ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริหารจัดการที่ดีของคณะสงฆ์ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

วิสุทธินันท์ นิลพัฒน์
สมคิด พุ่มทุเรียน
พระราชรัตนเวที (ประเสริฐ โชติธมฺโม)

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปของการบริหารจัดการที่ดี 2) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริหารจัดการที่ดีของคณะสงฆ์ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ และ 3) เสนอแนวทางในการบริหารจัดการที่ดีของคณะสงฆ์ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ดำเนินการวิจัยโดยการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่เป็น พระสงฆ์ ในพื้นที่รับผิดชอบของคณะสงฆ์อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 301 รูป แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.962 วิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความสัมพันธ์ โดยใช้สถิติเชิงอนุมานสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 21 รูป/คน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่ดีของคณะสงฆ์อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ตามหลักสุจริตธรรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการคณะสงฆ์อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ตามหลักธรรมาภิบาล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ความสัมพันธ์ระหว่างหลักสุจริตธรรมกับหลักธรรมาภิบาลการบริหารจัดการของคณะสงฆ์อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงมาก และ 3) แนวทางในการบริหารจัดการที่ดีของคณะสงฆ์อำเภอเมืองนครสวรรค์จังหวัดนครสวรรค์ โดยยึดหลักกฎระเบียบทางคณะสงฆ์ และกฎหมายบ้านเมืองควบคู่กันไปในเรื่องของความโปร่งใสมีการตรวจติดตามการดำเนินการโครงการต่าง ๆ และมีการรายงาน ขณะเดียวกันได้เปิดโอกาสให้หลายภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ เพื่อที่จะเป็นแบบอย่างที่ดี ให้กับคณะสงฆ์อำเภออื่น ๆ หรือพื้นที่อื่น ๆ นำไปประยุกต์ใช้

Article Details

How to Cite
นิลพัฒน์ ว., พุ่มทุเรียน ส. ., & พระราชรัตนเวที (ประเสริฐ โชติธมฺโม). (2021). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริหารจัดการที่ดีของคณะสงฆ์ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิจยวิชาการ, 4(3), 103–114. https://doi.org/10.14456/jra.2021.71
บท
บทความวิจัย

References

บัณฑิต โคกโพธิ์. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการสอนของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

พระมหาชินวัฒน์ ธมฺมเสฏฺโฐ (หาญกุล). (2557). การบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย). 2557.

พระครูสังฆรักษ์ทรงพรรณ ชยทตฺโต (ภิรมย์พร). (2558). การประยุกต์ใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระธรรมปริยัติเวที (สุเทพ ผุสฺสธมฺโม). (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2553). หลักการพื้นฐานของธรรมาภิบาล. วารสารบริหารธุรกิจ, 33(2), 1-3.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd edition). New York: Harper and Row Publication.