พลังบวร: การสร้างจิตสำนึกแห่งความปรองดองสมานฉันท์ในสังคมไทย

Main Article Content

พระปลัดอนุชาติ นรินฺโท
พระครูพิจิตรวรเวท
พระครูพิสุทธิปัญญาภิวัฒน์
พระครูวศินวรกิจ
นพวรรณ์ ไชยชนะ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพจิตสำนึกของประชาชน 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างจิตสำนึกของประชาชน และ 3) เสริมสร้างกระบวนการสร้างจิตสำนึกของประชาชนตามหลักบวรเพื่อสร้างสังคมแห่งความปรองดองสมานฉันท์ในสังคมไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เน้นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญเลือกแบบเจาะจงจำนวน 45 รูป/คน โดยการจัดเวทีสานเสวนาผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 21 คน ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพจิตสำนึกมี 4 มิติ ได้แก่ 1.1) ความเป็นมนุษย์ ทำบุญตักบาตร ฟังธรรม รับคำสาบาน ยึดหลัก “ฮีตสิบสองคองสิบสี่” 1.2) เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม หวงแหน อนุรักษ์ ทรัพยากรจากป่าให้คงอยู่อุดมสมบูรณ์ ให้อนุชนรุ่นหลัง คัดแยกขยะแนวคิด 3R 1.3) ความสัมพันธ์ทางสังคม มีการถ่ายทอดวัฒนธรรมที่ถูกต้อง โดยผู้ใหญ่จะพาเด็ก ๆ ไปเรียนรู้วัฒนธรรมประเพณีต่าง ๆ มีความสามัคคี ไม่ทะเลาะกัน ผู้นำไกล่เกลี่ย ส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยว ช่วงเทศกาลคนต่างที่ก็มา 1.4) ความรับผิดชอบต่อสังคม ประชุมเครือข่าย รับนโยบายมาถ่ายทอดให้ลูกบ้านเพื่อดูแลป่า นโยบายบ้านเล็กในป่าใหญ่ ไม่บุกรุก ไม่ล่า ไม่เลื่อย มีกฎเหล็ก มีระวางโทษ มีการวิจัยและพัฒนา วิธีการแปรรูป การตรวจวิเคราะห์ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ การปรับสูตรโดยตัดผักบางชนิดที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนออกรสชาติคงเดิม การตรวจวิเคราะห์สารตกค้าง 2) การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างจิตสำนึก พบว่า 2.1) แนวคิดทางพระพุทธศาสนา 2.2) ค่านิยมท้องถิ่น 2.3) ภูมิปัญญาท้องถิ่น 2.4) การเรียนรู้ของบุคคล 2.5) ผู้นำครอบครัว 2.6) โครงการในพื้นที่ดำเนินการจะส่งผลต่อการสร้างจิตสำนึกของประชาชนตามหลักบวร และ 3) ผลการเสริมสร้างกระบวนการสร้างจิตสำนึกของประชาชนตามหลักบวรเพื่อสร้างสังคมแห่งความปรองดองสมานฉันท์ในสังคมไทยพบว่ามีการจัดกิจกรรมพัฒนาจิตสำนึกโดยอาศัยความร่วมมือ ร่วมใจทุกฝ่ายครอบครัวผู้คนองค์กรในชุมชนช่วยกันสร้างจิตสำนึกให้เกิดกับชุมชน โดยเฉพาะเยาวชนที่ถือเป็นกำลังสำคัญ

Article Details

How to Cite
พระปลัดอนุชาติ นรินฺโท, พระครูพิจิตรวรเวท, พระครูพิสุทธิปัญญาภิวัฒน์, พระครูวศินวรกิจ, & ไชยชนะ น. (2021). พลังบวร: การสร้างจิตสำนึกแห่งความปรองดองสมานฉันท์ในสังคมไทย. วารสารวิจยวิชาการ, 5(1), 27–40. https://doi.org/10.14456/jra.2022.3
บท
บทความวิจัย

References

ชัยพร พิบูลศิริ. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อความสําเร็จการจัดสวัสดิการสังคมขององค์กรชุมชน. (รายงานการวิจัย). คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ทรงศรี ตุ่นทอง และคณะ. (2560). รูปแบบการพัฒนาจิตสานึกสาธารณะสาหรับเยาวชนจังหวัดลพบุรีโดยใช้การปรับพฤติกรรมทางปัญญา. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา, 28(2), 65-74.

พระใบฎีกากิตติพงษ์สีล สุทฺโธและคณะ. (2560). การพัฒนารูปแบบพุทธจิตวิทยาชุมชนในการสร้างจิตสานึกอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 13(1), 26-39.

พระมหากฤษฎา กิตติโสภโณ. (2558). การสร้างความปรองดองสมานฉันท์ด้วยการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 5(3), 55-62.

ภัทรภร สีทองดีและคณะ. (2560). การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมจิตสาธารณะของนิสิตในสถาบันอุดม ศึกษาของรัฐ: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารศึกษาศาสตร์, 28(3), 63-74.

อรุณรุ่ง ปภาพสิษฐ และคณะ (2555). รูปแบบการสร้างจิตสำนึกในการพัฒนาชุมชน. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร, 7(2), 98-109.

อุดมพงษ์ เกศศรีพงษ์ศา และคณะ. (2560). รูปแบบการสร้างจิตสำนึกท้องถิ่นเพื่อการอนุรักษ์ป่าชุมชนอย่างยั่งยืน ตำบลโคกกลาง อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 12(1), 48-60.