การพัฒนาพิพิธภัณฑ์ชุมชนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ในจังหวัดลำปาง

Main Article Content

พระครูสิริธรรมบัณฑิต
บุษกร วัฒนบุตร
ณฤณีย์ ศรีสุข
อนุกูล ศิริพันธ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบทะเบียนโบราณวัตถุของพิพิธภัณฑ์ชุมชนในระบบอิเล็กทรอนิกส์ และพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์ในการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดลำปาง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อให้ทราบถึงประเด็นของการศึกษาในรายละเอียดที่สำคัญสำหรับความต้องการและประเด็นรูปแบบของระบบอิเล็กทรอนิกส์ และมีความครอบคลุมในเนื้อหาสาระสำคัญที่ทำการวิจัย จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 25 คน และจากการปฏิบัติการบันทึกภาพ เพื่อรวบรวมทะเบียนโบราณวัตถุจำนวน 3 แห่ง ได้แก่ วัดทั้ง 3 วัด จาก 3 อำเภอในจังหวัดลำปาง ได้แก่ 1) วัดปงสนุกเหนือ ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมืองลำปาง 2) วัดไหล่หินหลวง ตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา และ 3) วัดบ้านหลุก ตำบลนาครัว อำเภอแม่ทะ วิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis) ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบทะเบียนโบราณวัตถุของพิพิธภัณฑ์ชุมชนในระบบอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า รูปแบบการขึ้นทะเบียนวัตถุโบราณ จะเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจกับผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ การจัดหน้าที่ โครงสร้างการดูแล การจัดหมวดของพิพิธภัณฑ์ ซึ่งเริ่มจากการบันทึกภาพโบราณวัตถุของพิพิธภัณฑ์ชุมชนในแต่ละท้องที่ โดยผู้วิจัยได้จัดให้มีการจัดทำทะเบียนในแต่ละแห่ง แห่งละ 30 ชิ้น รวม 3 แห่ง มีจำนวน 90 ชิ้น ด้วยการทำการบันทึกภาพและรวบรวมข้อมูล โดยอักษรย่อในการวัดขนาดวัตถุพิพิธภัณฑ์  และระบบอิเล็กทรอนิกส์ในการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดลำปาง พบว่า การพัฒนาระบบการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ชุมชนในระบบอิเล็กทรอนิกส์ จะมีการพัฒนาระบบทะเบียน ระเบียบและวิธีปฏิบัติในการทำทะเบียนวัตถุพิพิธภัณฑ์ การกำหนดกฎเกณฑ์ การรับวัตถุ การวิเคราะห์ วัตถุ การลงทะเบียน การเก็บรักษาและ การควบคุม การเคลื่อนย้ายการตรวจสอบบัญชี โดยสร้างกระบวนการเรียนรู้ของผู้ดูแลเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงพิพิธภัณฑ์ไปสู่ Electronics Museum โดยสร้างกระบวนการเรียนรู้

Article Details

How to Cite
แสนคำ ภ., วัฒนบุตร บ. ., ศรีสุข ณ. ., & ศิริพันธ์ อ. . (2021). การพัฒนาพิพิธภัณฑ์ชุมชนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ในจังหวัดลำปาง. วารสารวิจยวิชาการ, 4(3), 1–10. https://doi.org/10.14456/jra.2021.63
บท
บทความวิจัย

References

ฉลาด จันทรสมบัติ. (2550). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ขององค์กรชุมชน. (ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและการพัฒนาการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศุภกรณ์ ดิษฐพันธ์และวินัย วรวัตร์. (2540). รูปแบบพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมพื้นบ้าน: สีสันของมิติวัฒนธรรม. (รายงานการวิจัย). สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ: กระทรวงศึกษาธิการ

สุมาลี ชัยเจริญ. งานพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้. เข้าถึงได้จาก http://www. elearning.msu.ac.th/opencourse/503710/periodical/periodical_08_3.html [20 มีนาคม 2563].

อมร ประพันธ์. (2554). แนวทางการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ตำบลหน้าพระธาตุ อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรเพื่อความมั่นคง). คณะรัฐศาสตรและนิติศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.

เอื้อมอร ชลวร. (2555). การจัดการความรู้เชิงพุทธบูรณาการ. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Bosco, J. (2007). Lifelong Learning: What? Why? How?. Retrieved from http://home pages.wmich.edu/~bosco/docs/LifelongLearning-2.pdf

Ferrance, E. (2000). Action research. Retrieved from https://www.brown.edu/ academics/educationalliance/sites/brown.edu.academics.education-alliance/files/ publications/act_research.pdf

Gallos, J. V. (2006). Organization development. (2nd ed). San Francisco, CA: John Willey & Sons.

Kail, R. V. & Cavanaugh, J. C. (2007). Human Development: A life-span View. (4th ed). CA: Thomson learning, inc.

Sani M. (2008). What have museums got to do with lifelong learning? Newsletter of The Network of European Museum Organizations. Retrieved from http:// www.nemo.org/fileadmin/Dateien/public/NEMONews/NEMOnews2-08.pdf

Schutze, H. & Casey, K. (2006). Models and meaning of lifelong learning: progress and barriers on the road to learning society. International Journal of Lifelong Education, 36(3), 287-297.