การศึกษาการปฏิบัติที่เหมาะสมต่อพยานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพยาน ในคดีอาญา พ.ศ. 2546

Main Article Content

พัณนิดา สมบูรณ์
ตะวัน เดชภิรัตนมงคล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดการคุ้มครองพยานตามพระราช บัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546 2) ศึกษาการปฏิบัติทางกฎหมายและเปรียบเทียบการปฏิบัติทางกฎหมายการคุ้มครองพยานในคดีอาญาตามความตกลงระหว่างประเทศ กฎหมายต่างประเทศและกฎหมายไทย และ 3) เสนอแนวทางการจัดทำมาตรฐานกลางเกี่ยวกับการปฏิบัติที่เหมาะสมต่อพยานให้แก่หน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับการคุ้มครองพยาน สามารถนำไปใช้ปฏิบัติเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบวิจัยเอกสาร ผลการวิจัย พบว่า 1) แนวคิดการคุ้มครองพยานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546 เป็นพื้นฐานสำคัญในการกำหนดมาตรการการปฏิบัติที่เหมาะสมต่อพยาน 2) อนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร ค.ศ. 2000 กำหนดให้รัฐภาคีใช้มาตรการที่มีความเหมาะสมเพื่อคุ้มครองพยานในคดีอาญาอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งสอดคล้องกับสหรัฐอเมริกาที่มีกฎหมายรองรับการคุ้มครองพยานไว้ชัดเจนโดยกำหนดไว้ในกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้อัยการสูงสุดเป็นผู้มีอำนาจออกระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติต่อพยาน ทั้งการใช้มาตรการในการจัดย้ายที่อยู่ และจัดให้มีเจ้าหน้าที่คุ้มครองเมื่อเห็นว่าพยานและครอบครัวอาจได้รับอันตราย ส่วนสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ไม่มีกฎหมายเฉพาะที่เกี่ยวกับการคุ้มครองพยานโดยตรง แต่อาศัยกฎหมายตำรวจกำหนดให้เจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติต่อพยานเป็นการเฉพาะ ขณะที่ประเทศไทย ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายและแนวปฏิบัติที่ชัดเจน 3) เสนอให้ออกระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการปฏิบัติที่เหมาะสมต่อพยานในคดีอาญา พ.ศ. ....

Article Details

How to Cite
สมบูรณ์ พ., & เดชภิรัตนมงคล ต. . (2021). การศึกษาการปฏิบัติที่เหมาะสมต่อพยานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพยาน ในคดีอาญา พ.ศ. 2546. วารสารวิจยวิชาการ, 5(1), 161–176. https://doi.org/10.14456/jra.2022.13
บท
บทความวิจัย

References

เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. (2548). แนวความคิดว่าด้วยรัฐ (ตอนที่ 1). เข้าถึงได้จาก http://public-law.net/publaw/view.aspx?id=295

เข็มชัย ชุติวงศ์. (2543). คำอธิบายกฎหมายลักษณะพยาน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นิติบรรณาการ.

คณิต ณ นคร. (2558). กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.

คณิต ณ นคร. (2560). ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หลักกฎหมายและพื้นฐานการเข้าใจ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.

ธนภพ น้อยหมื่นไวย์. (2562). ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองพยานบุคคลในคดีอาญาระหว่างพิจารณาคดีต่อศาล. (สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์). คณะนิติศาสตร์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ธานี วรภัทร์. (2558). หลักกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาตามแนวคิดของศาสตราจารย์ ดร.คณิต ณ นคร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.

ราเมศ พรหมเย็น. (2552). ปัญหาการปฏิบัติต่อพยานในคดีอาญา ศึกษากรณี: การปฏิบัติที่เหมาะสมต่อพยานในชั้นพนักงานสืบสวนสอบสวน. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์). คณะนิติศาสตร์: มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์.

วีระพงษ์ บุญโญภาส และคณะ. (2551). แนวทางการปฏิบัติที่เหมาะสมต่อพยานในคดีอาญาในระหว่างที่พยานอยู่ในการคุ้มครองความปลอดภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญาพ.ศ. 2546. (รายงานการวิจัย). คณะนิติศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิระ รัตตานุกูล. (2549). การคุ้มครองพยานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญาพ.ศ. 2546 เพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ ที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร ค.ศ. 2000. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์). คณะนิติศาสตร์: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.