การบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่ม 1 กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

พระกิตติ เมฆโปธิ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่ม 1 กรุงเทพมหานคร จำแนกโดยปัจจัยส่วนบุคคล เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ได้กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย 126 รูป/คน จากประชากร คือ ครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่ม 1 กรุงเทพมหานคร จำนวน 184 โดยใช้แบบสอบถาม มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.88-1.00 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.85 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัย พบว่า 1) การบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่ม 1 กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมและรายข้อครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อการบริหารโรงเรียนอยู่ในระดับมาก  ซึ่งอธิบายผ่านการรับรู้ของผู้บริหารและครูผู้สอน ถึงศักยภาพในการบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่ม 1 กรุงเทพมหานคร โดยอาศัยการบริหารสถานศึกษาตามกรอบแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579 ได้สร้างกรอบแนวคิด โดยมีวิสัยทัศน์ว่า คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิตอย่างมีความสุข สอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคตและมีจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาอันเป็นเครื่องมือหรือกลไกในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ครูผู้สอนที่มี อายุ เพศ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงานต่างกัน จึงมีความคิดเห็นต่อการบริหารไม่ต่างกัน โดยมีจุดมุ่งหมายในการบริหารโรงเรียนไปในทิศทางเดียวกัน รวมไปถึงความร่วมมือเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรสถานศึกษา และ 2) ครูผู้สอนมีความคิดเห็นเปรียบเทียบต่อการบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่ม 1 กรุงเทพมหานครอยู่ในระดับมาก ครูผู้สอนที่มี อายุ เพศ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารไม่ต่างกัน

Article Details

How to Cite
เมฆโปธิ พ. (2021). การบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่ม 1 กรุงเทพมหานคร . วารสารวิจยวิชาการ, 4(3), 33–44. https://doi.org/10.14456/jra.2021.66
บท
บทความวิจัย

References

กัญญ์ณพัชร์ เพิ่มพูล, ประภาศ ปานเจี้ยง และยรรยง คชรัตน์. (2561). สมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยภาคใต้. ในการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 9 (น. 415-430). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ. (2559). ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. เข้าถึงได้จาก https://cdc.parliament.go.th/draftconstitution2/ewt_dl_link.php?nid=429&filename=index.

จิราวดี พวงจันทร์และนพดล เจนอักษร. (2554). การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาระดับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ราชบุรี เขต 2. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2(1), 70-80.

พงษ์ศักดิ์ ภูกาบขาว. (2553). ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อความมีประสิทธิผลของโรงเรียนเรียนร่วมจังหวัดขอนแก่น. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พรรษมน พินทุสมิต. (2560). การปฏิบัติงานด้านการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา ในจังหวัดปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

พิกุล ถนอมขวัญ. (2558). สภาพและปัญหาการบริหารงานทรัพยากรทางการศึกษาของสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 5(1), 194-202.

เพ็ญพิศ ผาพองยุน และชานนท์ เศรษฐแสงศรี. (2561). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 11(2), 118

วรรณา เวียงแก้ว, เฉลิมชัย หาญกล้า และฐาปกรณ์ แก้วเงิน. (2559). กระบวนการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 5. ในการประชุมวิชาการราชภัฏนครสวรรค์วิจัย ครั้งที่ 1 (น. 381-392). นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ศุภณัฐ ทองฉายา. (2557). การบริหารจัดการเรียนร่วมตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูในโรงเรียนแกนนำสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.