พุทธเศรษฐศาสตร์: โอกาส อุปสรรค และการจัดการระบบการค้าข้าว ของผู้ส่งออกข้าวไทย

Main Article Content

ปริญญา นิกรกุล
พระครูใบฎีกาสุวินท์ สุวิชาโน
ณฐยา ราชสมบัติ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์การค้าข้าว 2) วิเคราะห์ระบบการค้าข้าว และ 3) พัฒนารูปแบบการค้าข้าวเพื่อการส่งออกตามหลักพุทธเศรษฐศาสตร์ของผู้ส่งออกข้าวไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพภาคสนาม โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ถูกเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 7 คน และการสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 8 คน ตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้าและอธิบายด้วยวิธีพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) สถานการณ์การค้าข้าวในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 ประเด็นหลัก ๆ นั่นก็คือ 1.1) ภัยแล้งที่ทำให้ชาวนาปลูกข้าวและได้ผลผลิตไม่เพียงพอต่อการส่งให้ลานรับซื้อข้าวและตลาดกลาง ถึงแม้ราคาจะสูงมากเพียงใดก็ตามแต่ชาวนาก็ไม่มีข้าวส่งให้ ฉะนั้นโรงสี ผู้ประกอบการจึงออกตะเวนรับซื้อข้าวตามจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท พิจิตร นครสวรรค์ สุพรรณบุรี อุตรดิตถ์ ลพบุรี ร้อยเอ็ด เป็นต้น 1.2) สถานการณ์โควิด 19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกจึงทำให้กำลังซื้อต่างประเทศลดลงและมีการแข่งขันสูงในตลาดผู้ส่งออกข้าวเช่นกันประกอบไปด้วยเวียดนาม พม่า จีน และอินเดีย เป็นต้น 2) ระบบการค้าข้าวเพื่อการส่งออกของผู้ส่งออกข้าวไทยมีด้วยกัน 4 องค์ประกอบ ดังนี้ 2.1) เกษตรกร (ชาวนา) 2.2) ลานรับซื้อข้าว ตลาดกลางรับซื้อข้าว และโรงสี 2.3) บริษัทผู้ส่งออกข้าวที่น่าสังเกตคือระหว่างโรงสีและบริษัทส่งออกข้าวมักเป็นเจ้าของเดียวกันแต่ตั้งหลายบริษัทและมีหลายชนิดในการส่งออกข้าว เช่น ข้าวนึ่งไปทวีปแอฟริกา ข้าวขาวแถบประเทศอาเซียน เป็นต้น และ 2.4) ผู้กำหนดราคาหรือผู้รับออเดอร์ในต่างประเทศซึ่งจะเป็นผู้กำหนดราคาในการซื้อข้าวจากบริษัทผู้ส่งออกข้าวไทยและไปกระจายในประเทศต่าง ๆ และ 3) รูปแบบการค้าข้าวเพื่อการส่งออกตามหลักพุทธเศรษฐศาสตร์ ประกอบด้วย หลักการพึ่งพาตนเอง หลักไม่ประมาท หลักความอดทนอดกลั้น หลักสัมมาอาชีวะ หลักความเกื้อกูล หลักความพอเพียง และหลักความซื่อสัตย์สุจริต

Article Details

How to Cite
นิกรกุล parinya, พระครูใบฎีกาสุวินท์ สุวิชาโน, & ราชสมบัติ ณ. . (2021). พุทธเศรษฐศาสตร์: โอกาส อุปสรรค และการจัดการระบบการค้าข้าว ของผู้ส่งออกข้าวไทย. วารสารวิจยวิชาการ, 4(4), 79–92. https://doi.org/10.14456/jra.2021.84
บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์. (2562). สถานการณ์ภาพรวมตลาดข้าวในอาเซียน ประจำเดือนกันยายน 2562. เข้าถึงได้จาก https://www.ditp.go.th/ditp_ web 61/article_sub_view.php?filename=contents_attach/564288/564288. pdf& title =564288&cate=455&d=0

กรุงเทพธุรกิจ มีเดีย จำกัด. (2563). ส่งออกข้าวไทยครึ่งปีแรกติดลบ 32 %. เข้าถึงได้จาก https:// www.bangkokbiznews.com/news/detail/890544

กาญจน์วจี ธนโชติรุ่งสาทิส. (2557). ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของโลจิสติกส์ขนส่งข้าวไทยในเส้นทางขนส่งจากจังหวัดนครสวรรค์-ส่งออกต่างประเทศ. วารสารสุทธิปริทัศน์, 28(88), 109-142.

ดิศวรบุตร เหล่าสุนทร และคณะ. (2558). ยุทธศาสตร์การส่งออกข้าวของประเทศไทยสู่อาเซียน. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 8(พิเศษ), 242-256.

ธนพัฒน์ จงมีสุข, ภัทรพล ทศมาศ และไพวรรณ วรปรีดา. (2560). การวิเคราะห์ยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าวและการแปรรูปข้าวไทยกับการแข่งขันในตลาดโลก. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 4(2), 13-26.

พระประภาส ปญฺญาคโม, พระครูภาวนาโพธิคุณ และอุดม บัวศรี. (2561). การบูรณาการหลักพุทธเศรษฐศาสตร์กับทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ของอี เอฟ ชูเมกเกอร์. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 18(2), 63-72.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2558). เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ. (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์

รุ่งฤทัย ทะนันใจ. (2559). การพยากรณ์แนวโน้มการส่งออกข้าวไทยไปยังประเทศจีน และประเทศสหรัฐอเมริกา ปี พ.ศ. 2559-2563. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). วิทยาลัยการจัดการ: มหาวิทยาลัยพะเยา.

สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย. (2563). กระทรวงพาณิชย์ รายงานว่า การส่งออกข้าวในช่วงเดือนมกราคม-สิงหาคม 2563. เข้าถึงได้จาก http://www.thairiceexporters.or.th/

อภิชัย พันธเสน. (2558). พุทธเศรษฐศาสตร์: วิวัฒนาการ ทฤษฎี และการประยุกต์กับเศรษฐศาสตร์สาขาต่าง ๆ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อมรินทร์.