การรบริหารระบบการเปลี่ยนผ่านนักเรียนพิการเข้าสู่สถานศึกษาที่ส่งผลต่อความพร้อมของนักเรียนพิการ ในศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่าย 7 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารระบบการปฏิบัติงานเปลี่ยนผ่านนักเรียนพิการเข้าสู่สถานศึกษาของศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่าย7 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ 2) ศึกษาระดับความพร้อมของนักเรียนพิการเข้าสู่สถานศึกษา ของศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่าย 7 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารระบบการเปลี่ยนผ่านนักเรียนพิการเข้าสู่สถานศึกษากับความพร้อมของนักเรียนพิการในศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่าย 7 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ และ 4) สร้างสมการพยากรณ์ของระบบงานเปลี่ยนผ่านนักเรียนพิการเข้าสู่สถานศึกษาที่ส่งผลต่อความพร้อมของนักเรียนพิการในศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่าย 7 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 334 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยของพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1) การบริหารระบบการปฏิบัติงานเปลี่ยนผ่านนักเรียนพิการเข้าสู่สถานศึกษา ของศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่าย 7 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ความพร้อมของนักเรียนพิการในศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่าย 7 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารระบบการเปลี่ยนผ่านนักเรียนพิการเข้าสู่สถานศึกษากับความพร้อมของนักเรียนพิการในศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่าย 7 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สูง คือ .878, .785, .781 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) ระบบการปฏิบัติงานเปลี่ยนผ่านนักเรียนพิการเข้าสู่สถานศึกษา ของศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่าย 7 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ทั้ง 3 ด้าน มีเพียง 2 ด้านที่ร่วมกันพยากรณ์ความพร้อมของนักเรียนพิการ คือ ด้านการเตรียมการ (X1) และด้านการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล (X3) โดยมีประสิทธิภาพในการพยากรณ์ ร้อยละ 83.6 (R Square = .836) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กิตติ กรทอง. (2553). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการดำเนินการจัดการศึกษาก่อนระดับประถมศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 4(1), 46-58.
จิราภรณ์ อักษรนู. (2557). การศึกษาความสามารถในการปรับตัวสู่สภาพแวดล้อมใหม่ของเด็กออ
ทิสติกโดยใช้แผนการเปลี่ยนผ่านเฉพาะบุคคลจากบ้านสู่ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ “งานวิจัยทางการศึกษาพิเศษ ครั้งที่ 2” (น. 186-228). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชนม์ธิดา ยาแก้ว และคณะ. (2560). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเขตพื้นที่ภาคตะวันออก. (รายงานการวิจัย). คณะครุศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย วิทยาเขตสุพรรณบุรี: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.
ณรงค์ อัมพรภาค. (2550). การศึกษาคุณภาพการดำเนินงานจัดการเรียนร่วมของโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนเรียนร่วมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 1 และ 2. (วิทยา นิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒประสานมิตร
ธวัลรัตน์ เสียมกระโทก. (2557). การศึกษาความพร้อมเพื่อการเปลี่ยนผ่านของนักเรียนออทิสติกจากห้องเรียนคู่ขนานสำหรับบุคคลออทิสติกสู่ห้องเรียนปกติจากแผนการเปลี่ยนผ่านเฉพาะบุคคล. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ “งานวิจัยทางการศึกษาพิเศษ ครั้งที่ 2” (น. 228-240). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
น้ำเพชร คงเพชรศักดิ์. (2559). รายงานการประเมินโครงการเปลี่ยนผ่านนักเรียนพิการเข้าสู่โรงเรียน ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดนครสวรรค์. เข้าถึงได้จาก http://www. kroobannok.com /board_view.php?b_id=143714&bcat_id=16
พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551. (2551, 5 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 125 ตอนที่ 28 ก. หน้า 1-13.
สมพร หวานเสร็จ. การจัดช่วงเชื่อมต่อในการจัดการศึกษาสำหรับผู้เรียนพิการ. เข้าถึงได้จาก http: //www. autistickku.com/ARC/article_file/
สาวนะ พบสุข. (2551). ทัศนคติของครูและผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อเด็กปัญญาอ่อนและการจัดการเรียนร่วม. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). คู่มือการจัดทำแผนเปลี่ยนผ่านสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ. กรุงเทพฯ: กระทรงศึกษาธิการ.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2555). การให้บริการสนับสนุนนักเรียนพิการในระยะเปลี่ยนผ่านจากมัธยมศึกษาสู่อุดมศึกษา ในเอกสารประกอบการอบรมหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับ อุดมศึกษา. เข้าถึงได้จาก : http://www.mua.go.th/
สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2561). แนวทางการดำเนินงานการเปลี่ยนผ่านให้แก่บุคคลพิการ สำหรับสถานศึกษา. (อัดสำเนา).
สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2555). คู่มือการปฏิบัติงานศูนย์การศึกษาพิเศษ. เล่ม 1 ตอน 2. (อัดสำเนา).
สุจิตรพร สีฝั้น. (2550). การพัฒนาแบบการให้บริการระยะเชื่อมต่อเฉพาะบุคคลสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษจากระบบการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มเข้าสู่ระบบโรงเรียน. (ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Porter, L. (2001). Disability and Education: Toward an Inclusive Approach. Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/251853075