย

References

ซุบรี ม่วงกุ้ง. (2558). การบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

นิทรา กำแพงหล่อ. (2559). การศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาบริหารงานงบประมาณของโรงเรียน อำเภอบางละมุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 3. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุรีวิทยาสาส์น.

พัชรินทร์ ยืนนาน. (2560). การพัฒนาแนวทางการบริหารงบประมาณในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานีเขต 4. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พีระพงษ์ แพบัว. (2555). แนวทางการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะครุศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สมศักดิ์ กรอบสูงเนิน. (2552). การศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารงานงบประมาณในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

สรารักษ์ ศิริพงษ์. (2559). การศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารงานงบประมาณในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะครุศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุภัทรา ทวีสิทธิโชคชัย. (2554). การนำเสนอแนวทางการบริหารงบประมาณในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุทัยธานี. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะครุศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.