รูปแบบการอนุรักษ์ประเพณีแข่งขันเรือยาวจังหวัดพิจิตร

Main Article Content

พระมหาสุเมฆ สมาหิโต
พระครูพิจิตรวรเวท
จันทนา กองกันภัย
รินทร์ระพีร์ ไวยุวัฒน์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบการอนุรักษ์ประเพณีแข่งขันเรือยาวจังหวัดพิจิตรโดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัยโดยการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจงเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 18 รูป/คน ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแบบอรรถาธิบาย และพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการอนุรักษ์ประเพณีแข่งขันเรือยาวจังหวัดพิจิตร (6ส.) ประกอบด้วย 1) สามเศียร หมายถึง ผู้มีส่วนเกี่ยวของในการจัดงาน “บวร” ประกอบด้วย วัด บ้าน และราชการ 2) สร้างเสริม (เติมแต่งให้สมบูรณ์) เป็นลักษณะในการออกนโยบายร่วมกันระหว่างวัดกับชุมชน 3) สอดส่อง (สังวรปธาน ป้องกันไม่ให้สูญหาย) 4) สะสาง (ปหานปธาน แก้ไข ปรับปรุงให้ดีกว่าเดิม) 5) สืบสาน (อนุรักขนาปธาน รักษาให้คงอยู่) 6) สร้างสรรค์ (ภาวนาปธาน พัฒนา ต่อยอด)

Article Details

How to Cite
พระมหาสุเมฆ สมาหิโต, พระครูพิจิตรวรเวท, กองกันภัย จ. ., & ไวยุวัฒน์ ร. . (2023). รูปแบบการอนุรักษ์ประเพณีแข่งขันเรือยาวจังหวัดพิจิตร. วารสารวิจยวิชาการ, 6(1), 51–62. https://doi.org/10.14456/jra.2023.5
บท
บทความวิจัย

References

ญาณิศา บุญจิตร์ และสุชาติ มีสมบัติ. (2554). การอนุรักษ์และสืบสานประเพณีแห่พระแข่งเรือยาวขึ้นโขนชิงธงอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. (รายงานการวิจัย). กรมส่งเสริมวัฒนธรรม: กระทรวงวัฒนธรรม.

ไทยรัฐออนไลน์. (2552). คลอดปฏิทินแข่งเรือยาวประเพณีปีนี้มี 80 สนาม. เข้าถึงได้จาก https: //www.thairath.co.th/content/8418

ธนสันต์ ปานแก้ว. (2558). ประเพณีชักพระทางทะเล อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 4(3), 114-123.

นวมณฑ์ อุดมรัตน์. การศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ประเพณีตักบาตรพระร้อยทางเรือ: กรณีศึกษาชุมชนเลียบคลองมอญ แขวงทับยาว เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร”. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษย ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(2), 302-310.

พระไชยยา พิณบรรเลง. (2552). การอนุรักษ์และสืบสานประเพณีการเห่เรือบกจังหวัดเพชรบุรีเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พระมหานิพนธ์ นิปโก (เกินสกุล). (2560). รูปแบบการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ในจังหวัดปทุมธานี. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 13(3), 89-100.

ภาณุพงศ์ อุดมศิลป์. (2557). ประเพณีส่วงเฮือชายฝั่งลุ่มน้ำโขง: บทบาทดั้งเดิมและการปรับเปลี่ยนตามนโยบายของรัฐชาติ. วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ, 21(2), 77-94.

รัตนา จันทร์เทาว์. (2559). เรือยาวประเพณี วิถีชีวิตอีสาน. ขอนแก่น: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เรารักเรือยาว We Love Longboat. (2562). “ปฏิทินเรือยาวประจำปี 2562”. เข้าถึงได้จาก https://www.facebook.com/welovelongboat/posts/ 2854645854605985

ศรคม เผือกผิววงศ์และคณะ. (2560). แนวทางการสร้างความร่วมมือในชุมชนด้วยพุทธสันติวิธี: กรณีศึกษาชุมชนวัดคู้บอน เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(ฉบับพิเศษ), 134-145.

สุพัตรา คงขำ และเครือวัลย์ คงขำ. (2561). แนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาพื้นบ้านการชักแห่เรือพระบกของตำบลเขาใหญ่ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 10(2), 277-288.